Burapanews
  • หน้าหลัก
  • ในประเทศ
  • ต่างประเทศ
    • ตะวันออกกลาง
    • ยูโรป
    • ลาตินอเมริกา
    • สหรัฐ
    • เอเชียแปซิฟิก
    • แอฟริกา
  • เทคโนโลยี
  • กีฬา
  • วิเคราะห์ข่าว
  • ไลฟ์สไตล์
No Result
View All Result
Burapanews
Home ในประเทศ

สภาพัฒน์ฯ เผยไตรมาส 2 ปีนี้ สถานการณ์แรงงาน-จ้างงานดีขึ้น ทุกกลุ่มอาชีพพบปัญหาการหมดไฟในการทำงาน

กันยายน 10, 2022
in ในประเทศ
0
0
SHARES
7
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

Related posts

‘ก็คอยสิจ๊ะ’ นายกฯประยุทธ์

ก็คอยสิจ๊ะ นายกฯ บอกให้รอประกาศราชกิจจาฯ ยุบสภา

มีนาคม 20, 2023
ครม. ไฟเขียวลงนามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนไทย-รัสเซียแล้ว

ครม. ไฟเขียวลงนามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนไทย-รัสเซียแล้ว เงื่อนไขเป็นความผิดโทษจำคุกเกินกว่า 1 ปี ถึงส่งตัวได้

มีนาคม 20, 2023

สภาพัฒน์ฯ เผยไตรมาส 2 ปีนี้ สถานการณ์แรงงาน-จ้างงานดีขึ้น ทุกกลุ่มอาชีพพบปัญหาการหมดไฟในการทำงาน
.
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอภาวะสังคมไทยไตรมาส 2 ปี 2565 เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 65 พบความเคลื่อนไหวสำคัญ สรุปเรื่องที่น่าสนใจได้ดังนี้
.
สถานการณ์แรงงานไตรมาส 2 ปี 65 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
.
โดยผู้มีงานทำ มี 39 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากการขยายตัวของการจ้างงาน นอกภาคเกษตรกรรม ที่มีการจ้างงาน 27.4 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะสาขาการผลิต สาขาขายส่ง/ขายปลีก และสาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า ที่ขยายตัวได้ร้อย 6.1, 12.1 และ 4.9 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคและการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี สำหรับสาขาที่มีการจ้างงานลดลง ได้แก่ สาขาก่อสร้าง สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร โดยการจ้างงานหดตัว ร้อยละ 5.4 และ 2.6 ตามลำดับ
.
ซึ่งการจ้างงานที่ชะลอตัวในสาขาการก่อสร้าง เนื่องจากความกังวลจากภาวะเศรษฐกิจที่แม้จะปรับตัวดีขึ้น แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ขณะที่สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร การจ้างงานปรับตัวลดลง เนื่องจากภาคการเท่องเที่ยวยังอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัว สำหรับภาคเกษตรกรรม มีการจ้างงาน 11.7 ล้านคน ลดลงร้อยละ 0.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรกรรมกลับไปทำงานในสาขาเดิมตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
.
ชั่วโมงการทำงานปรับตัวดีขึ้นใกล้เคียงช่วงปกติ โดยภาพรวมและภาคเอกชนอยู่ที่ 42.3 และ 46.1 ชั่วโมง/สัปดาห์ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่เป็นช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 จำนวนผู้เสมือนว่างงานปรับตัวลดลงจาก 2.8 ล้านคนในไตรมาส 2 ปี 2564 เหลือ 2.2 ล้านคนในปัจจุบัน และผู้ทำงานล่วงเวลา (ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมง/สัปดาห์) มีจำนวน 6.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว อัตราว่างงานจำนวน 5.5 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 1.37 ลดลง ทั้งผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน และไม่เคยทำงานมาก่อน ขณะเดียวกันการว่างงานยังปรับตัวดีขึ้นในทุกกลุ่ม โดยผู้ว่างงานระยะยาว (ผู้ว่างงานนานกว่า 1 ปี) มีจำนวน 1.5 แสนคน ลดลงร้อยละ 1.2 จากไตรมาส 2 ปี 2564 การว่างงานตามระดับการศึกษาลดลงในทุกระดับการศึกษา และอัตราการว่างงานในระบบอยู่ที่ร้อยละ 2.17 ลดลงจากร้อยละ 2.77 จากปีช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
.
สภาภัฒน์ฯ ระบุประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป 2 เรื่องหลักๆ คือ
.
1. ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อต่อแรงงาน โดยเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องส่งผลให้ค่าจ้างที่แท้จริงลดลง โดยเฉพาะของแรงงานทักษะต่ำ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน ได้แก่ มาตรการลดค่าไฟฟ้า มาตรการลดค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และอยู่ระหว่างการจัดทำโครงการ คนละครึ่ง ระยะที่ 5 นอกจากนี้คณะกรรมการค่าจ้างอยู่ระหว่างการพิจารณาการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งอาจช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพให้กับแรงงานจากราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้บ้าง
.
2. การขาดแคลนแรงงาน จากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวทำให้ความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น และเริ่มมีปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แบ่งเป็น
.
– การขาดแคลนแรงงานทักษะปานกลาง-สูง พบว่า มีความไม่สอดคล้องของทักษะแรงงานและความต้องการ สะท้อนจากความต้องการแรงงานที่ส่วนใหญ่เป็นความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนตามการขยายตัวของการส่งออก ขณะที่ผู้ว่างงานส่วนใหญ่กลับจบการศึกษาในด้านบริหารธุรกิจ สังคมศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ซึ่งอาจต้องเร่งรัดให้มีการ ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนทักษะให้สอดคล้องกับความต้องการ
.
– การขาดแคลนแรงงานทักษะต่ำ สะท้อนจากจำนวนแรงงานข้ามชาติที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงปกติ หรือช่วงปี 2562 ที่เป็นช่วงก่อนการแพร่ระบาดโดยปัจจุบัน กระทรวงแรงงานได้มีการเปิดให้นายจ้าง / สถานประกอบการ ดำเนินการยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้างแรงงาน 4 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) เพื่อสามารถอยู่และทำงานได้ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2568 ซึ่งอาจช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้บางส่วน
.
– ปัญหาการหมดไฟในการทำงาน ปัจจุบันแรงงานทั่วโลกจำนวนมากเริ่มมีภาวะหมดไฟในการทำงาน และลาออกจากงานมากขึ้น ซึ่งการสำรวจของวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล ที่สำรวจแรงงานในกรุงเทพมหานคร ปี2562 พบว่า แรงงานในทุกกลุ่มอาชีพมีภาวะหมดไฟในระดับสูง กล่าวคือ พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีภาวะหมดไฟ ร้อยละ 77, รองลงมาเป็นบริษัทเอกชน ร้อยละ 73, ข้าราชการ ร้อยละ 58 และธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 48 ดังนั้น นายจ้าง/องค์กรต่างๆ ต้องการกระตุ้นให้มีโครงการที่สร้างสรรค์และออกแบบให้คนในองค์กรมีสุขภาพจิตที่เข้มแข็ง มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน รวมทั้งปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของแรงงาน

นอกจากนี้ หนี้สินครัวเรือนในไตรมาส 1 ปี 2565 ขยายตัวชะลอลง และคุณภาพสินเชื่อทรงตัว แต่ต้องเฝ้าระวังหนี้เสีย โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลอื่น สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อรถยนต์ รวมถึงต้องติดตามผลกระทบจากค่าครองชีพและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบต่อลูกหนี้
.
ไตรมาส 1 ปี 2565 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.65 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.6 ลดลงจากร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 89.2 ลดลงจากไตรมาสก่อน ตามความกังวลของผู้บริโภคจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 และภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว และทำให้ครัวเรือนชะลอการก่อหนี้ ด้านความสามารถในการชำระหนี้ทรงตัว โดยมีสัดส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.78 ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการช่วยเหลือทางการเงินและการปรับโครงสร้างหนี้ที่ช่วยชะลอไม่ให้เกิดหนี้เสียเพิ่ม
.
หนี้สินครัวเรือนในไตรมาส 1 ปี 2565 ขยายตัวชะลอลง และคุณภาพสินเชื่อทรงตัว แต่ต้องเฝ้าระวังหนี้เสีย โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลอื่น สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อรถยนต์ รวมถึงต้องติดตามผลกระทบจากค่าครองชีพและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบต่อลูกหนี้
.
ไตรมาส 1 ปี 2565 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.65 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.6 ลดลงจากร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 89.2 ลดลงจากไตรมาสก่อน ตามความกังวลของผู้บริโภคจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 และภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว และทำให้ครัวเรือนชะลอการก่อหนี้ ด้านความสามารถในการชำระหนี้ทรงตัว โดยมีสัดส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.78 ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการช่วยเหลือทางการเงินและการปรับโครงสร้างหนี้ที่ช่วยชะลอไม่ให้เกิดหนี้เสียเพิ่ม
.
อย่างไรก็ตาม เรื่องหนี้ครัวเรือน ในระยะถัดไป มีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ คือ
.
– ผลกระทบของภาระค่าครองชีพที่อาจกดดันให้ครัวเรือนมีความต้องการสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ครัวเรือนที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัวและได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงมีการก่อหนี้มากขึ้น
.
– อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของครัวเรือนเพิ่มขึ้นและกระทบต่อครัวเรือนที่ขอสินเชื่อใหม่ เนื่องจากจะต้องรับภาระหนี้ในส่วนของดอกเบี้ยมากขึ้น
.
– คุณภาพสินเชื่อในกลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคลอื่น สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อยานยนต์ โดยสินเชื่อส่วนบุคคลอื่นและสินเชื่อบัตรเครดิต มีสัดส่วนสินเชื่อ NPLs ต่อสินเชื่อรวมปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่สินเชื่อรถยนต์มีสัดส่วนสินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ (สินเชื่อค้างชำระน้อยกว่า 3 เดือน) ต่อสินเชื่อรวมอยู่ในระดับสูงและเพิ่มขึ้น สะท้อนความเสี่ยงของการเกิด NPLs โดยเฉพาะในครัวเรือนกลุ่มที่มีภาระหนี้สูง หรือมีกันชนทางการเงินต่ำ

Previous Post

ทหารแฉเองไฟใต้ไม่จบ อ้าง ‘กำลังพลผี 30%’ เอาไว้ปั๊มเงินให้ ‘บิ๊กทหาร

Next Post

นายกฯ ยิวหงุดหงิดต่อสายหา “ไบเดน” ไม่ติด ส่งผู้นำหน่วยมอสสาดบินด่วนเข้าวอชิงตันระหว่าง “เตหะราน” กำลังอ่านข้อเสนอสหรัฐฯ ฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน

Next Post

นายกฯ ยิวหงุดหงิดต่อสายหา “ไบเดน” ไม่ติด ส่งผู้นำหน่วยมอสสาดบินด่วนเข้าวอชิงตันระหว่าง “เตหะราน” กำลังอ่านข้อเสนอสหรัฐฯ ฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน

ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

RECOMMENDED NEWS

ไพศาล พืชมงคล

ไพศาล ท้า ชาญวิทย์ แน่จริงให้ไสช้างออกมาทำสงครามปฏิรูป อย่าดีแต่ยุคนอื่นไปตาย

1 ปี ago
ธนกร วังบุญคงชนะ

โฆษกรัฐบาล เผย จุดยืนไทยต่อสถานการณ์ยูเครน สนับสนุนให้มีการเจรจาเพื่อหาข้อยุติโดยสันติวิธี

1 ปี ago
ฝ่ายความมั่นคง

ฝ่ายความมั่นคง จับตาเฝ้าระวัง กลุ่ม Lone WolF-หัวรุนแรงและกลุ่ม 3 จังหวัดชายแดนใต้ ก่อการร้ายประชุมเอเปค ปลายปีนี้

1 ปี ago
ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ

ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ เข้าร่วมสังเกตุการณ์การทดสอบอาวุธนำวิถีชนิดใหม่ เสริมสร้างศักยภาพทางนิวเคลียร์ของประเทศ

11 เดือน ago

BROWSE BY CATEGORIES

  • Uncategorized
  • กีฬา
  • ตะวันออกกลาง
  • ต่างประเทศ
  • ท่องเที่ยว
  • ยูโรป
  • ลาตินอเมริกา
  • วิเคราะห์ข่าว
  • สหรัฐ
  • สุขภาพ
  • เทคโนโลยี
  • เอเชียแปซิฟิก
  • แอฟริกา
  • ในประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์

BROWSE BY TOPICS

Burapanews การเมือง ขีปนาวุธ จีน ซาอุดีอาระเบีย ซีเรีย ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ตุรกี ต่างประเทศ นายกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี นาโต ประเทศไทย ปาเลสไตน์ ปูติน ฝรั่งเศส พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยุโรป ยูเครน รัสเซีย ศาลรัฐธรรมนูญ สงคราม สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ สำนักข่าวต่างประเทศ อังกฤษ อาเซียน อินโดนีเซีย อิรัก อิสราเอล อิสลาม อิหร่าน อเมริกา เกาหลีใต้ เซเลนสกี เมียนมา เยเมน โควิด โอมิครอน ในประเทศ ไต้หวัน ไทย ไบเดน

POPULAR NEWS

  • ประธานาธิบดียูเครน

    ประธานาธิบดียูเครน พ้อชาติตะวันตกและนาโต้ ปล่อยให้ยูเครนสู้อย่างเดียวดาย

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • ทำความรู้จัก กองพันนีโอนาซีของยูเครน กัน

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • แหล่งข่าวซีเรีย แฉ สหรัฐฯปล่อยนักโทษไอซิสจากซีเรียไปร่วมสู้รบในยูเครน

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • ด่วน! กองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน แถลงการณ์ยอมรับอยู่เบื้องหลังการโจมตีฐานที่มั่นของมอสสาดของอิสราเอลในอิรัก

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • ประวัติวันลอยกระทง กับวิถีใหม่ของประเพณีเก่า

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
Burapanews

Burapa news ขอเป็นทางเลือกใหม่ในการเข้าถึงข่าวสาร ทั่วโลก จากสำนักข่าวในประเทศและต่างประเทศ ที่เชื่อถือได้

Follow us on social media:

ข่าวล่าสุด

  • ก็คอยสิจ๊ะ นายกฯ บอกให้รอประกาศราชกิจจาฯ ยุบสภา
  • ผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลามชี้ การวางยาบรรดานักเรียน ถือเป็นอาชญากรรมที่ไม่อาจให้อภัย
  • ครม. ไฟเขียวลงนามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนไทย-รัสเซียแล้ว เงื่อนไขเป็นความผิดโทษจำคุกเกินกว่า 1 ปี ถึงส่งตัวได้

ข่าวล่าสุด

‘ก็คอยสิจ๊ะ’ นายกฯประยุทธ์

ก็คอยสิจ๊ะ นายกฯ บอกให้รอประกาศราชกิจจาฯ ยุบสภา

มีนาคม 20, 2023
ผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลามชี้

ผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลามชี้ การวางยาบรรดานักเรียน ถือเป็นอาชญากรรมที่ไม่อาจให้อภัย

มีนาคม 20, 2023
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ในประเทศ
  • ต่างประเทศ
    • ตะวันออกกลาง
    • ยูโรป
    • ลาตินอเมริกา
    • สหรัฐ
    • เอเชียแปซิฟิก
    • แอฟริกา
  • เทคโนโลยี
  • กีฬา
  • วิเคราะห์ข่าว
  • ไลฟ์สไตล์