กรมสุขภาพจิต ชี้ภาวะซึมเศร้าของเแม่ หลังคลอดบุตร เกิดขึ้นมาจากปัจจัยทางร่างกายและสิ่งแวดล้อม
Burapanews รายงานว่า พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผอ.สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต เผยว่า แม่เศร้ามักจะเกิดในผู้หญิงที่หลังคลอดลูก ในช่วง 3 เดือนแรกซึ่งปกติจะมีระดับเรียกว่า Maternal blue เป็นภาวะปกติ ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ ฮอร์โมนจะขึ้นสูงมาก เพื่อที่จะเลี้ยงทารกในครรภ์ พอคลอดออกมาแล้วฮอร์โมนนั้นไม่ได้ใช้ ก็จะเกิดภาวะที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโร จะสลับกัน ก็จะทำให้เกิดอารมณ์ที่หงุดหงิดง่าย แต่ Maternal blue จะเกิดเพียงแค่อาทิตย์เดียวหลังจากคลอด แต่แม่เศร้าหรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมันจะยังคงอยู่ต่อไปเรื่อยๆ
จากการเก็บสถิติ พบว่า อาการซึมเศร้าในแม่หลังคลอด จะเกิดขึ้น 10-20 เปอร์เซ็นต์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นคุณแม่ยังไม่มีความพร้อมกับเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
“ในแต่ละวันจะมีคนคลอดอยู่สัก 100 คน มีอยู่ 10 – 20 คนเลย ที่มีภาวะของแม่เศร้าขึ้นมา เป็นตัวเลขที่สูงทีเดียว โดย 80 คน หรือ 90 คนที่เขาไม่เศร้า เพราะว่าเขามีการเตรียมความพร้อมของการเป็นแม่อยู่พอสมควร อันที่สองก็คือการปรับตัว จากภาวะผู้หญิงที่ต้องทำงาน มีการปรับตัวมาเป็นแม่บ้าน เขามีการปรับตัวที่ดีตรงนี้ก็จะมีปัจจัยป้องกันนะคะ สิ่งสุดท้ายคือปัจจัยแวดล้อมค่ะ ซึ่งส่วนมากที่เราจะเห็นในการรับทราบข่าว เหตุการณ์ที่เราไม่อยากจะเห็น ก็คือมีตัวกระตุ้นที่ใกล้ชิดที่สุด คือสามี หรือว่าญาติพี่น้องปกติผู้หญิงเราจะอยู่กับอารมณ์อยู่แล้ว มันจะทำให้เกิดความเศร้าได้มากกว่าผู้หญิงปกติทั่วๆ ไปถึง 3 เท่าเลย” พญ.มธุรดา กล่าว
ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ดังนี้
ความพร้อมของการตั้งครรภ์ หากแม่มีความไม่พร้อม โอกาสเกิดจะสูง
มีงานวิจัยชี้ว่าปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้เกิดได้เช่นกัน โดยเฉพาะช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่กระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรง
และความเครียดในผู้หญิงที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เป็นอาการที่แพทย์ให้การติดตามเป็นพิเศษ เพราะส่งผลกระทบต่อเด็กโดยตรง โดยในระหว่างตั้งครรภ์ แม่ที่เข้ารับการฝากครรภ์แพทย์จะมีการประเมินสุขภาพจิตเป็นระยะๆ
โดยแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2Q แบบประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9Q และแบบประเมินการฆ่าตัวตาย 8Q ที่ลิงค์นี้
หรือโทรศัพท์ สายด่วน 1323 กรมสุขภาพจิต
No Result
View All Result