Burapanews
  • หน้าหลัก
  • ในประเทศ
  • ต่างประเทศ
    • ตะวันออกกลาง
    • ยูโรป
    • ลาตินอเมริกา
    • สหรัฐ
    • เอเชียแปซิฟิก
    • แอฟริกา
  • เทคโนโลยี
  • กีฬา
  • วิเคราะห์ข่าว
  • ไลฟ์สไตล์
No Result
View All Result
Burapanews
Home Uncategorized

ทำไม เกาหลีเหนือ จึงยิงทดสอบขีปนาวุธ 7 ครั้งในรอบ 2 สัปดาห์?

ตุลาคม 9, 2022
in Uncategorized, ต่างประเทศ, วิเคราะห์ข่าว
0
เกาหลีเหนือ
0
SHARES
17
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

Related posts

กองกำลังติดอาวุธกะเหรี่ยง

กองกำลังติดอาวุธกะเหรี่ยง KNLA ผนึกกำลังโจมตีค่ายทหารเมียนมา

มีนาคม 25, 2023
ทนายนกเขา

ทนายนกเขา เชื่อผู้นำจีนจ่อผงาดเป็นบุคคลเบอร์หนึ่งโลกแทนที่สหรัฐ

มีนาคม 25, 2023

ทำไม เกาหลีเหนือ จึงยิงทดสอบขีปนาวุธ 7 ครั้งในรอบ 2 สัปดาห์?



คาบสมุทรเกาหลีกลับมาตึงเครียดและร้อนระอุอีกครั้ง หลังทางการเกาหลีเหนือยิงทดสอบขีปนาวุธอย่างต่อเนื่อง โดยทดสอบไปแล้วถึง 7 ครั้งในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้

โดย คิมจองอึน เดินหน้าพัฒนาโครงการอาวุธนิวเคลียร์และทดสอบขีปนาวุธทางทหารอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดรุ่นที่ 3 ของเกาหลีเหนือต่อจากปู่และพ่อของเขา ซึ่งเกาหลีเหนือเคยทำสถิติทดสอบขีปนาวุธถึง 23 ครั้งในปี 2017 โดยขีปนาวุธอย่างน้อย 2 ลูกถูกยิงผ่านน่านฟ้าญี่ปุ่น รวมถึงมีการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) ลูกแรกของเกาหลีเหนือ ซึ่งสร้างความตึงเครียดให้กับคาบสมุทรเกาหลีอย่างมาก โดยเฉพาะญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ในช่วงเวลานั้น


ทำไมเกาหลีเหนือถึงยิงขีปนาวุธต่อเนื่องในเวลานี้?

1. บริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและเอื้อให้ทดสอบ

บทวิเคราะห์จากสื่อต่างประเทศระบุว่า การยิงทดสอบขีปนาวุธไม่ใช่สิ่งใหม่ในเกาหลีเหนือ เนื่องจากโครงการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ทางการทหาร รวมถึงอาวุธนิวเคลียร์ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปี 2017 ที่คาบสมุทรเกาหลีมีความตึงเครียดอย่างมาก จนนำไปสู่การจัดประชุมสุดยอดผู้นำระหว่าง โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาขณะนั้น และ คิมจองอึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์เมื่อปี 2018 ที่สิงคโปร์ ก่อนที่จะมีการประชุมอีก 2 ครั้งที่เวียดนามและเขตปลอดทหารชายแดนเกาหลีในปี 2019 ด้วยความหวังที่จะยุติและปลดอาวุธนิวเคลียร์ในเกาหลีเหนือที่สั่นคลอนความมั่นคงของประชาคมโลก

ทั้งสองประเทศมีท่าทีประนีประนอมระหว่างกัน โดยเกาหลีเหนือชะลอโครงการพัฒนาอาวุธและทำลายไซต์งานทดสอบอาวุธนิวเคลียร์หลายแห่งในประเทศ ขณะเดียวกันสหรัฐฯ เองก็ระงับการซ้อมรบสเกลใหญ่กับบรรดาประเทศพันธมิตรในเอเชียอย่างเกาหลีใต้ รวมถึงพันธมิตรในภูมิภาคอื่นๆ แต่ดูเหมือนว่าท้ายที่สุดแล้วความพยายามดังกล่าวจะไม่ประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรมชัดเจน และดูเหมือนว่าเกาหลีเหนือปรับท่าทีอีกครั้งภายหลังสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ของ โดนัลด์ ทรัมป์

โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดทำให้เกาหลีเหนือตัดสินใจปิดพรมแดนประเทศทั้งหมด จำนวนการทดสอบขีปนาวุธเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้ง (ปี 2020 จำนวน 4 ครั้ง และปี 2021 จำนวน 8 ครั้ง) เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องโรคระบาด แต่หลังจากที่ทางการเกาเหลีเหนือประกาศชัยชนะเหนือโควิดเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ประกอบกับการที่รัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐฯ เข้ามากระชับความสัมพันธ์กับบรรดาพันธมิตรในเอเชียตะวันออก นี่จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะยิงทดสอบขีปนาวุธ หลังจากที่อัดอั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขและบริบทที่จำกัดมาตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ด้าน อังเดร แลนคอฟ อาจารย์ประจำ Kookmin University ในเกาหลีใต้ ระบุว่า พวกเขาไม่ได้ทดสอบขีปนาวุธได้อย่างเต็มที่มานานหลายปี เนื่องจากบริบทแวดล้อมต่างๆ โดยเฉพาะในทางการเมืองโลก บรรดานายพลและวิศวกรเกาหลีเหนือจึงมีความต้องการอย่างมากที่จะทดสอบว่าของเล่นของพวกเขายังคงมีประสิทธิภาพและใช้งานได้ดีอยู่ อีกทั้งช่วงเวลานี้โลกตะวันตกเองก็ต่างมุ่งความสนใจไปยังสงครามรัสเซีย-ยูเครน จึงยิ่งทำให้เกาหลีเหนือสบโอกาสที่จะทดสอบขีปนาวุธอย่างต่อเนื่อง

2.​ ภาพตัวอย่างที่เกาหลีเหนือรับรู้จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

กรณีรัสเซียทำสงครามรุกรานยูเครนในช่วงกว่า 7 เดือนที่ผ่านมา อาจกลายเป็นภาพตัวอย่างในโสตการรับรู้ของเกาหลีเหนือ เป็นแรงขับที่ช่วยสนับสนุนความคิดและจุดยืนของเกาหลีเหนือในการเดินหน้าทดสอบขีปนาวุธและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ต่อไป

สถานการณ์ในสงครามรัสเซีย-ยูเครนช่วยตอกย้ำถึงความสำคัญของอาวุธเหล่านี้ เพราะถ้าคุณมีอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธที่ทรงพลัง คุณแทบจะได้รับการยกเว้นโทษจากสิ่งที่คุณทำลงไป และถ้าคุณไม่มีสิ่งเหล่านี้ คุณจะต้องพบเจอกับความยากลำบากอย่างแน่นอน

ที่ผ่านมาทางการยูเครนและพันธมิตรในประชาคมโลกต่างทำได้เพียงประณามและดำเนินมาตรการคว่ำบาตร เพื่อกดดันรัสเซียในทางเศรษฐกิจ จนถึงขั้นที่ดินแดนบางส่วนของยูเครนอย่างโดเนตสก์ ลูฮันสก์ ซาปอริซเซีย และเคอร์ซอน ได้รับการผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา แม้จะอ้างผลประชามติที่มิชอบด้วยกฎหมายในสายตายูเครนและชาติตะวันตกก็ตาม ซึ่งเป็นการผนวกดินแดนจากยูเครนเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 8 ปี นับจากการผนวกรวมแหลมไครเมียเมื่อปี 2014

โดยหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่หลายฝ่ายยังคงสงวนท่าทีต่อกรณีนี้ เนื่องจากรัสเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ มีกองทัพที่ทรงพลัง และประชาคมโลกต่างมีบทเรียนจากสงครามใหญ่เมื่อครั้งอดีต


3. การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือกับจีนและรัสเซีย

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เกาหลีเหนือกระชับความสัมพันธ์กับจีนและรัสเซียอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่เกาหลีเหนือได้รับแรงกดดันจากมาตรการคว่ำบาตรและจำเป็นต้องปิดพรมแดนประเทศ เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด

รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามที่จะกดดันเกาหลีเหนือต่อเนื่อง และเสนอมาตรการคว่ำบาตรต่อเกาหลีเหนือระลอกใหม่ที่เข้มข้นยิ่งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาบนเวทีของสหประชาชาติ แต่จีนและรัสเซียในฐานะ 2 ใน 5 ประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกลับยก Veto คัดค้านแนวทางดังกล่าวของสหรัฐฯ นับเป็นการยก Veto คัดค้านมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือครั้งแรกในรอบกว่าทศวรรษนับตั้งแต่ปี 2006

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเติมเชื้อไฟและเพิ่มแรงขับให้กับเกาหลีเหนือที่กำลังรู้สึกว่าตัวเองยังมีประเทศมหาอำนาจบนเวทีโลกคอยให้การสนับสนุน

4. ประกาศศักดาความแข็งแกร่ง มุ่งสู่การเป็น ‘รัฐนิวเคลียร์’

เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา คิมจองอึน ประกาศศักดาความแข็งแกร่งผ่านกฎหมายฉบับใหม่ ผลักดันให้เกาหลีเหนือเป็น ‘รัฐนิวเคลียร์’ (Nuclear States) ซึ่งเป็นประเทศที่จะไม่ยอมปลดอาวุธนิวเคลียร์ และจะเดินหน้าทดสอบและพัฒนาโครงการดังกล่าวนี้ต่อไป โดยมองว่าอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธที่ทรงอานุภาพนี้จะเป็นหลักประกันสำคัญต่อความมั่นคงของเกาหลีเหนือ

ด้าน ยังมูจิน อาจารย์ประจำ University of North Korean Studies ในเกาหลีใต้ ระบุว่า กฎหมายดังกล่าวจะช่วยเพิ่มสถานะและกระชับความสัมพันธ์กับจีนและรัสเซียมากยิ่งขึ้น ในฐานะเป็นรัฐที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้การทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนือยังเป็นไปเพื่อแสดงแสนยานุภาพในประชาคมโลก และฟื้นฟูภาพลักษณ์ของผู้นำสูงสุดและระบอบการเมืองที่เข้มแข็งภายในเกาหลีเหนือเองอีกด้วย

โดยหลายฝ่ายคาดการณ์ว่า เกาหลีเหนือจะลดความถี่ในการทดสอบขีปนาวุธลงในช่วงที่การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน (ที่จัดขึ้นทุกๆ 5 ปี) จะเริ่มเปิดฉากขึ้นในวันที่ 16 ตุลาคมนี้ เพื่อตอกย้ำความสัมพันธ์ฉันมิตรที่แน่นแฟ้นระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งคาดว่าประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ของจีน จะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศเป็นสมัยที่ 3 ในการประชุมครั้งนี้ และจะได้รับการรับรองในสภาประชาชน หรือสภาตรายาง อย่างเป็นทางการอีกครั้งในช่วงเดือนมีนาคม ปี 2023

และหลังจากการประชุมสมัชชาใหญ่ราว 1 สัปดาห์ปิดฉากลง ทางการเกาหลีเหนือก็อาจกลับมาทดสอบขีปนาวุธอย่างต่อเนื่องอีกครั้ง และอาจตัดสินใจทดสอบขีปนาวุธนิวเคลียร์ในปีนี้ก็เป็นได้ เพื่อตอกย้ำและสร้างการยอมรับในฐานะรัฐนิวเคลียร์อย่างแท้จริง


อ้างอิง:

https://edition.cnn.com/2022/10/07/asia/north-korea-missile-testing-frequency-explainer-intl-hnk/index.html
https://www.aljazeera.com/news/2022/10/8/north-korea-fires-two-missiles-after-us-south-korea-drills
https://edition.cnn.com/2018/03/06/asia/north-korea-missile-tests-2017-intl/index.html
https://www.reuters.com/world/asia-pacific/nkorea-fires-ballistic-missile-yonhap-2022-10-08/

Tags: Burapanewsขีปนาวุธคาบสมุทรเกาหลีจีนเกาหลีเหนือเกาหลีใต้
Previous Post

มหาดไทย ออก 3 แนวทาง ประกาศสงครามยาเสพติด ตั้งศูนย์ประเมินคัดกรอง สั่งรายงานผลทุกวันที่ 5 ของเดือน เริ่มครั้งแรก 21 ต.ค. นี้

Next Post

สภาเทศบาลนครซาปอริชเชีย เผย กองทัพรัสเซีย ปฏิบัติการโจมตีทางทหาร ยิงจรวดหลายลูกถล่มอาคารพลเรือนกว่า 40 หลังคาเรือน

Next Post
สภาเทศบาลนครซาปอริชเชีย

สภาเทศบาลนครซาปอริชเชีย เผย กองทัพรัสเซีย ปฏิบัติการโจมตีทางทหาร ยิงจรวดหลายลูกถล่มอาคารพลเรือนกว่า 40 หลังคาเรือน

ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

RECOMMENDED NEWS

สี จิ้นผิง สั่งกองทัพจีน

สี จิ้นผิง สั่งกองทัพจีน ทุ่มสรรพกำลังเตรียมทำสงคราม

5 เดือน ago

องค์การอนามัยโลก เผยพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงแล้วประมาณ 80 รายใน 11 ประเทศ

10 เดือน ago
ประวิตร

ประวิตร โพสต์ย้ำ พร้อมพาก้าวข้ามความขัดแย้ง

2 สัปดาห์ ago

แอมเนสตี้ เรียกร้องดำเนินคดีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารพลเรือนยูเครน

11 เดือน ago

BROWSE BY CATEGORIES

  • Uncategorized
  • กีฬา
  • ตะวันออกกลาง
  • ต่างประเทศ
  • ท่องเที่ยว
  • ยูโรป
  • ลาตินอเมริกา
  • วิเคราะห์ข่าว
  • สหรัฐ
  • สุขภาพ
  • เทคโนโลยี
  • เอเชียแปซิฟิก
  • แอฟริกา
  • ในประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์

BROWSE BY TOPICS

Burapanews การเมือง ขีปนาวุธ จีน ซาอุดีอาระเบีย ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ตุรกี ต่างประเทศ นายกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี นาโต ประเทศไทย ปาเลสไตน์ ปูติน ฝรั่งเศส พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยุโรป ยูเครน รัสเซีย ศาลรัฐธรรมนูญ สงคราม สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ สำนักข่าวต่างประเทศ อังกฤษ อาเซียน อินโดนีเซีย อิรัก อิสราเอล อิสลาม อิหร่าน อเมริกา เกาหลีใต้ เซเลนสกี เมียนมา เยเมน เอเชียแปซิฟิก โควิด โอมิครอน ในประเทศ ไต้หวัน ไทย ไบเดน

POPULAR NEWS

  • ประธานาธิบดียูเครน

    ประธานาธิบดียูเครน พ้อชาติตะวันตกและนาโต้ ปล่อยให้ยูเครนสู้อย่างเดียวดาย

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • ทำความรู้จัก กองพันนีโอนาซีของยูเครน กัน

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • ด่วน! กองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน แถลงการณ์ยอมรับอยู่เบื้องหลังการโจมตีฐานที่มั่นของมอสสาดของอิสราเอลในอิรัก

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • แหล่งข่าวซีเรีย แฉ สหรัฐฯปล่อยนักโทษไอซิสจากซีเรียไปร่วมสู้รบในยูเครน

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • ประวัติวันลอยกระทง กับวิถีใหม่ของประเพณีเก่า

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
Burapanews

Burapa news ขอเป็นทางเลือกใหม่ในการเข้าถึงข่าวสาร ทั่วโลก จากสำนักข่าวในประเทศและต่างประเทศ ที่เชื่อถือได้

Follow us on social media:

ข่าวล่าสุด

  • กองกำลังติดอาวุธกะเหรี่ยง KNLA ผนึกกำลังโจมตีค่ายทหารเมียนมา
  • ทนายนกเขา เชื่อผู้นำจีนจ่อผงาดเป็นบุคคลเบอร์หนึ่งโลกแทนที่สหรัฐ
  • บาหลี เรียกร้องรัฐบาลยกเลิก Visa on Arrival สำหรับชาวรัสเซียและยูเครน หลังพบลักลอบทำงานอย่างผิดกฎหมาย

ข่าวล่าสุด

กองกำลังติดอาวุธกะเหรี่ยง

กองกำลังติดอาวุธกะเหรี่ยง KNLA ผนึกกำลังโจมตีค่ายทหารเมียนมา

มีนาคม 25, 2023
ทนายนกเขา

ทนายนกเขา เชื่อผู้นำจีนจ่อผงาดเป็นบุคคลเบอร์หนึ่งโลกแทนที่สหรัฐ

มีนาคม 25, 2023
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ในประเทศ
  • ต่างประเทศ
    • ตะวันออกกลาง
    • ยูโรป
    • ลาตินอเมริกา
    • สหรัฐ
    • เอเชียแปซิฟิก
    • แอฟริกา
  • เทคโนโลยี
  • กีฬา
  • วิเคราะห์ข่าว
  • ไลฟ์สไตล์