Burapanews
  • หน้าหลัก
  • ในประเทศ
  • ต่างประเทศ
    • ตะวันออกกลาง
    • ยูโรป
    • ลาตินอเมริกา
    • สหรัฐ
    • เอเชียแปซิฟิก
    • แอฟริกา
  • เทคโนโลยี
  • กีฬา
  • วิเคราะห์ข่าว
  • ไลฟ์สไตล์
No Result
View All Result
Burapanews
Home วิเคราะห์ข่าว

ทำไมรัฐอาหรับจึงต้องปรับสัมพันธ์กับอิสราเอล?

ตุลาคม 27, 2023
in วิเคราะห์ข่าว
0
ทำไมรัฐอาหรับจึงต้องปรับสัมพันธ์กับอิสราเอล?
0
SHARES
4
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

Related posts

บทวิเคราะห์ อาชญากรรมระบอบไซออนิสต์

บทวิเคราะห์ อาชญากรรมระบอบไซออนิสต์จากการโจมตีโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ต่างๆในเขตฉนวนกาซา

ธันวาคม 9, 2023
แฉเบื้องลึก ชนวนเหตุอิสราเอล

แฉเบื้องลึก ชนวนเหตุอิสราเอล ร่วมมือสหรัฐ รุกรานกาซ่า

พฤศจิกายน 27, 2023

ทำไมรัฐอาหรับจึงต้องปรับสัมพันธ์กับอิสราเอล?

Burapanews –  ในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1960 ถือเป็นยุคเฟื่องฟูของอุดมการณ์รวมอาหรับ (Pan-Arabism) และแนวคิดการสร้างเอกภาพในหมู่ประชาชาติอาหรับ ซึ่งเป็นอุดมการณ์ที่ทำหน้าที่เป็นพลังขับเคลื่อนการเมืองทั้งระดับรัฐและระดับภูมิภาคของตะวันออกกลาง

อันที่จริง แนวคิดที่ว่า “ผลประโยชน์ของชาวอาหรับ” ต้องมาก่อนผลประโยชน์ของแต่ละรัฐ-ชาติอาหรับ” ถือเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันอย่างเร่าร้อนตลอดมาจนบ้างครั้งกลายเป็นเงื่อนไขของการขับเคี่ยวแข่งขันกันระหว่างผู้นำของรัฐอาหรับทั้งหลายเสียเอง

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการที่แนวคิดการรวมชาติอาหรับดังกล่าว (หรืออาจใช้คำว่าอุดมการณ์ชาตินิยมอาหรับ) เป็นประเด็นที่ กามาล อับดุลนัซเซอร์ ผู้นำแห่งอียิปต์ในยุคนั้น พยายามผลักดันให้เกิดขึ้น แต่แนวคิดอย่างนี้กลับไปปะทะกับความมั่นคงของกลุ่มรัฐที่ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ในตะวันออกกลาง จนนำมาซึ่งสภาวะที่ Malcolm Kerr (1971) เรียกว่า ‘สงครามเย็นในโลกอาหรับ’ (Arab Cold War)

อันที่จริงกลุ่มประเทศอาหรับส่วนใหญ่เลือกที่จะหยิบใช้แนวทาง ‘ชาตินิยมอาหรับแบบอ่อน’ มากกว่า คือไม่จำเป็นต้องมารวมกันเป็นรัฐ-ชาติหนึ่งเดียวหรอก แต่ขอให้มีช่องทางที่จะประสานความร่วมมือระหว่างกันและสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันก็เพียงพอแล้ว วิธีคิดแบบนี้นำมาซึ่งการจัดตั้งองค์กรที่เรียกว่าสันนิบาตอาหรับ ซึ่งรวมเอารัฐอาหรับ 22 ประเทศเข้าเป็นสมาชิก

อย่างไรก็ตาม ในเวทีการเมืองอาหรับของยุคสมัยนั้น อุดมการณ์การรวมอาหรับถูกมองว่าทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้กับความทะเยอทะยานของผู้นำการเมืองของโลกอาหรับ และเป็นเครื่องมือทำให้ผู้นำอาหรับเติบใหญ่กลายเป็นผู้มีอำนาจนำเหนือภูมิภาค
ตะวันออกกลาง โดยมี กามาล อับดุลนัซเซอร์ เป็นผู้ที่ขับเคลื่อนหลัก
ถึงอย่างนั้น การแข่งขันดิ้นร้นให้ตนเองได้เป็นผู้นำแห่งอุดมการณ์ชาตินิยมอาหรับได้ซ้อนความเปราะบางของระบบรัฐในตะวันออกกลางเอาไว้ แล้วเผยออกมาในรูปของความขัดแย้งแตกแยก อีกทั้งยังถูกนำไปกล่าวอ้างสร้างความชอบธรรมเพื่อทำลายอำนาจอธิปไตยของฝ่ายตรงข้ามอีกต่างหาป จนนำไปสู่ความอ่อนแอของระบบรัฐในตะวันออกกลาง

แต่แนวคิดความเป็นหนึ่งเดียวของโลกอาหรับที่มีแกนกลางอยู่ที่ประเด็นปัญหาปาเลสไตน์ถือเป็นเรื่องที่สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนชาวอาหรับได้เป็นอย่างดี เราจึงเห็นการปรับนโยบายต่างประเทศของรัฐอาหรับให้เป็นไปในแนวทางการต่อต้านรัฐอิสราเอล ขณะเดียวกันก็สร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับชาวปาเลสไตน์


เรื่องนี้ถือเป็นผลประโยชน์ร่วมของชาติอาหรับ มิใช่การจำกัดให้ความสำคัญแต่เฉพาะผลประโยชน์แห่งชาติที่แคบ ๆ ของตนเท่านั้น ถึงอย่างนั้น ตลอดประวัติศาสตร์ของปัญหาความขัดแย้งระหว่างอาหรับกับอิสราเอลก็สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า คำมั่นสัญญาของชาติอาหรับที่จะช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากชาวปาเลสไตน์เป็นได้แต่เพียงวาทกรรมคำพูดที่สวยหรูมากกว่าที่จะมีการนำไปปฏิบัติใช้ให้เกิดเป็นความจริงขึ้นมา


ความพ่ายแพ้ของกองทัพอาหรับต่ออิสราเอลในสงคราม 6 วันปี 1967 นับเป็นจุดเริ่มต้นของความเสื่อมคลายในกระแสชาตินิยมอาหรับ ตลอดจนเหตุการณ์หลายอย่างที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็นการที่อียิปต์ได้ลงนามทำข้อตกลงสันติภาพกับอิสราเอลเมื่อปี 1979 หรือสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรกในปี 1990 ล้วนเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความล้มเหลวและการไม่ยึดมั่นต่อหลักการความเป็นเอกภาพอาหรับในหมู่รัฐต่าง ๆ

พัฒนาการเช่นนี้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนโลกเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งหลายรัฐอาหรับมิได้มองอิสราเอลว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจอีกต่อไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือตอนที่อิสราเอลได้เข้ามาทำสงครามในเลบานอนเมื่อปี 2006 แทนที่รัฐอาหรับจะออกมาประณามอิสราเอลเหมือนแต่ก่อน กลับปรากฏว่า อียิปต์ จอร์แดน และซาอุดิอาระเบีย ได้ออกมากล่าวโทษกลุ่มฮิซบุลลอฮ์แห่งเลบานอนว่าเป็นต้นเหตุของสงคราม

อีกกรณีหนึ่งคือเมื่ออิสราเอลได้เข้ามาถล่มโจมตีหรือทำสงครามอย่างน้อย 3 ครั้งในฉนวนกาซ่าที่ถูกปิดล้อมมานานเป็นสิบ ๆ ปี อันส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์ที่อยู่แออัดในพื้นที่แคบ ๆ ตายและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก รัฐอาหรับอย่างอียิปต์และซาอุดิอาระเบียกลับกล่าวอ้างว่าฝ่ายฮามาสที่ต่อต้านทำศึกกับอิสราเอลนั้นถูกใช้เป็นเครื่องมือของอิหร่าน โดยไม่เคยออกมาตำหนิกล่าวโทษอิสราเอลแม้แต่น้อย

แต่ในอีกด้านหนึ่ง นับตั้งแต่หลังสงคราม 6 วันระหว่างอาหรับกับอิสราเอลที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1967 เป็นต้นมา ประเด็นปัญหาปาเลสไตน์ได้กลายเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลางอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในผลกระทบสำคัญคือการก่อรูปรวมตัวระหว่างตัวแสดงที่เป็นรัฐและตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ เรียกตัวเองใหม่ว่าเป็นขบวนการต่อต้านการยึดครองของอิสราเอลเหนือดินแดนปาเลสไตน์ (resistance axis) แต่ฝ่ายมหาอำนาจตะวันตกมักเรียกพวกนี้ว่า “กลุ่มสุดโต่ง” หรือ ‘รัฐสุดโต่ง’ อันประกอบไปด้วยอิหร่าน ซีเรีย กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ กลุ่มฮามาส และอิสลามิกญิฮาด เป็นต้น

หลังปรากฏการณ์อาหรับสปริง ความแตกแยกของระบบรัฐในโลกอาหรับและสำนึกในความเป็นเอกภาพของอาหรับที่ลดน้อยลงไปได้ปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้ชัดจากกรณีสงครามกลางเมืองซีเรีย และวิกฤติความสัมพันธ์ระหว่างซาอุดิอาระเบียกับกาตาร์

ส่วนประเด็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างอาหรับกับอิสราเอล หรือหากกล่าวให้ตรงจุดคือประเด็นปัญหาปาเลสไตน์ ซึ่งเคยเป็นปัญหาร่วมที่โลกอาหรับให้ความสำคัญมากที่สุดตลอดช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา กลับสูญเสียสถานะความสำคัญในการเมืองของตะวันออกกลางลงไป แน่นอนว่าประเด็นปัญหาปาเลสไตน์ยังคงเป็นประเด็นใหญ่ของภูมิภาค แต่มันไม่ได้อยู่ในกระแสความสนใจหลักเหมือนในอดีตอีกต่อไป


ท่าทีร่วมของโลกอาหรับในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาปาเลสไตน์เหมือนอย่างที่ได้แสดงออกมาในรูปแผนสันติภาพปี 2002 (Arab Peace Plan) ไม่เคยเกิดขึ้นอีก หลังสงครามอิรักปี 2003 โดยเฉพาะความเป็นปรปักษ์ระหว่างอิหร่านกับซาอุดิอาระเบียที่ขับเคี่ยวแข่งขันกันอย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ได้ทำให้ผู้คนในภูมิภาคแบ่งแยกออกจากกันระหว่างซุนนีย์กับชีอะฮ์

ซาอุดิอาระเบียถูกมองว่าเป็นประเทศที่ใช้ความแตกต่างทางนิกายศาสนาเป็นเครื่องมือในการหยุดยั้งกระแสการลุกฮือขึ้นของประชาชน เป็นยุทธศาสตร์ในการตอบโต้พลังของการปฏิวัติประชาชนภายในประเทศของตนและในภูมิภาคตะวันออกกลางโดยรวม

แต่ในขณะเดียวกัน วาทกรรมเรื่องการต่อต้านไซออนิสต์ (anti-Zionist) ซึ่งเคยเป็นตัวขับเคลื่อนการเมืองอาหรับ ได้หมดความสำคัญลงไป ในทางกลับกัน การปลุกกระแสความเกลียดชังอิหร่านร่วมกันทำให้เกิดสัมพันธภาพใหม่ระหว่างอิสราเอลกับรัฐอาหรับ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับซาอุดิอาระเบีย อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบรรดารัฐกษัตริย์ต่าง ๆ ในดินแดนคาบสมุทรอาหรับ

ความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างรัฐอาหรับกับอิสราเอลปรากฏให้เห็นเด่นชัดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในเดือนธันวาคม 2017 คณะจากบาห์เรน ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ชูป้ายเรียกตนเองว่า “This is Bahrain” ได้เดินทางไปเยือนกรุงเยรูซาเล็ม ในเดือนเดียวกันนั้น มีรายงานว่ามกุฎราชกุมาร มุฮัมมัด บิน ซัลมาน แห่งซาอุดิอาระเบีย ได้รับสั่งให้ นายมะห์มูด อับบาส ประธานาธิปดีปาเลสไตน์ ยอมรับแผนสันติภาพตะวันออกกลางของสหรัฐฯ หรือที่รู้จักกันต่อมาว่าเป็น ‘ข้อตกลงแห่งศตวรรษ’ (Deal of the Century) อันเป็นแผนสันติภาพที่ให้ประโยชน์ต่อรัฐบาลขวาจัดของอิสราเอลแต่ฝ่ายเดียว

แม้ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างซาอุดิอาระเบียกับอิสราเอลจะยังคงไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ แต่ก็ปฏิเสธได้ยากว่าการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่าง 2 ประเทศได้ปรากฏให้เห็นเด่นชัด ดังจะเห็นได้จากความสนิทชิดเชื้อระหว่างเจ้าชายหนุ่มที่ดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดิอาระเบียอย่างมุฮัมมัด บิน ซัลมาน กับลูกเขยชาวยิวและเป็นที่ปรึกษาด้านตะวันออกกลางของประธานาธิปทรัมป์อย่างนาย จาเรด คุชเนอร์ (Jared Kushner) ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและมีวิธีคิดคล้ายกับ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีจากพรรคอนุรักษ์นิยมขวาจัดของอิสราเอล

ต้นปี 2018 มกุฎราชกุมาร มุฮัมมัด บิน ซัลมาน ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อสำคัญอย่าง The Atlantic โดยมีใจความว่า “พวกเรามีผลประโยชน์ร่วมกับอิสราเอลมากมาย” และกล่าวต่อไปอีกว่า “ชาวปาเลสไตน์และอิสราเอลมีสิทธิ์เหนือดินแดนของพวกเขา” ซึ่งถือเป็นคำกล่าวที่แปลกใหม่อย่างที่ไม่เคยหลุดออกมาจากปากของผู้นำรัฐอาหรับมาก่อน ทั้ง ๆ ที่สถานะอย่างเป็นทางการของทั้ง 2 ประเทศยังอยู่ในสภาวะสงครามระหว่างกัน

ขณะเดียวกันในเดือนตุลาคม 2018 นาย เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ก็ได้เดินทางเยือนโอมานอย่างลับ ๆ เพื่อพบปะกับองค์สุลต่าน กอบูส (Qaboos) ก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์ในปีต่อมา
หลังจากนั้นไม่กี่วัน รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมและกีฬาของอิสราเอล นายมิริ เรเกฟ (Miri Regev) ก็ได้ไปเยือนกรุงอะบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันยูโดระหว่างประเทศ และเพลงชาติของอิสราเอลก็ได้ถูกบขับร้องในรัฐอาหรับเป็นครั้งแรกหลังจากที่นักกีฬายูโดของอิสราเอลได้ชัยชนะขึ้นรับเหรียญทอง

หลังจากนั้นอิสราเอลก็ได้เข้าร่วมมหกรรมกีฬาระดับโลกอีกหลายครั้งที่จัดโดยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันฟุตบอลรายการ “AFC Asian Cup 2019” หรือ “Special Olympics World Summer Games 2019” ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงอะบูดาบี

อันที่จริงก่อนหน้านี้ในปี 2017 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ได้ให้การตอนรับคณะทูตจากอิสราเอล ซึ่งเป็นคณะที่เดินทางมาให้การรับรองหน่วยงานระหว่างประเทศที่ดำเนินกิจการพลังงานหมุนเวียนที่มีสำนักงานอยู่ในกรุงอะบูดาบี

ในเดือนมกราคม 2019 ประธานาธิปดีแห่งอียิปต์ อับดุลฟัตตาห์ อัล-ซีซี ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง CBS ในรายการ “60 minutes” ประกาศยอมรับอย่างเปิดเผยว่าอียิปต์มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับอิสราเอลในด้านการทหารและการข่าว อันรวมถึงความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศในปฏิบัติการลับทางอากาศของอิสราเอลโจมตีกลุ่มติดอาวุธนับร้อย ๆ ครั้งในพื้นที่คาบสมุทรซีนาย

ขณะเดียวกัน การที่ทรัมป์ตัดสินใจย้ายสถานทูตสหรัฐอเมริกาไปประจำอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็ม แม้ผู้นำอาหรับจะออกอาการแสดงความไม่เห็นด้วย แต่ก็เป็นการไม่เห็นด้วยโดยการตำหนิพอเป็นพิธีและไม่เคยมีมาตรการใด ๆ ออกมาตอบโต้
เป็นที่น่าสังเกตว่านับตั้งแต่เกิดอาหรับสปริง อิสราเอลถือเป็นฝ่ายที่ได้ประโยชน์จากพัฒนาการต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปในภูมิภาค นอกจากจะสามารถปรับความสัมพันธ์กับชาติใหญ่แห่งโลกอาหรับอย่างซาอุดิอาระเบียและเหล่าชาติร่ำรวยน้ำมันในคาบสมุทรอาหรับได้แล้ว (อันเป็นผลจากความเป็นปรปักษ์กับอิหร่านร่วมกัน) ซีเรียซึ่งกลายเป็นสมรภูมิของสงครามกลางเมือง ยังอ่อนแอลงไป ไม่ได้มีศักยภาพที่จะกลายเป็นภัยคุกคามต่ออิสราเอลได้อีกต่อไป ขณะที่กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ท้าทายอิทธิพลอำนาจของอิสราเอลมาตลอด ก็ต้องหมกมุนอยู่กับสงครามกลางเมืองซีเรียเพื่อประคองระบอบอัสซาด ไม่มีเวลาที่จะคิดเรื่องอื่น ส่วนรัฐบาลของซีซีแห่งอียิปต์ก็มีศัตรูร่วมกับอิสราเอล นั่นคือกลุ่มฮามาส

แม้ในด้านหนึ่งอิสราเอลจะห่วงกังวลต่อการปรากฏตัวของกองทัพอิหร่านและฮิซบุลลอฮ์ในซีเรีย ซึ่งมีดินแดนประชิดติดกับดินแดนของตน (หรือดินแดนที่ตนเองยึดครองอยู่) โดยเฉพาะการศึกที่จะทำให้กลุ่มฮิซบุลลอฮ์มีความช่ำชองในการรบและแข็งแกร่งมากขึ้น แต่ก็ยากที่จะปฏิเสธได้ว่าสถานะของอิสราเอลในระบบการเมืองของตะวันออกกลางมีความเข้มแข็งมั่นคงขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามอย่างกลุ่มที่รวมตัวกันเป็น “ขบวนการต่อต้านการยึดครองของอิสราเอล” กลับเป็นฝ่ายที่อ่อนล้าลงไป อันเป็นผลมาจากการติดพันอยู่กับสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานในซีเรีย โดยเฉพาะฝ่ายอิหร่านและกลุ่มฮิซบุลลอฮ์

ขณะเดียวกัน รัฐบาลพรรคขวาจัดของอิสราเอลภายใต้การนำของเนทันยาฮูยังได้รับการหนุนหลังอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนจากสหรัฐฯภายใต้การนำของประธานาธิปดี โดนัลด์ ทรัมป์

ถึงแม้ปัจจุบันแนวคิดชาตินิยมอาหรับ (ซึ่งเคยถูกคาดหวังว่าจะเป็นตัวแปรหลักนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบรัฐอาหรับไปในทางที่ดีขึ้น) จะไม่ได้เป็นเป้าหมายที่ผู้นำอาหรับเอามาขับเคลื่อนอีกต่อไป แต่ก็ใช่ว่าประเด็นปัญหาร่วมของโลกอาหรับจะถูกละเลยในการเมืองของตะวันออกกลางไปเสียทั้งหมด ดังที่ Valbjorn และ Bank ได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า
ประเด็นปัญหาร่วมของโลกอาหรับ (โดยเฉพาะปัญหาปาเลสไตน์) ยังมีผลต่อผู้นำในรัฐอาหรับ ทั้งนี้ก็เนื่องจากเหตุผลหลายประการด้วยกัน
ประการแรกคือการที่รัฐในตะวันออกกลางที่ไม่ใช่อาหรับ (อย่างอิหร่านและตุรกี) ได้เข้ามามีบทบาทในการเมืองของโลกอาหรับ โดยแสดงตนเป็นเสมือนผู้ปกป้องชาวปาเลสไตน์อย่างแท้จริง

ประการที่ 2 คือการที่กลุ่มตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐอย่างฮามาสและฮิซบุลลอฮ์ก็ออกมาประกาศตนที่จะต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชาวปาเลสไตน์จากการกดขี่ของอิสราเอล

ประการที่ 3 คือการขับเคลื่อนประเด็นการเมืองของโลกอาหรับไม่ได้ขึ้นอยู่กับแนวคิดการรวมอาหรับ (Pan Arabism) เหมือนในอดีตช่วงยุคทศวรรษที่ 1950 และ 1960 อีกต่อไป แต่มาวันนี้การเมืองของโลกอาหรับกลับขับเคลื่อนโดยกลุ่มอุดมการณ์ที่นิยมแนวทางอิสลาม (Islamism) ซึ่งมีแนวทางความคิดที่ต่างจากพวกสังคมนิยมอาหรับ หรือพวกชาตินิยมอาหรับอย่างสิ้นเชิง

ประการสุดท้ายและอาจเป็นประเด็นสำคัญมากสุดคือ การที่ประเด็นความเป็นหนึ่งเดียวของโลกอาหรับและปัญหาปาเลสไตน์ยังคงอยู่ในจิตสำนึกของสาธารณชนชาวอาหรับอย่างไม่เสื่อมคลาย ดังจะเห็นได้จากปฏิกิริยาโกรธแค้นเดือดดาลของมวลชนอาหรับต่อการที่อิสราเอลเข้ามาทำสงครามกับกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ในเลบานอนเมื่อปี 2006 และการที่อิสราเอลโจมตีทางอากาศต่อการปกครองของกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซ่า ทั้งในปี 2008-2009, 2012 และ 2014 เป็นต้น

ขณะเดียวกัน ในบริบทของสื่อสังคมออนไลน์และสื่ออาหรับที่มีอยู่หลากหลายประเภท ปรากฏการณ์อาหรับสปริงและผลที่เกิดขึ้นมาตามภายหลัง นับเป็นข้อพิสูจน์ที่เห็นได้ชัดว่ามวลชนคนอาหรับมีความใกล้ชิดเชื่อมต่อกันทางวัฒนธรรมและสังคมมากแค่ไหน และนับวันความใกล้ชิดเชื่อมโยงดังกล่าวยิ่งมีแต่จะเพิ่มมากขึ้น อันที่จริงความสำคัญที่เพิ่มมากขึ้นของช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมและสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “เสียงสะท้อนของโลกอาหรับ” ที่ซึ่งแนวคิดความเป็นหนึ่งเดียวของชาวอาหรับและความทุกข์ยากของชาวปาเลสไตน์ยังคงเป็นประเด็นที่สาธารณชนคนอาหรับให้ความสำคัญอย่างยิ่ง

แรงสนับสนุนปาเลสไตน์ของมวลชนยังคงดำรงอยู่เช่นเดิมแม้จะมีการปรับเปลี่ยนท่าทีความเป็นพันธมิตรในระดับรัฐของโลกอาหรับกับประเทศอิสราเอลก็ตาม ลักษณะเช่นนี้อาจนำไปสู่รอยถ่างที่นับวันยิ่งห่างออกจากกันมากขึ้นระหว่างรัฐอาหรับกับประชาชนของตนเอง

สุดท้ายนี้ ผมฝากให้เพื่อน ๆ ที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ ช่วยสรุปรวบยอดออกมาทีครับว่า อะไรคือเหตุปัจจัยให้รัฐอาหรับหันไปผูกสัมพันธ์กับอิสราเอล

บทความโดย ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Tags: Burapanewsความสัมพันธ์ตะวันออกกลางต่างประะเทศอาหรับอิสราเอล
Previous Post

กลุ่มฮามาส ปล่อยตัวประกันหญิงชาวอิสราเอล 2 คน ฝั่งสหรัฐเสนอให้อิสราเอลหยุดปฏิบัติการภาคพื้นดิน

Next Post

กลุ่มมุสลิมสนับสนุนปาเลสไตน์ หลายร้อยคน รวมตัวแสดงพลังเชิงสัญลักษณ์ ออกแถลงการณ์ประณามอิสราเอล

Next Post
กลุ่มมุสลิมสนับสนุนปาเลสไตน์

กลุ่มมุสลิมสนับสนุนปาเลสไตน์ หลายร้อยคน รวมตัวแสดงพลังเชิงสัญลักษณ์ ออกแถลงการณ์ประณามอิสราเอล

ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

RECOMMENDED NEWS

รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย

รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย ชี้ กองทัพรัสเซียจะผลิตอาวุธนิวเคลียร์สำหรับ 3 เหล่าทัพในปี 2023

11 เดือน ago
พรรครักชาติ

พรรครักชาติ นำโดยฟิลิปโปต์ จัดชุมนุมรวมต้วเรียกร้องให้ฝรั่งเศสถอนตัวออกจากนาโต้และอียู

12 เดือน ago

สหรัฐฯ เตรียมส่งอาวุธและสนับสนุนทางทหารให้ยูเครนอีก 725 ล้านดอลลาร์

7 เดือน ago

‘สี จิ้นผิง’ บินพบ ‘ปูติน’ ทริปแรกในรอบ 2 ปี ถกปัญหารัสเซีย-ยูเครน

8 เดือน ago

BROWSE BY CATEGORIES

  • Uncategorized
  • กีฬา
  • ตะวันออกกลาง
  • ต่างประเทศ
  • ท่องเที่ยว
  • ยูโรป
  • ลาตินอเมริกา
  • วิเคราะห์ข่าว
  • สหรัฐ
  • สุขภาพ
  • เทคโนโลยี
  • เอเชียแปซิฟิก
  • แอฟริกา
  • ในประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์

BROWSE BY TOPICS

Burapanews การเมือง จีน ซาอุดีอาระเบีย ซีเรีย ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ตุรกี ต่างประเทศ นายกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี นาโต ประเทศไทย ปาเลสไตน์ ปูติน ผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ฝรั่งเศส พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยุโรป ยูเครน รัสเซีย ศาลรัฐธรรมนูญ สงคราม สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ สำนักข่าวต่างประเทศ อังกฤษ อินโดนีเซีย อิรัก อิสราเอล อิสลาม อิหร่าน อเมริกา ฮามาส เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ เซเลนสกี เมียนมา เยเมน โควิด โอมิครอน ในประเทศ ไต้หวัน ไบเดน

POPULAR NEWS

  • กองพันนีโอนาซี

    ทำความรู้จัก กองพันนีโอนาซีของยูเครน กัน

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • ประวัติวันลอยกระทง กับวิถีใหม่ของประเพณีเก่า

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • ด่วน! ผู้นำมุสลิมชีอะห์ไทย เรียกร้องซุนนี่ – ชีอะห์ – ไทยพุทธ – คริสตและยิวออร์โธดอกซ์ ร่วมกันประณามอาชญากรโลกอิสราเอล หน้าสถานทูตอิสราเอล 21 ตุลาคมนี้

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • ประธานาธิบดียูเครน พ้อชาติตะวันตกและนาโต้ ปล่อยให้ยูเครนสู้อย่างเดียวดาย

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • กองทัพรัสเซีย แต่งตั้งนายพล โวร์นิคอฟ ผู้บัญชาการรบในซีเรีย เป็นผู้บัญชาการรบในยูเครน

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
Burapanews

Burapa news ขอเป็นทางเลือกใหม่ในการเข้าถึงข่าวสาร ทั่วโลก จากสำนักข่าวในประเทศและต่างประเทศ ที่เชื่อถือได้

Follow us on social media:

ข่าวล่าสุด

  • อิหร่าน ทำลายการผูกขาดของอเมริกาในการผลิตยารักษาโรคหลอดเลือดสมอง
  • สาส์นประธานาธิบดีอิหร่าน เนื่องใน วันสากลว่าด้วยความเป็นปึกแผ่นสากลกับชาวปาเลสไตน์
  • บทวิเคราะห์ อาชญากรรมระบอบไซออนิสต์จากการโจมตีโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ต่างๆในเขตฉนวนกาซา

ข่าวล่าสุด

อิหร่าน ทำลายการผูกขาด

อิหร่าน ทำลายการผูกขาดของอเมริกาในการผลิตยารักษาโรคหลอดเลือดสมอง

ธันวาคม 9, 2023
สาส์นประธานาธิบดีอิหร่าน

สาส์นประธานาธิบดีอิหร่าน เนื่องใน วันสากลว่าด้วยความเป็นปึกแผ่นสากลกับชาวปาเลสไตน์

ธันวาคม 9, 2023
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ในประเทศ
  • ต่างประเทศ
    • ตะวันออกกลาง
    • ยูโรป
    • ลาตินอเมริกา
    • สหรัฐ
    • เอเชียแปซิฟิก
    • แอฟริกา
  • เทคโนโลยี
  • กีฬา
  • วิเคราะห์ข่าว
  • ไลฟ์สไตล์