Burapanews
  • หน้าหลัก
  • ในประเทศ
  • ต่างประเทศ
    • ตะวันออกกลาง
    • ยูโรป
    • ลาตินอเมริกา
    • สหรัฐ
    • เอเชียแปซิฟิก
    • แอฟริกา
  • เทคโนโลยี
  • กีฬา
  • วิเคราะห์ข่าว
  • ไลฟ์สไตล์
No Result
View All Result
Burapanews
Home วิเคราะห์ข่าว

เหตุใดรัสเซียจึงหวาดระแวงองค์กรนาโต้ จากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างรัสเซียกับยูเครน?

กุมภาพันธ์ 22, 2022
in วิเคราะห์ข่าว
0
เหตุใดรัสเซียจึงหวาดระแวงองค์กรนาโต้

เหตุใดรัสเซียจึงหวาดระแวงองค์กรนาโต้

0
SHARES
20
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

Related posts

ทำไมสหรัฐแบนติ๊กตอกของจีนด้วย

ทำไมสหรัฐแบนติ๊กตอกของจีนด้วย?

มีนาคม 31, 2023
ทำไมรัสเซียถึงเตรียมประจำการอาวุธนิวเคลียร์ในเบลารุส

ทำไมรัสเซียถึงเตรียมประจำการอาวุธนิวเคลียร์ในเบลารุส

มีนาคม 30, 2023

เหตุใดรัสเซียจึงหวาดระแวงองค์กรนาโต้ จากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างรัสเซียกับยูเครน?

Burapanews  สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า 

ปัจจุบันความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนต่างเป็นประเด็นที่ทั่วโลกพากันจับตา นอกจากความเสี่ยงในการเผชิญหน้ามีโอกาสลุกลามเป็นสงครามใหญ่ระหว่างมหาอำนาจ ที่อาจสั่นคลอนเศรษฐกิจและโลกในทุกมิตินับจากนี้ อีกทั้งยังเป็นผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกถีบตัวสูงไม่จบสิ้น

ชนวนขัดแย้งคราวนี้เกิดจากการส่งกำลังทหารจำนวนมากเข้าประชิดชายแดนยูเครน แน่นอนว่านั่นทำให้ทางยูเครนรวมถึงชาติตะวันตกจำนวนมากตื่นตัว แม้รัสเซียจะอ้างว่าการส่งกำลังทหารประชิดชายแดนและเคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์เบราลุสเป็นไปเพื่อซ้อมรบตามกำหนดการณ์ แต่หลายประเทศต่างพากันจับตาไม่ไว้วางใจในท่าที

ข้อเรียกร้องประการสำคัญของทางรัสเซียคือ การให้นาโตเลิกแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามายังยุโรปตะวันออก ไม่ยอมรับยูเครนเป็นสมาชิก ยกเลิกการซ้อมรบร่วมในหลายประเทศ ถอนกำลังนานาชาติที่กระจายตัวอยู่ในยุโรปตะวันตกทั้งหมด รวมถึงยุทโธปกรณ์ทั้งหมดที่ติดตั้งไว้ใน โดยบอกว่าทางนาโตกำลังใช้กำลังทหารกระจายไปในชาติสมาชิกเพื่อล้อมกรอบรัสเซีย



จุดเริ่มต้นของ NATO องค์กรต่อต้านคอมมิวนิสต์

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่ออักษะล่มสลาย โลกจึงเหลือเพียง 2 มหาอำนาจที่ชูอุดมการณ์แตกต่าง สหภาพโซเวียตที่แผ่ขยายอิทธิพลปกคลุมยุโรปตะวันออก กลืนประเทศน้อยใหญ่จำนวนมากให้อยู่ภายใต้ร่มธง นั่นทำให้สมาชิกชาติตะวันตกรู้สึกตัวว่าพวกเขาไม่อาจอยู่เฉยได้อีก

นั่นทำให้ NATO หรือ สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ถูกก่อตั้งเป็นครั้งแรกในวันที่ 4 เมษายน 1949 จากการรวมตัวของประเทศต่างๆ 12 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร, แคนาดา, เบลเยี่ยม, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, ไอซ์แลนด์, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์ และโปรตุเกส เพื่อสร้างกลุ่มพันธมิตรขึ้นมาคานอำนาจกับโลกคอมมิวนิสต์

จุดประสงค์ของนาโตคือ การจัดตั้งระบบพันธมิตรเพื่อถ่วงดุลกับสหภาพโซเวียตไม่ให้แผ่ขยายอิทธิพลมากกว่านี้ โดยการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกทั้งด้านการทหารกรณีภัยคุกคามจากภายนอก ตลอดจนส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกไปด้วย

สิ่งนี้ย่อมสร้างความไม่พอใจให้โลกคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตจึงจัดตั้ง สนธิสัญญาวอร์ซอ ขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคม 1955 เพื่อเป็นการตอบโต้คานอำนาจกับฝั่งประชาธิปไตย ทั้งสององค์กรจึงกลายเป็นสองขั้วอำนาจใหญ่ที่จับตามองซึ่งกันและกัน พร้อมเข้ารับมือหากมีการเคลื่อนไหวคุกคามโดยอาศัยกำลังทหาร


ทั้งสองฝ่ายต่างแข่งขันแผ่ขยายอำนาจทั้งจากสงครามตัวแทนและความขัดแย้งต่างๆ ทำให้นาโตขยายการรับชาติสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ภายหลังประเทศเหล่านั้นเปลี่ยนผ่านเป็นประชาธิปไตย เพิ่มบรรยากาศตึงเครียดระหว่างสองฝ่ายจนปี 1980 เป็นต้นมา กระแสความเกลียดชังจึงเริ่มซบเซา นำทางไปสู่การเจรจาเพื่อผ่อนคลายความขัดแย้งในที่สุด

หรือถ้าจะให้พูดแท้จริงนาโตคือผลพวงและการรวมตัวที่เกิดขึ้นจากสงครามเย็น เพื่อป้องกันการขยายอำนาจของสหภาพโซเวียต หนึ่งในหัวใจหลักขององค์กรคือ มาตรา 5 เมื่อประเทศสมาชิกถูกโจมตีจากประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกนาโต ทุกประเทศที่เข้าร่วมจะเข้าสู่สถานะสงครามโดยอัตโนมัติ ถือเป็นการช่วยคานอำนาจคุกคามจากโซเวียตเป็นอย่างดี หรือก็คือแต่แรกสุดนาโตคือองค์กรต่อต้านคอมมิวนิสต์และสหภาพโซเวียตซึ่งก็หมายถึง รัสเซีย นั่นเอง

 

บทบาทของ NATO ภายหลังการสิ้นสุดของสงครามเย็น


ดังที่เราทราบกันว่าสหภาพโซเวียตสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการนับแต่ 26 ธันวาคม 1991 เป็นต้นมา ถือเป็นเวลายาวนานหลายสิบปีหลังการจบสิ้นของอีกขั้วอำนาจ แต่องค์กรของนาโตที่จัดตั้งเพื่อต่อต้าน แม้ภายหลังสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้วกลับไม่ล้มหายตามไป แต่เริ่มปรับเปลี่ยนนโยบายใหม่ให้สอดคล้องโลกปัจจุบันมากขึ้นแทน

แนวทางความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเน้นความร่วมมือและปกป้องรักษาสันติภาพแก่บรรดาชาติสมาชิก รวมถึงการสานสัมพันธ์กับรัสเซียเพื่อส่งเสริมเสถียรภาพในยุโรป โดยภายหลังสงครามเย็นเป็นต้นมา ทางนาโตมีบทบาทเข้าไปรักษาสันติภาพภายในบอสเนีย, มาซิเนีย รวมถึงโคโซโว อีกทั้งคอยสนับสนุนด้านการทหารแก่ประเทศต่างๆ

ขณะเดียวกันทางนาโตเองก็เปิดรับชาติสมาชิกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีทีท่าจะหยุดลงแม้สิ้นสุดสงครามเย็นไปแล้ว ได้แก่ในปี 1999 ก็รับเช็ก, ฮังการี และโปแลนด์เข้ามา รวมถึงปี 2003 ที่เปิดรับ บัลแกเรีย, เอสโตเนีย, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, สโลวาเกีย, สโลวีเนีย และโรมาเนีย ถือเป็นหมุดหมายสำคัญของนาโต ทำให้ดินแดนของนาโตขยายไปจรดพรมแดนรัสเซีย

แน่นอนนี่คือสาเหตุประการสำคัญทำให้รัสเซียไม่พอใจ เพราะนาโตแสดงบทบาทเป็นศัตรูแก่รัสเซียเสมอมา การขยายรับสมาชิกให้ความร่วมมือทางการทหารมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นสิ่งที่ทำให้รัสเซียรู้สึกตัวเองตกอยู่ภายใต้การคุกคาม จากการล้อมกรอบประเทศสมาชิกนาโตกระชั้นเข้ามาถึงพรมแดนรัสเซีย

ฟางเส้นสุดท้ายของเรื่องนี้จึงมาตกอยู่ในพื้นที่ของประเทศยูเครน หนึ่งในประเทศใต้อิทธิพลโซเวียตที่ถือเป็นเพื่อนบ้านสำคัญ แต่นานวันความหวาดระแวงของรัสเซียกลับพุ่งเป้าไปหาประเทศนี้มากขึ้น เมื่อยูเครนส่งสัญญาณว่า พวกเขาต้องการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชาติสมาชิกของนาโตเช่นกัน

สิ่งนี้เองกลายเป็นชนวนเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาระหว่างสองชาติและเป็นประเด็นมาถึงปัจจุบันตำแหน่งของไครเมียที่ประกาศแยกตัวจากยูเครน


ชนวนความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน กับความหวาดระแวงหยั่งลึกนับแต่สงครามเย็น


 ความพยายามในการผลักดันยูเครนเข้าร่วมสมาชิกนาโตไม่ใช่เรื่องใหม่ เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2004 เมื่อนาโตขยายอิทธิพลและชาติสมาชิกให้กว้างไกลยิ่งขึ้น การเลือกตั้งในปีนั้นสองตัวเต็งสำคัญถือเป็นตัวแทนของสองฝั่ง โดย วิกเตอร์ ยุชเชนโก เป็นผู้สนับสนุนนโยบายโอนอ่อนต่อนาโต ส่วน วิกเตอร์ ยานูโควิช คือผู้สมัครที่ได้รับการหนุนหลังจากรัสเซีย

การเลือกตั้งในยูเครนครั้งนั้นยุชเชนโกถูกวางยาพิษ ชัยชนะของยานูโควิชก็ไม่ได้การยอมรับจากประชาชนนำไปสู่การประท้วง ทำให้เกิดการเลือกตั้งซ่อมและยุชเชนโกได้รับชัยชนะไปในที่สุด เขาผลักดันให้ยูเครนอยู่ในสถานะ “ประเทศหุ้นส่วน” ที่พร้อมพิจารณาให้เข้าร่วมเป็นชาติสมาชิกได้ทุกเมื่อ สิ่งนี้เองเป็นประเด็นที่รัสเซียไม่ต้องการให้เกิดขึ้น

หากยูเครนเข้าร่วมเป็นชาติสมาชิกนาโตได้สำเร็จ ถึงตอนนั้นกองกำลังนานาชาติใต้คำสั่งนาโตจะเข้ามาประชิดชายแดนรัสเซียพร้อมยุทโธปกรณ์โดยสะดวก สิ่งนี้เองที่ผู้นำรัสเซียมองเป็นภัยคุกคาม จึงเกิดเป็นความพยายามในการขัดขวางของทางรัสเซีย ไม่ยินยอมให้ยูเครนเข้าร่วมเป็นชาติสมาชิกโดยเด็ดขาด

ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนเกิดขึ้นมาหลายครั้ง ในปี 2014 เมื่อเกิดการประท้วงใหญ่จนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลให้ยานูโควิชที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียถูกถอดถอนก่อนลี้ภัยไปรัสเซีย นั่นทำให้ทางรัสเซียบอกว่าการถอดถอนนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามด้วยการส่งกำลังทหารเข้าประชิดพรมแดนคาบสมุทรไครเมียอย่างรวดเร็ว

ช่วงเวลาเดียวกัน ไครเมีย รัฐหนึ่งในประเทศยูเครนได้ประกาศแยกตัวจากยูเครนหันไปอยู่ใต้การปกครองของรัสเซีย ด้วยแนวโน้มของคนในเมืองที่เอนเอียงไปทางรัสเซียและใช้ภาษารัสเซียเป็นส่วนมาก พวกเขาจึงยินดีในการอยู่กับรัสเซียมากกว่า รัสเซียจึงผนวกไครเมียพื้นที่ภาคใต้ของยูเครนให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ อีกทั้งมีข่าวลือว่ารัสเซียสนับสนุนกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนทางฝั่งตะวันออกของยูเครนอีกด้วย

การเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วมากกว่า 14,000 คน และทำให้เกิดผู้อพยพอีกกว่า 1 ล้านคนทีเดียว

 

การเคลื่อนไหวของ NATO และชะตาเคราะห์ที่ไม่จบสิ้นของยูเครน


ช่วงเวลาการผนวกไครเมียของรัสเซียทางนาโตไม่ได้แทรกแซงเข้าเรื่องดังกล่าว แต่ภายหลังจึงเริ่มมีการส่งกำลังทหารเข้าประจำพื้นที่ในแถบยุโรปตะวันออกเป็นครั้งแรก กองกำลังนานาชาติกระจายตัวไปในหลายประเทศทั้ง เอสโตเนีย, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, โปแลนด์ ไปจนถึงโรมาเนีย สร้างความไม่พอใจให้แก่รัสเซียมากยิ่งขึ้น

นั่นนำไปสู่ความพยายามรูปแบบใหม่เพิ่มเติม มีข่าวว่ารัสเซียอยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ในยูเครน ทั้งการโจมตีโครงข่ายไฟฟ้า โจรกรรมข้อมูลไซเบอร์ รวมถึงโจมตีเว็บไซต์ของรัฐบาลอยู่หลายครั้ง อีกทั้งสถานการณ์ตามแนวชายแดนและพื้นที่ทางตะวันออกก็ไม่เคยสงบลง ทำให้ยูเครนตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก

มีความพยายามในการลดแรงกดดันของทางฝั่งยูเครนหลายครั้งแต่ไม่เป็นผลนัก โดยเฉพาะในช่วงการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ สั่งลดความช่วยเหลือไปหายูเครน ทำให้ความพยายามแก้ไขปัญหาของทางยูเครนเป็นเรื่องยากขึ้นไปอีก

จนกระทั่งเดือนเมษายนปี 2021 รัสเซียเริ่มส่งทหารราว 100,000 นายเข้าประชิดพรมแดนยูเครนด้วยข้ออ้าง ฝึกซ้อมทหาร เป็นการจุดชนวนความตึงเครียดภายในยุโรปตะวันตกขึ้นมาอีกหนก่อนถอนกำลังไปบางส่วน กระทั่งช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้เอง การยกกำลังพลเข้าประชิดชายแดนจึงเกิดขึ้นอีกครั้ง
ภาพจำลองเส้นทางการบุกโจมตียูเครนของรัสเซีย

ข้อเรียกร้องของรัสเซียคือ ให้นาโตไม่อนุญาตให้ยูเครนเป็นสมาชิกโดยถาวร รวมถึงถอนกำลังทหารที่กระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมนาโตหลังปี 1997 รวม 14 ประเทศ ด้วยเหตุผลว่านี่คือแผนการปิดล้อมรัสเซียของชาติตะวันตก แน่นอนว่าชาติตะวันตกและนาโตเองไม่มีทีท่าตอบรับข้อเรียกร้องดักล่าว รัสเซียจึงยังคงส่งกำลังเข้ามาประชิดชายแดนต่อไป

แต่นั่นทำให้บรรดาชาติสมาชิกภายในนาโตไม่มีทางอยู่เฉย สหรัฐฯกล่าวเตือนว่าหากรัสเซียรุกรานยูเครนจริง พวกเขาต้องชดใช้อย่างสาสม มีการสั่งเตรียมพร้อมทหาร 8,500 นายไว้รองรับ หากกรณีเกิดสงครามภายในยูเครน รวมถึงอพยพทั้งนักการทูตและพลเมืองของตัวเองออกจากยูเครน เช่นเดียวกับบรรดาชาติตะวันตกอื่นๆ

 ปัญหาคือชาติสมาชิกภายในนาโตเองก็ไม่ได้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมากนัก นานาประเทศส่งยุทโธปกรณ์ให้ความช่วยเหลือยูเครน เตรียมพร้อมสำหรับการปะทะ แต่เยอรมนีที่เป็นอีกหนึ่งชาติสำคัญในยุโรปกลับไม่เห็นด้วยในแนวทางนี้ ไม่ได้ให้ความสนับสนุนด้านยุทโธปกรณ์แก่ยูเครนนักนอกจากด้านการแพทย์ เห็นได้ชัดว่าภายในนาโตเองก็ไม่ได้เห็นด้วยในการเปิดศึกกับรัสเซียเสียทีเดียว

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้มาจากท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย ด้วยยุโรปยังต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติและพลังงานจากรัสเซียอยู่มาก หากรัสเซียยุติการจ่ายพลังงานเป็นไปได้ว่าประเทศในยุโรปที่เป็นสมาชิกนาโตเกือบทั้งหมดจะขาดแคลนพลังงาน อาจทำให้พวกเขาไม่สามารถข้ามผ่านฤดูหนาวไปได้ เป็นเหตุให้บางประเทศไม่อยากขัดแย้งกับรัสเซียอย่างเปิดเผยนัก

แม้แนวโน้มชาติสมาชิกนาโตจะเห็นไปทางเดียวกันในการให้ความช่วยเหลือยูเครน แต่ก็น่ากังวลไปพร้อมกันว่าหากสงครามปะทุขึ้นทิศทางของโลกจะเป็นแบบไหน เช่นเดียวกับภูมิภาคตะวันตกของยูเครนที่มีการแยกตัวของกลุ่มกบฏออกมาเป็น สาธารณรัฐประชาชนโดเนตส์ และ สาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ ซึ่งรัสเซียให้การรับรองความเป็นเอกราชไป

กระนั้นใช่ว่ายูเครนจะไม่มีความหวังเสียทีเดียว เมื่อมีความพยายามในการเจรจาจากหลายประเทศ ทั้งประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส และ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ จากเยอรมนี สองผู้นำต่างเดินทางไปเยือนรัสเซียเพื่อเจรจาพูดคุยหาข้อตกลงร่วมกัน เช่นเดียวกับท่าทีของรัสเซียที่ย้ำชัดว่าพวกเขาเองก็ไม่ได้ต้องการสงคราม

แม้เราจะไม่แน่ใจว่าการเจรจาพูดคุยครั้งนี้จะช่วยเหลือประชาชนของยูเครนคลี่คลายความขัดแย้งได้แค่ไหนก็ตาม

——————–

ที่มา

  • https://www.matichon.co.th/columnists/news_276323
  • https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc2715e39c306000a364?cate=5d5bcb4e15e39c3060006872
  • https://www.aljazeera.com/news/2022/2/13/timeline-how-the-ukraine-russia-crisis-reached-the-brink-of-war
  • https://www.npr.org/2022/02/12/1080205477/history-ukraine-russia
  • https://www.thaipost.net/one-newspaper/86421/
  • https://www.dailynews.co.th/news/771682/
 
 
Tags: Burapanewsความขัดแย้งนาโตยูเครนรัสเซีย
Previous Post

เครื่องบินขับไล่ เอฟ-5 ของอิหร่านตกในเขตชุมชนเมืองทาบริซ เสียชีวิต 3 ราย

Next Post

ผู้เชี่ยวชาญชี้ มกุฏราชกุมารของซาอุดีอาระเบีย มีพฤติกรรมเป็นโรคจิตชนิดหนึ่ง

Next Post
มกุฏราชกุมารซาอุดีอาระเบีย

ผู้เชี่ยวชาญชี้ มกุฏราชกุมารของซาอุดีอาระเบีย มีพฤติกรรมเป็นโรคจิตชนิดหนึ่ง

ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

RECOMMENDED NEWS

รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ

รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ตำหนิรัสเซียใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นโล่กำบังการโจมตีของยูเครน

8 เดือน ago
หน่วยงานด้านผู้ลี้ภัยของนอร์เวย์

หน่วยงานด้านผู้ลี้ภัยของนอร์เวย์ เตือนยุโรปอาจต้องเปิดรับผู้อพยพจากยูเครนอีกนับแสนคน

4 เดือน ago
ทางการตุรกี

ทางการตุรกี เผย เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ต้องสงสัย 46 คน เหตุระเบิดกลางนครอิสตันบูล

5 เดือน ago
กระทรวงต่างประเทศไต้หวัน

กระทรวงต่างประเทศไต้หวัน เผย ไต้หวันส่งเวชภัณฑ์ 27 ตัน ไปยังยูเครน

1 ปี ago

BROWSE BY CATEGORIES

  • Uncategorized
  • กีฬา
  • ตะวันออกกลาง
  • ต่างประเทศ
  • ท่องเที่ยว
  • ยูโรป
  • ลาตินอเมริกา
  • วิเคราะห์ข่าว
  • สหรัฐ
  • สุขภาพ
  • เทคโนโลยี
  • เอเชียแปซิฟิก
  • แอฟริกา
  • ในประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์

BROWSE BY TOPICS

Burapanews การเมือง จีน ซาอุดีอาระเบีย ซีเรีย ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ตุรกี ต่างประเทศ นายกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี นาโต ประเทศไทย ปาเลสไตน์ ปูติน ฝรั่งเศส พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยุโรป ยูเครน รัสเซีย ศาลรัฐธรรมนูญ สงคราม สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ สำนักข่าวต่างประเทศ อังกฤษ อินโดนีเซีย อิรัก อิสราเอล อิสลาม อิหร่าน อเมริกา เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ เซเลนสกี เมียนมา เยเมน เอเชียแปซิฟิก โควิด โอมิครอน ในประเทศ ไต้หวัน ไทย ไบเดน

POPULAR NEWS

  • ประธานาธิบดียูเครน

    ประธานาธิบดียูเครน พ้อชาติตะวันตกและนาโต้ ปล่อยให้ยูเครนสู้อย่างเดียวดาย

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • ทำความรู้จัก กองพันนีโอนาซีของยูเครน กัน

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • ด่วน! กองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน แถลงการณ์ยอมรับอยู่เบื้องหลังการโจมตีฐานที่มั่นของมอสสาดของอิสราเอลในอิรัก

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • แหล่งข่าวซีเรีย แฉ สหรัฐฯปล่อยนักโทษไอซิสจากซีเรียไปร่วมสู้รบในยูเครน

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • ประวัติวันลอยกระทง กับวิถีใหม่ของประเพณีเก่า

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
Burapanews

Burapa news ขอเป็นทางเลือกใหม่ในการเข้าถึงข่าวสาร ทั่วโลก จากสำนักข่าวในประเทศและต่างประเทศ ที่เชื่อถือได้

Follow us on social media:

ข่าวล่าสุด

  • ทำเนียบขาวเปิดเผยว่า มีหลักฐานใหม่ที่ชี้ว่ารัสเซียกำลังมองหาลู่ทางนำเข้าอาวุธจากเกาหลีเหนือ
  • รัสเซีย ได้รับตำแหน่งประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
  • ผู้นำยูเครน วิพากษ์วิจารณ์กลไกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หลังรัสเซียนั่งประธานคณะมนตรีความมั่นคง

ข่าวล่าสุด

ทำเนียบขาวเปิดเผยว่า

ทำเนียบขาวเปิดเผยว่า มีหลักฐานใหม่ที่ชี้ว่ารัสเซียกำลังมองหาลู่ทางนำเข้าอาวุธจากเกาหลีเหนือ

เมษายน 2, 2023
รัสเซีย

รัสเซีย ได้รับตำแหน่งประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

เมษายน 2, 2023
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ในประเทศ
  • ต่างประเทศ
    • ตะวันออกกลาง
    • ยูโรป
    • ลาตินอเมริกา
    • สหรัฐ
    • เอเชียแปซิฟิก
    • แอฟริกา
  • เทคโนโลยี
  • กีฬา
  • วิเคราะห์ข่าว
  • ไลฟ์สไตล์