Burapanews
  • หน้าหลัก
  • ในประเทศ
  • ต่างประเทศ
    • ตะวันออกกลาง
    • ยูโรป
    • ลาตินอเมริกา
    • สหรัฐ
    • เอเชียแปซิฟิก
    • แอฟริกา
  • เทคโนโลยี
  • กีฬา
  • วิเคราะห์ข่าว
  • ไลฟ์สไตล์
No Result
View All Result
Burapanews
Home วิเคราะห์ข่าว

เมื่อสงครามยูเครนกำลังลามมาที่อิหร่าน

มีนาคม 20, 2022
in วิเคราะห์ข่าว
0
น้ำมัน
0
SHARES
25
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

Related posts

อิหร่าน-ซาอุดีอาระเบีย

วิเคราะห์การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและซาอุดีอาระเบีย ตอนฝรั่งด้อยค่าข้อตกลงซาอุดีอาระเบีย-อิหร่าน

มีนาคม 19, 2023

เรือพระสุพรรณหงส์มาจากไหน

มีนาคม 5, 2023

เมื่อสงครามยูเครนกำลังลามมาที่อิหร่าน



บทความนี้นำเสนอแนวคิดลากอิหร่านเข้าสงครามเย็นใหม่ เท้าความตั้งแต่ข้อตกลงนิวเคลียร์ ตัวแปรรัสเซีย

ประวัติความเป็นมาของ JCPOA :

ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ Joint Comprehensive Plan of Action (JCPOA) เป็นข้อตกลงพหุภาคี อิหร่านกับ P5+1 (หรือ E3+3) ได้แก่ สหรัฐสมัยโอบามา รัสเซีย จีน อังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนี เป้าหมายคือนำโครงการนิวเคลียร์อิหร่านเข้าสู่การตรวจสอบของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) หน่วยงานสังกัดสหประชาชาติ ให้มั่นใจว่าโครงการนิวเคลียร์อิหร่านใช้ในทางสันติเท่านั้น

ปี 2018 รัฐบาลทรัมป์ฉีกข้อตกลง JCPOA เพียงฝ่ายเดียวทั้งๆ ที่อิหร่านไม่ได้ละเมิดข้อตกลง IAEA กับประเทศคู่สัญญาอื่นๆ ยืนยันเรื่องนี้ เป็นอีกครั้งที่รัฐบาลสหรัฐกระทำตามอำเภอใจ เป้าหมายคือต้องการคว่ำบาตรอิหร่าน จึงเป็นเรื่องแปลกเมื่อรัฐบาลไบเดนย้ำว่าจุดยืนคืออิหร่านต้องไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งๆ ที่ข้อตกลง JCPOA คือเครื่องประกันว่าโครงการนิวเคลียร์อิหร่านจะอยู่ภายใต้การตรวจสอบของ IAEA ดังเช่นนานาประเทศทั้งหลาย

กระแสข่าวหมดเวลาเจรจาแล้ว :

เมื่อเข้าสู่รัฐบาลไบเดน มีการเจรจาเรื่อยมาแต่ไม่สำเร็จ ล่าสุดรัสเซียเพิ่มเงื่อนไขว่าสัญญาฉบับใหม่จะต้องไม่กระทบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างอิหร่านกับรัสเซีย ดังที่ตอนนี้รัสเซียถูกหลายประเทศคว่ำบาตร ด้านรัฐบาลอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนีประกาศว่าไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว เตือนว่าอาจเป็นเหตุให้การเจรจาล้มเหลว แต่ข้อมูลเรื่องนี้ยังสับสนอยู่

จากเหตุสงครามยูเครน ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากกระทบคนทั้งโลกไม่เว้นคนอเมริกันกับอียู รัฐบาลไบเดนมีแผนปรับสัมพันธ์กับอิหร่าน ยอมให้อิหร่านขายน้ำมันได้มากขึ้น (เพื่อให้นานาชาติซื้อแทนน้ำมันรัสเซีย) และลดแรงกดดันจากราคาน้ำมัน

ด้วยความที่รัฐบาลสหรัฐต้องการเข้าควบคุมการซื้อขายน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ของชาติพันธมิตรกับพวก จึงหวังใช้อิหร่านเป็นเครื่องมือ ดึงอิหร่านเข้าสู่สงครามเย็นใหม่

แผนรัฐบาลไบเดนฟื้นสัมพันธ์อิหร่านผ่านข้อตกลง JCPOA กลายเป็นจุดสนใจอีกครั้ง เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่รัฐบาลไบเดนอาจตัดสินใจทิ้งการเจรจา (หรือลากยาวไปถึงรัฐบาลหน้า) อิหร่านต้องคิดหนักเพราะดับฝันที่จะได้ขายน้ำมันเต็มที่

มองในแง่ร้ายถ้าการเจรจาล่ม รัฐบาลไบเดนจะคว่ำบาตรอิหร่านต่อไปอีกทั้งอาจเพิ่มมาตรการให้รุนแรงกว่าสมัยทรัมป์อีก เช่น ไม่อนุญาตให้ประเทศใดๆ ซื้อน้ำมันจากอิหร่าน ไม่เว้นแม้แต่บางประเทศที่ได้รับการผ่อนผัน เช่น เกาหลีใต้ยังสามารถนำเข้าน้ำมันอิหร่านโดยต้องขออนุญาตจากรัฐบาลสหรัฐ ตามแผนควบคุมการซื้อขายน้ำมันโลกของอเมริกา

ตามยุทธศาสตร์จัดระเบียบโลกของอเมริกาหรือสงครามเย็นใหม่ เป้าหมายเฉพาะหน้าคือให้พันธมิตรกับมิตรประเทศของสหรัฐเลิกซื้อน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย จึงจำต้องหาแหล่งทดแทนซึ่งมีไม่กี่ทางเลือก อิหร่านเป็นหนึ่งในไม่กี่ทางเลือกดังกล่าว

เป็นทาง 2 แพร่งที่อิหร่านต้องตัดสินใจว่าจะตัดความสัมพันธ์กับรัสเซียหรือไม่ เป็นแผนที่รัฐบาลตะวันตกวางไว้

กรณีที่เลวร้ายกว่านี้คือ การปะทะทางทหารระหว่างอิหร่านกับอิสราเอลอย่างเข้มข้น เป็นสงครามที่ไม่ประกาศ ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงภูมิภาคตะวันออกกกลางจะร้อนแรงขึ้นอีกครั้ง เป็นการดึงภูมิภาคตะวันออกกลางเข้าสู่สงครามเย็นใหม่ พูดให้ชัดคือ อิหร่านถูกลากเข้ามาอยู่ในสงครามเย็นใหม่

สงครามเย็นใหม่ในตะวันออกกลาง? :

ดังที่ได้นำเสนอแล้วว่าสงครามยูเครนมองได้หลายกรอบ กรอบใหญ่ที่สุดคือโหมกระพือสงครามเย็นใหม่ในภูมิภาคยุโรป หรือพูดว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างนาโตกับรัสเซีย เป็นการแข่งขันช่วงชิงระหว่าง 2 มหาอำนาจ

บัดนี้อิหร่านกำลังถูกลากเข้ามาในความขัดแย้งนี้ และอาจจะไม่ใช่แค่อิหร่าน-นาโต-รัสเซีย แต่เป็นขั้วอเมริกากับรัสเซียในภูมิภาคตะวันออกกลาง ฝ่ายรัสเซียจะมีอิหร่าน ซีเรีย (รัฐบาลอัสซาด) ดังที่ประธานาธิบดีปูตินเปิดทางให้นักรบอาสาตะวันออกกลางซึ่งรวมซีเรียเข้ารบในยูเครน

ฝ่ายสหรัฐจะมีรัฐอาหรับกับอิสราเอล โดยเฉพาะอิสราเอลที่จ้อง “ชิงลงมือก่อน” (preemption) ต่ออิหร่านอยู่แล้ว การปะทะทางทหารมีความเป็นไปได้สูง ทุกวันนี้เครื่องบิน ขีปนาวุธอิสราเอลโจมตีกองกำลังอาสาอิหร่านในซีเรียเป็นระยะ เมื่อวันอาทิตย์ก่อน (13) อิหร่านยิงขีปนาวุธกว่า 10 ลูกใส่เป้าหมายที่เมืองเออร์บิล (Erbil) ของอิรัก มีข้อมูลว่าเป็นฐานที่ตั้งของมอสสาด (Mossad) เบื้องต้นรายงานผู้เสียชีวิต 9 ราย

เป็นการตอบโต้การโจมตีด้วยเครื่องบินไร้พลขับของอิสราเอลเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่โจมตีคลังเก็บของกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน (IRGC) ในจังหวัด Kermanshah ทางภาคตะวันตกของอิหร่าน โดยอิสราเอลปล่อยเครื่องโดรนจากเขตเคอร์ดิสถานที่เมืองเออร์บิลตั้งอยู่

หลายปีแล้วที่อิสราเอลกับอิหร่านใช้อาวุธสงครามต่อกัน ยอดผู้บาดเจ็บล้มตายเพิ่มขึ้นทุกที สมัยรัฐบาลทรัมป์เคยเตรียมเปิดศึกกับอิหร่าน เหล่านี้เป็นหลักฐานความเป็นไปได้ว่าจะเกิดการปะทะทางทหารครั้งใหญ่ ซึ่งหากเกิดเช่นนั้นจริงเรื่องอาจบานปลาย รัสเซียอาจส่งทหารเครื่องบินรบของตนสู่อิหร่าน เหมือนตอนนี้ที่มีฐานทัพอากาศรัสเซียในซีเรียเพื่อคุ้มครองรัฐบาลอัสซาด

ไม่ว่าจะเกิดการปะทะทางทหารครั้งใหญ่หรือเป็นแค่ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ มีความเป็นไปได้ว่าอิหร่านจะถูกลากเข้ามาในสงครามยูเครน พูดให้ถูกกว่านี้คืออิหร่านอาจถูกลากเข้ามาในความขัดแย้งระหว่าง 2 มหาอำนาจ สงครามเย็นใหม่กำลังขยายตัวสู่ภูมิภาคตะวันออกกลาง

ไม่ช้าไม่นานสงครามยูเครนจะยุติหรือคลายความรุนแรง แต่ไม่ว่าฝ่ายใดชนะ ไม่ได้หมายความว่าสงครามเย็นใหม่จะยุติด้วย รัฐบาลสหรัฐกับพวกจะคว่ำบาตรรัสเซียอย่างรุนแรงต่อไป และรัสเซียจะโต้กลับสมน้ำสมเนื้อ (ต้องไม่ลืมว่าผลกระทบสำคัญต่อโลกคือผลจากการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ)

หนึ่งในเป้าหมายสำคัญตอนนี้คือ รัฐบาลสหรัฐต้องการเข้าควบคุมการซื้อขายน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ของชาติพันธมิตรดังกล่าวข้างต้น นี่คือเครื่องมือควบคุมให้ประเทศทั้งหลายไม่แตกแถว เงินดอลลาร์ยังเป็นสกุลหลักของโลก

วิเคราะห์องค์รวมและสรุป :

หลักความขัดแย้งข้อหนึ่งคือความขัดแย้งหนึ่งสร้างอีกความขัดแย้งและบานปลายมากขึ้น จนกว่าคู่กรณีจะยอมยุติหรือฝ่ายหนึ่งถูกทำให้หยุด

หากย้อนกลับตั้งแต่ต้นจะเห็นว่าประเด็นยูเครนทวีความขัดแย้งมากขึ้น ต่างฝ่ายต่างระดมกองกำลังอาสา คว่ำบาตรต่อกันมากขึ้นทุกที และลามสู่ประเทศอื่นๆ เช่น รัฐบาลไบเดนหวังดึงโปแลนด์เข้าสู่สนามรบด้วยข้อเสนอให้โปแลนด์มอบเครื่องบิน MiG-29 แก่ยูเครน ดีที่รัฐบาลโปแลนด์หาทางออกด้วยเงื่อนไขว่าจะส่งมอบเครื่องบินแก่สหรัฐ จนรัฐบาลไบเดนต้องยกเลิกแผนนี้

ตอนนี้อิหร่านเป็นอีกประเทศที่กำลังถูกดึงเข้ามา น่าติดตามว่าสถานการณ์จะดำเนินต่อไปอย่างไร ถ้ามองเฉพาะกรอบโครงการนิวเคลียร์อิหร่าน รัฐบาลไบเดนสามารถยกเลิกการเจรจาอย่างสิ้นเชิง สามารถห้ามทุกประเทศซื้อน้ำมันจากอิหร่านโดยไม่ผ่อนผันให้ประเทศใดๆ อีก (อย่างน้อยอาจใช้วิธีนี้ชั่วระยะหนึ่ง) ที่ร้ายแรงและอาจบานปลายคือการปะทะด้วยอาวุธอย่างเข้มข้นที่มีอิสราเอลเข้ามาเกี่ยวข้อง เพียงเท่านี้ก็ไม่อยากจินตนาการต่อไปแล้ว

เรื่องนี้เป็นข้อเตือนใจนานาประเทศให้ระวัง ไม่ให้ถูกลากเข้าไปอยู่ในความขัดแย้งจนถึงขั้นประเทศตัวเองเป็น “พื้นที่ทำสงคราม” ดังที่ได้นำเสนอแล้วว่า “นักการเมืองพยายามแบ่งแยกประชาชน เกิดความเป็นขั้วอย่างรุนแรง นำสู่สงครามกลางเมืองกลายเป็นยูเครนตะวันตกกับตะวันออก ทั้งนี้ชาติมหาอำนาจร่วมผสมโรงได้ประโยชน์จากการแตกแยกของคนยูเครน สามารถดึงฝ่ายการเมืองให้อยู่กับตนเป็นรัฐบาลที่อิงตะวันตกหรืออิงรัสเซีย กล่าวได้ว่าชาติมหาอำนาจมั่นคงมั่งคั่งขึ้นบนความสูญเสียของยูเครน เรื่องทำนองนี้เคยเกิดขึ้นกับหลายประเทศ เป็นอุทาหรณ์แก่ประเทศอื่นๆ ที่เหลือ”

บทความโดย อาจารย์ชาญชัย คุ้มปัญญา คอลัมนิสต์ สถานการณ์โลก ของไทยโพสต์

Burapanews 

Tags: Burapanewsชาญชัย คุ้มปัญญาตะวันออกกลางน้ำมันรัสเซียสงครามยูเครนอิหร่าน
Previous Post

แหล่งข่าวซีเรีย แฉ สหรัฐฯปล่อยนักโทษไอซิสจากซีเรียไปร่วมสู้รบในยูเครน

Next Post

อรุณี ถาม ประยุทธ์ จะคืนความสุขให้ประชาชนเมื่อไหร่

Next Post
อรุณี

อรุณี ถาม ประยุทธ์ จะคืนความสุขให้ประชาชนเมื่อไหร่

ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

RECOMMENDED NEWS

แคนาดามีแผนสั่งห้ามใช้อุปกรณ์ 5G ของบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี และแซดทีอี คอร์ปอเรชัน

10 เดือน ago
ออสเตรเลีย

นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย เรียกร้องจีนว่าอย่านิ่งเงียบต่อสถานการณ์ในยูเครน

1 ปี ago

ทูตยูเครนประจำฝรั่งเศส

1 เดือน ago
ปูติน-

ปูติน ย้ำ การทีชาติตะวันตกส่งอาวุธให้ยูเครน เป็นการบ่อนทำลายเสถียรภาพ

10 เดือน ago

BROWSE BY CATEGORIES

  • Uncategorized
  • กีฬา
  • ตะวันออกกลาง
  • ต่างประเทศ
  • ท่องเที่ยว
  • ยูโรป
  • ลาตินอเมริกา
  • วิเคราะห์ข่าว
  • สหรัฐ
  • สุขภาพ
  • เทคโนโลยี
  • เอเชียแปซิฟิก
  • แอฟริกา
  • ในประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์

BROWSE BY TOPICS

Burapanews การเมือง ขีปนาวุธ จีน ซาอุดีอาระเบีย ซีเรีย ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ตุรกี ต่างประเทศ นายกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี นาโต ประเทศไทย ปาเลสไตน์ ปูติน ฝรั่งเศส พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยุโรป ยูเครน รัสเซีย ศาลรัฐธรรมนูญ สงคราม สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ สำนักข่าวต่างประเทศ อังกฤษ อาเซียน อินโดนีเซีย อิรัก อิสราเอล อิสลาม อิหร่าน อเมริกา เกาหลีใต้ เซเลนสกี เมียนมา เยเมน โควิด โอมิครอน ในประเทศ ไต้หวัน ไทย ไบเดน

POPULAR NEWS

  • ประธานาธิบดียูเครน

    ประธานาธิบดียูเครน พ้อชาติตะวันตกและนาโต้ ปล่อยให้ยูเครนสู้อย่างเดียวดาย

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • ทำความรู้จัก กองพันนีโอนาซีของยูเครน กัน

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • แหล่งข่าวซีเรีย แฉ สหรัฐฯปล่อยนักโทษไอซิสจากซีเรียไปร่วมสู้รบในยูเครน

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • ด่วน! กองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน แถลงการณ์ยอมรับอยู่เบื้องหลังการโจมตีฐานที่มั่นของมอสสาดของอิสราเอลในอิรัก

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • ประวัติวันลอยกระทง กับวิถีใหม่ของประเพณีเก่า

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
Burapanews

Burapa news ขอเป็นทางเลือกใหม่ในการเข้าถึงข่าวสาร ทั่วโลก จากสำนักข่าวในประเทศและต่างประเทศ ที่เชื่อถือได้

Follow us on social media:

ข่าวล่าสุด

  • ก็คอยสิจ๊ะ นายกฯ บอกให้รอประกาศราชกิจจาฯ ยุบสภา
  • ผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลามชี้ การวางยาบรรดานักเรียน ถือเป็นอาชญากรรมที่ไม่อาจให้อภัย
  • ครม. ไฟเขียวลงนามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนไทย-รัสเซียแล้ว เงื่อนไขเป็นความผิดโทษจำคุกเกินกว่า 1 ปี ถึงส่งตัวได้

ข่าวล่าสุด

‘ก็คอยสิจ๊ะ’ นายกฯประยุทธ์

ก็คอยสิจ๊ะ นายกฯ บอกให้รอประกาศราชกิจจาฯ ยุบสภา

มีนาคม 20, 2023
ผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลามชี้

ผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลามชี้ การวางยาบรรดานักเรียน ถือเป็นอาชญากรรมที่ไม่อาจให้อภัย

มีนาคม 20, 2023
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ในประเทศ
  • ต่างประเทศ
    • ตะวันออกกลาง
    • ยูโรป
    • ลาตินอเมริกา
    • สหรัฐ
    • เอเชียแปซิฟิก
    • แอฟริกา
  • เทคโนโลยี
  • กีฬา
  • วิเคราะห์ข่าว
  • ไลฟ์สไตล์