Burapanews
  • หน้าหลัก
  • ในประเทศ
  • ต่างประเทศ
    • ตะวันออกกลาง
    • ยูโรป
    • ลาตินอเมริกา
    • สหรัฐ
    • เอเชียแปซิฟิก
    • แอฟริกา
  • เทคโนโลยี
  • กีฬา
  • วิเคราะห์ข่าว
  • ไลฟ์สไตล์
No Result
View All Result
Burapanews
Home วิเคราะห์ข่าว

วิเคราะห์ ประเด็นนโยบายสหรัฐที่มีต่อภูมิภาคอาเซียนและอินโด-แปซิฟิก

มกราคม 11, 2022
in วิเคราะห์ข่าว
0
สหรัฐ

สหรัฐ

0
SHARES
14
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

Related posts

Nagorno-Karabakh

เปิดข้อเท็จจริงกรณีพิพาทดินแดนนากอร์โน-คาราบัค เหตุขัดแย้งระหว่างอาเซอร์ไบจานและอาร์เมเนีย

ตุลาคม 1, 2023
อิหร่าน

บทความวิเคราะห์วิธีการยุติความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างอิหร่านและอเมริกาในตะวันออกกลาง

กันยายน 23, 2023

วิเคราะห์ ประเด็นนโยบายสหรัฐที่มีต่อภูมิภาคอาเซียนและอินโด-แปซิฟิก

 

Burapanews  สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2021 แอนโทนี บลิงเคน (Antony Blinken) รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนอาเซียน กล่าวสุนทรพจน์นโยบายสหรัฐต่ออาเซียนและอินโด-แปซิฟิก ย้ำว่า รัฐบาลสหรัฐให้ความสำคัญต่ออินโด-แปซิฟิกเพราะมีขนาดเศรษฐกิจถึง 60% ของโลก เป็นภูมิภาคที่โตเร็วที่สุดในขณะนี้ 5 ปีที่ผ่านมา 2 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลกที่โตขึ้นมาจากที่นี่ ครอบคลุมประชากรครึ่งโลก

สหรัฐมีประวัติศาสตร์ร่วมและเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคนี้ คู่ค้าครึ่งหนึ่งอยู่ที่นี่ สินค้าสหรัฐเกือบ 1 ใน 3 ส่งมาขายที่นี่ หวังร่วมมือกับประเทศต่างๆ เพื่อสันติภาพ ความมั่นคง ภูมิภาคที่เปิดกว้างและเสรีกว่าเดิม กำหนดแนวทางทำงานร่วมกับภูมิภาคนี้ใน 5 ด้านประเด็นสำคัญ ได้แก่

ประการแรก อินโด-แปซิฟิกเปิดกว้างและเสรีกว่าเดิม

กำหนดนิยามชัดเจนว่าเปิดกว้างและเสรีหมายถึงอย่างไร โดยทั่วไปคือ สามารถเขียน พูด แสดงออก ไม่ว่าคุณคือใครหรือคิดอย่างไร เปิดรับความคิดข้อมูลใหม่จากต่างถิ่นต่างวัฒนธรรม เปิดให้วิพากษ์และเริ่มสิ่งใหม่ๆ ตั้งแต่ระดับปัจเจก ประเทศสามารถเลือกทางเดินและมิตรของตนเอง

หวังให้ปัญหาในภูมิภาคถูกจัดการโดยเปิดกว้างตามกฎเกณฑ์ที่โปร่งใสยุติธรรม สินค้าและประชาชนจะต้องสามารถขนส่งเดินทางข้ามประเทศได้โดยเสรี รวมถึงไซเบอร์สเปซ ทะเลหลวง

ต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน สนับสนุนองค์กรตรวจสอบ นักข่าวที่มุ่งเสนอข่าวแบบเจาะลึก (ที่ไม่ได้อยู่ในอเมริกา)

วิเคราะห์ :

เรื่องส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ต่อต้านคอร์รัปชัน สนับสนุนนักข่าว ฯลฯ เป็นแนวทางที่ประธานาธิบดีไบเดนประกาศในการประชุมสุดยอดประชาธิปไตย (Summit for Democracy) รัฐบาลสหรัฐตั้งงบประมาณอุดหนุนและช่วยเหลือด้านอื่นๆ

รัฐบาลสหรัฐจะต่อต้านบรรดาผู้นำประเทศที่ไม่เคารพสิทธิประชาชนของพวกเขา ดังเช่นกรณีเมียนมา (Burma) สหรัฐจะร่วมกับพันธมิตรกดดันรัฐบาลทหารเมียนมา นำเมียนมากลับมาสู่เส้นทางประชาธิปไตยอีกครั้ง อย่างไรก็ตามไม่ใช่การล้มล้างรัฐบาลประเทศใด เป็นการปกป้องให้ทุกประเทศเลือกเส้นทางของตนเอง ไม่ใช่การแข่งขันระหว่างสหรัฐกับจีน

พร้อมกันนี้จะสนับสนุนสื่อสารออนไลน์เสรี ต่อต้านผู้พยายามกีดกันออนไลน์เสรี วางระบบร่วมกับประเทศต่างๆ รวมถึงการพัฒนาเครือข่าย 5G 6G

เป้าหมายสุดท้ายคือ สร้างกติการ่วมเพื่อให้ภูมิภาคเปิดกว้างและเสรี ตรงข้ามกับจีนที่บิดเบือนตลาดเสรี อุดหนุนรัฐวิสาหกิจ

วิเคราะห์ :

เป้าหมายขั้นสุดท้ายที่ว่านี้ตีความได้ว่าคือการจัดระเบียบภูมิภาคของรัฐบาลสหรัฐนั่นเอง ที่มาจากการหารือร่วม ไม่ยึดแนวทางอาเซียนเป็นแกนกลางตามที่อาเซียนต้องการ

รัฐมนตรีบลิงเคนเยือนอาเซียน ตอกย้ำส่งเสริมเสรีประชาธิปไตยต่างแดนแบบลงลึกถึงองค์กร หน่วยงาน สื่อ จนถึงระดับปัจเจก เร่งพัวพันอาเซียนทุกด้านทุกมิติ.

ประการที่ 2 สัมพันธ์ใกล้ชิดยิ่งขึ้น

จะกระชับพันธมิตรญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์และไทย ตามสนธิสัญญา (ที่มีอยู่เดิม) จะพยายามรวมพันธมิตรเหล่านี้เข้าด้วยกัน

ยึดมั่นความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN centrality) ในความหมายจะร่วมมือด้วยโดยพิจารณาทั้งวิสัยทัศน์ของอาเซียนกับสหรัฐ อีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะเชิญผู้นำอาเซียนไปประชุมสุดยอดกับผู้นำอเมริกาเพื่อกระชับความสัมพันธ์และทำงานร่วมกัน

ท้ายที่สุดตั้งเป้าสร้างระบบพันธมิตรหุ้นส่วนที่เชื่อมโยงอินโด-แปซิฟิกเข้ากับภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะยุโรป ทั้งอียูกับนาโตต่างมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคนี้โดยตรง

วิพากษ์ :

พันธมิตรทางทหารระหว่างสหรัฐ-อังกฤษ-ออสเตรเลีย หรือ AUKUS ที่เริ่มเมื่อกลางเดือนกันยายนเป็นตัวอย่างดึงอังกฤษที่ไม่ใช่ประเทศในภูมิภาคเข้ามาในอินโด-แปซิฟิก มีข้อมูลหลายชิ้นชี้ว่ารัฐบาลสหรัฐหวังสร้างพันธมิตรความมั่นคงในย่านนี้ตามแบบพันธมิตรนาโต (NATO) แม้ความเป็นไปได้ต่ำแต่เป็นแนวคิดหนึ่งที่มีอยู่ การเชื่อมโยงเหล่านี้เป็นภาพระดับโลกของอเมริกา

ประการที่ 3 เพื่อความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน

สหรัฐได้ลงทุนกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ในภูมิภาคนี้และมีเสียงเรียกร้องให้ลงทุนเพิ่มอีก รัฐบาลไบเดนมีแผนวางกรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific economic framework) ที่ครอบคลุมเศรษฐกิจทุกประเภท สนับสนุนให้บริษัทเอกชนมาลงทุนที่นี่ ทั้งนี้กระทำโดยยึดค่านิยมของสหรัฐ เพราะหากไม่ทำเช่นนี้ผู้อื่นก็จะทำโดยค่านิยมของเขา ให้เป็นการค้าที่ยุติธรรมและฟื้นฟู (fair and resilient trade) สนับสนุน ASEAN Single Window ดูแลห่วงโซ่อุปทานที่ตอนนี้ต่างให้ความสำคัญเมื่อหน้ากากอนามัยกับไมโครชิปขาดตลาด

วิพากษ์ :

RCEP เป็นตัวอย่างที่สหรัฐไม่เข้าร่วมด้วยเหตุผลไม่เข้ามาตรฐานของตน (สังเกตว่าเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลียที่เป็นพันธมิตรสหรัฐเข้า RCEP) และควรศึกษาว่า fair and resilient trade ของไบเดนจะเหมือนหรือต่างจากสมัยทรัมป์ ดังที่รัฐบาลทรัมป์ขู่คว่ำบาตรทุกประเทศที่เกินดุลตน

สหรัฐสนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะท่าเรือ ถนนหนทาง ระบบสายส่งไฟฟ้า อินเทอร์เน็ต เหล่านี้เป็นระบบพื้นฐานของการค้าโลก เป็นโอกาสและความเจริญรุ่งเรือง รัฐบาลสหรัฐได้ยินเสียงจากภูมิภาคว่าโครงการไม่โปร่งใส มีการทุจริต สร้างจากบริษัทต่างชาติที่ใช้คนงานของตน กอบโกยทรัพยากร ทำลายสิ่งแวดล้อมและทำให้เป็นหนี้เป็นสิน

หลายประเทศอยากได้โครงการดีมีคุณภาพกว่านี้แต่เนื่องจากมูลค่าสูงเกินไปและเจอแรงกดดัน จึงต้องรับโครงการต่างชาติด้วยข้อตกลงที่เสียเปรียบ สหรัฐจะร่วมมือเพื่อสร้างโครงการคุณภาพสูงและตอนนี้กำลังทำอยู่

ล่าสุด สหรัฐ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่นร่วมกันสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาค กลุ่ม Quad ตั้งงบสนับสนุนการเงินเพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศต่างๆ ถึง 48,000 ล้านดอลลาร์ และกำลังหาหุ้นส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติม อีกไม่นานรัฐบาลสหรัฐจะนำ G7 เข้ามาลงทุนภูมิภาคนี้อีกมาก

ประการที่ 4 ฟื้นฟูอินโด-แปซิฟิก (resilient Indo-Pacific)

สหรัฐได้ส่งมอบวัคซีนโควิด-19 กว่า 300 ล้านโดสแก่ภูมิภาค ปีหน้าตั้งเป้าจะบริจาคให้โลกอีก 1,200 ล้านโดส จัดสรรงบประมาณช่วยเหลืออีก 2,800 ล้านดอลลาร์ด้วยน้ำใสจริงใจ ไม่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง และกำลังร่วมมือกับพันธมิตรโดยเฉพาะกลุ่ม Quad ในเรื่องนี้ ส่งเสริมเอกชนร่วมมือกันในนาม Global COVID Corps เพื่อสนับสนุนข้อมูลวิชาการ เครื่องมือ ระบบขนส่งวัคซีนแก่ประเทศกำลังพัฒนา

ในการสู้กับไวรัสจะรวมถึงการพัฒนาระบบสาธารณสุขที่สามารถป้องกัน ตรวจจับและตอบสนองสถานการณ์ได้ดีกว่าเดิม โครงการ U.S.-ASEAN Health Futures Initiative ตั้งงบประมาณช่วยเหลือ 40 ล้านดอลลาร์ เปิดสำนักงาน U.S. Centers for Disease Control and Prevention ที่ฮานอย

ร่วมกันแก้วิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในโครงการ U.S.-ASEAN Climate Futures initiative ส่งเสริมพลังงานสะอาดที่จะช่วยสร้างงานอีกมาก

ประการที่ 5 ส่งเสริมความมั่นคงอินโด-แปซิฟิก

รวมถึงภัยที่คุกคามประชาชนโดยตรง เช่น ความรุนแรงจากลัทธิสุดโต่ง การประมงผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ ใช้ยุทธศาสตร์ประสานเครื่องมือทุกด้านไม่ว่าจะการทูต การทหาร ข่าวกรอง

การพัฒนาให้เข้มแข็งขึ้นคือหนทางรักษาสันติภาพ รัฐบาลสหรัฐยึดแนวทางนี้เรื่อยมา สหรัฐไม่ต้องการความขัดแย้ง จึงดำเนินการทางการทูตอย่างจริงจังกับเกาหลีเหนือ เป้าหมายสุดท้ายคือให้คาบสมุทรเกาหลีปลอดนิวเคลียร์ และจะให้ความสำคัญกับทุกเรื่องร้ายแรงก่อนกลายเป็นหายนะ ดังที่อดีตประธานาธิบดีเคนเนดีกล่าวว่า “เป้าหมายพื้นฐานของเรายังคงเดิม คือ โลกแห่งสันติ ประชาคมของรัฐที่เสรีและเป็นไท เสรีที่จะเลือกอนาคตของตนกับระบอบของตน ตราบเท่าที่ไม่คุกคามเสรีภาพของประเทศอื่น”

วิเคราะห์ :

อาจตีความว่าประธานาธิบดีเคนเนดีกล่าวอย่างแหลมคมว่า ทุกชาติสามารถเลือกทางของตนเอง ตราบเท่าที่เส้นทางที่เลือกไม่คุกคามสหรัฐและสหรัฐได้สิ่งที่ตนต้องการ ดังนั้นก่อนตัดสินใจควรรอบคอบและรู้ว่าควรทำอย่างไร

บทความโดย ชาญชัย คุ้มปัญญา เจ้าของคอลัมน์ สถานการณ์โลก

Tags: Burapanewsสหรัฐอาเซียนอินโด-แปซิฟิกไบเดน
Previous Post

พลเอกประยุทธ์ ห่วงเด็กเรียนออนไลน์ สั่งให้กระทรวงดีอีเอส เตรียมช่วยเหลือด้านอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมและทั่วถึง

Next Post

เกาะสมุย ติดอันดับ 7 ของโลก แซงเกาะบาลีของอินโดนีเซีย เกาะน่าท่องเที่ยวยอดเยี่ยมปี 64

Next Post
เกาะสมุย

เกาะสมุย ติดอันดับ 7 ของโลก แซงเกาะบาลีของอินโดนีเซีย เกาะน่าท่องเที่ยวยอดเยี่ยมปี 64

ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

RECOMMENDED NEWS

ชาวยูเครน

ชาวยูเครนในไทย รวมตัวชุมนุมต่อต้านสงครามอย่างต่อเนื่องในยูเครน เรียกร้องให้ทั่วโลกออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย

2 ปี ago

อิหร่านด่าสหรัฐฯ หลังมะกันส่งเรือดำน้ำขีปนาวุธร่อนเข้าตะวันออกกลาง

6 เดือน ago
โฆษกต่างประเทศจีน

โฆษกต่างประเทศจีน ชี้ จีนไม่เห็นด้วยในการมีปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างสหรัฐฯกับไต้หวัน

1 ปี ago
อดีตรอง ผอ.ข่าวกรอง

อดีตรอง ผอ.ข่าวกรอง ชี้ สงครามยูเครนใกล้จบ หากยอมรับข้อเสนอของรัสเซีย

2 ปี ago

BROWSE BY CATEGORIES

  • Uncategorized
  • กีฬา
  • ตะวันออกกลาง
  • ต่างประเทศ
  • ท่องเที่ยว
  • ยูโรป
  • ลาตินอเมริกา
  • วิเคราะห์ข่าว
  • สหรัฐ
  • สุขภาพ
  • เทคโนโลยี
  • เอเชียแปซิฟิก
  • แอฟริกา
  • ในประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์

BROWSE BY TOPICS

Burapanews การเมือง จีน ซาอุดีอาระเบีย ซีเรีย ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ตุรกี ต่างประเทศ นายกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี นาโต ประเทศไทย ปาเลสไตน์ ปูติน ผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ฝรั่งเศส พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยุโรป ยูเครน รัสเซีย ศาลรัฐธรรมนูญ สงคราม สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ สำนักข่าวต่างประเทศ อังกฤษ อินโดนีเซีย อิรัก อิสราเอล อิสลาม อิหร่าน อเมริกา เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ เซเลนสกี เมียนมา เยเมน โควิด โอมิครอน ในประเทศ ไต้หวัน ไทย ไบเดน

POPULAR NEWS

  • กองพันนีโอนาซี

    ทำความรู้จัก กองพันนีโอนาซีของยูเครน กัน

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • ประวัติวันลอยกระทง กับวิถีใหม่ของประเพณีเก่า

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • ประธานาธิบดียูเครน พ้อชาติตะวันตกและนาโต้ ปล่อยให้ยูเครนสู้อย่างเดียวดาย

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • กองทัพรัสเซีย แต่งตั้งนายพล โวร์นิคอฟ ผู้บัญชาการรบในซีเรีย เป็นผู้บัญชาการรบในยูเครน

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
  • ด่วน! กองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน แถลงการณ์ยอมรับอยู่เบื้องหลังการโจมตีฐานที่มั่นของมอสสาดของอิสราเอลในอิรัก

    0 shares
    Share 0 Tweet 0
Burapanews

Burapa news ขอเป็นทางเลือกใหม่ในการเข้าถึงข่าวสาร ทั่วโลก จากสำนักข่าวในประเทศและต่างประเทศ ที่เชื่อถือได้

Follow us on social media:

ข่าวล่าสุด

  • เปิดข้อเท็จจริงกรณีพิพาทดินแดนนากอร์โน-คาราบัค เหตุขัดแย้งระหว่างอาเซอร์ไบจานและอาร์เมเนีย
  • อาเซอร์ไบจาน ปัดข้อกล่าวหาเรื่องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์เมเนียในดินแดนนากอร์โน-คาราบัค
  • อิหร่าน ปล่อยตัวดาวเทียมถ่ายภาพ นูร 3 (Noor 3) หลังก่อนหน้านี้ เปิดตัวสองดาวเทียม นูร 1และนูร 2 ได้สำเร็จ

ข่าวล่าสุด

Nagorno-Karabakh

เปิดข้อเท็จจริงกรณีพิพาทดินแดนนากอร์โน-คาราบัค เหตุขัดแย้งระหว่างอาเซอร์ไบจานและอาร์เมเนีย

ตุลาคม 1, 2023
อาเซอร์ไบจาน

อาเซอร์ไบจาน ปัดข้อกล่าวหาเรื่องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์เมเนียในดินแดนนากอร์โน-คาราบัค

ตุลาคม 1, 2023
No Result
View All Result
  • หน้าหลัก
  • ในประเทศ
  • ต่างประเทศ
    • ตะวันออกกลาง
    • ยูโรป
    • ลาตินอเมริกา
    • สหรัฐ
    • เอเชียแปซิฟิก
    • แอฟริกา
  • เทคโนโลยี
  • กีฬา
  • วิเคราะห์ข่าว
  • ไลฟ์สไตล์