เรือพระสุพรรณหงส์มาจากไหน
ช่วงนี้เขมรเที่ยวเคลมโน้นนี่นั่นมาจนถึง “เรือพระสุพรรณหงส์” ว่ามาจากภาพแกะสลักที่นครวัด ไทยเราเอามาจากเขมร!
นี่ถ้าพระเจ้าสูรยวรมันที่ ๒ ผู้สร้างนครวัด ล่วงรู้ว่าลูกหลานเขมรมาคิดเยี่ยงนี่ คงอุทานออกมาจากพระโอษฐ์ว่า “พวกเอ็งนี่ช่างไม่รู้อะไรเลย”
อันที่จริงแล้วเรือพระสุพรรณหงส์แสดงสัญลักษณ์แหล่งที่มาที่ไปอย่างชัดเจน
เพราะเมื่อเป็นเรือยาวมีโขลนหัวเรือเป็นรูปหงส์ มีสถานะสูงส่งเป็นเรือของพระเจ้าแผ่นดินในโลกตะวันออก
พระพรหมผู้ทรงหงส์เป็นพระราชพาหนะคือ เทพเจ้าสูงสุด 1 ใน 3 ที่เราเรียกรวมว่า “ตรีมูรติ”
เรือรูปหงส์จึงเป็นเรือที่ได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อในศาสนาฮินดู
ดังนั้นโขลนหัวเรือรูปหงส์จึงมีที่มาจาก อินเดีย และแพร่หลายมาสู่ดินแดนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เมื่อมาถึงบ้านเมืองในแถบนี้ก็นำมาดัดแปลงแก้ไขให้มีรูปลักษณ์ตามแบบอย่างงานศิลปะท้องถิ่นนั้นๆถือเป็นงานระดับ “ช่างหลวง” เพราะเป็นเรือเจ้า
เมื่อส่งอิทธิพลมาถึงเขมรในรูปวรรณกรรม “รามายณะ” จึงมีภาพจินตนาการแกะสลักรูปโขลนหัวเรืออย่างที่เขมรอ้างอธิบายอยู่ในภาพสลักหน้าบันที่นครวัด มีรูปลักษณะเป็นไปตามงานศิลปะเขมร แต่โขลนหัวเรือรูปหงส์เขมรมีสิ่งที่ไม่เหมือนกับเรือพระสุพรรณหงศ์อย่างไทย กล่าวคือ ไม่มี “พู่ห้อยที่ใช้ขนจามรีมาตบแต่ง”
เรือพระสุพรรณหงส์ของไทยเราปัจจุบันมีพู่ห้อย ตัวพู่ห้อยนั้นทำจากขนจามรี ประดับด้วยลวดลายต่างๆ ตบแต่งไปตลอดตัวลำเรือ แถมมีวรรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายมาอธิบายรองรับ
วรรณกรรมเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ในบทเห่เรือ รัชกาลพระเจ้าบรทโกศได้อธิบายเรือพระสุพรรณหงส์ไว้ว่า
๏ สุวรรณหงษ์ทรงภู่ห้อย
งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงษ์ทรงพรหมินทร์
ลินลาศเลื่อนเตือนตาชมฯ
ดังนั้นเรือพระสุพรรณหงส์ของไทยเรามาจากสมัยอยุธยามีลักษณะโดดเด่นที่เห็นได้ชัดกว่าเรือเขมร
เราประดับตบแต่งโขลนหัวเรือด้วยพู่ เมื่อทำจากขนตัวจามรีซึ่งเป็นสัตว์ท้องถิ่นในที่ราบสูงอย่างอินเดียเหนือ เนปาล หรืออย่างดินแดนในตะวันออกกลาง พู่จึงแสดงแหล่งที่มาของวัฒนธรรมโขลนหัวเรือรูปสัตว์เช่นกัน
หลักฐานจากภาพสีขุนในศตวรรษที่ 16 แสดงให้เห็นเรือร
บโขลนหัวเรือเป็นรูปหงส์ทรงพู่ห้อยคล้ายคลึงกับไทย เรือรบในราชวงศ์มูกอลของอินเดีย
เป็นไปได้อย่างมากที่ไทยเราจะรับเอาโขลนหัวเรือรูปหงส์
มาจากอินเดียแล้วตบแต่งให้เป็นของไทย แต่ไม่ใช่มาจากเขมรแน่
มีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่เขมรยังเข้าใจผิดอีกมาก!