อินเดียขยายแสนยานุภาพกองทัพ คานอิทธิพลจีนในอินโด-แปซิฟิก
อินเดียได้ประจำการเรือบรรทุกเครื่องบินที่ผลิตเองลำแรกไปแล้ว อันเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการพัฒนาแสนยานุภาพทางทะเลของตนเอง เพื่อคานอิทธิพลจีน
เรือ ไอเอ็นเอส วิกรานต์ ซึ่งเป็นคำในภาษาสันสกฤต มีความหมายว่า “ทรงพลัง” หรือ “กล้าหาญ” ถือเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่มีขนาดใหญ่สุดเป็นอันดับสอง ที่อินเดียนำมาประจำการ โดยลำแรกคือเรือไอเอ็นเอส วิกรมดิษฐ์ ซึ่งเป็นเรือที่ซื้อมาจากรัสเซียในปี 2004
เรือทั้งสองลำนั้นถูกนำมาประจำการเพื่อปกป้องมหาสมุทรอินเดียและอ่าวเบงกอล
ำหรับเรือไอเอ็นเอส วิกรานต์นั้น เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่อินเดียสร้างเองลำแรก เพื่อรับมือกับจีนซึ่งมีกองเรือรบบรรทุกเครื่องบินขนาดใหญ่กว่าอินเดียมาก
เรือไอเอ็นเอส วิกรานต์ นั้นออกแบบโดยกองทัพเรืออินเดีย และสร้างขึ้นที่อู่ต่อเรือโคชิน ทางตอนใต้ของประเทศ มีความยาว 262 เมตร
เรือไอเอ็นเอส วิกรานต์นี้ เป็นเรือรบลำใหญ่สุดที่อินเดียเคยสร้างมา สามารถบรรทุกลูกเรือได้ 1,600 คน และเครื่องบิน 30 ลำ มีระวางขับ 47,400 ตัน และจะเข้าประจำการอย่างเต็มรูปแบบในช่วงปลายปี 2023 หลังเสร็จสิ้นการทดสอบนำเครื่องบิน MiG-29K ลงจอดบนเรือได้
มื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดีย ได้ไปเป็นประธานในพิธีประจำการเรือลำดังกล่าว ในวาระครบรอบ 75 การเป็นเอกราชจากอังกฤษของอินเดียด้วย โดยเขากล่าวว่า เรือลำนี้เป็นมากกว่าการเสริมแสนยานุภาพทางเรือของอินเดีย แต่ยังแน้นย้ำความสำคัญที่อินเดียหลายเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศของโลก ที่มีโครงการผลิตเรือบรรทุกเครื่องบินได้ด้วยต้นเอง
เขากล่าวว่า นี่จึงเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์และเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ เป็นตัวอย่างของการผลักดันของรัฐบาลที่จะทำให้ภาคกลาโหมของอินเดียนั้นพึ่งพาตนเองได้
นอกจากนี้ อินเดียมีแผนที่จะนำเครื่องบินขับไล่หลายสิบลำมาประจำการที่เรือลำนี้ โดยกำลังพิจารณาเครื่องบินขับไล่ Rafale-M จากฝรั่งเศส และเครื่องบินขับไล่ F/A-18 Block III Super Hornet ของบริษัทโบอิ้งอยู่
ทั้งนี้ ส่วนประกอบมากกว่า 75% ของเรือไอเอ็นเอส วิกรานต์นั้น ชิ้นส่วนที่จัดหาได้ในประเทศ โดยมีบริษัทอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่หลายบริษัท และธุรกิจขนาดเล็กมากกว่า 100 บริษัท ที่มีส่วนร่วมในการจัดหาชิ้นส่วนและเครื่องยนต์ให้
อย่างไรก็ตาม การผลิตเรือลำนี้ล่าช้าไปราวหกปี ทำให้ราคาเพิ่มขึ้น 6 เท่าเช่นกัน ไปอยู่ที่ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 9 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว
องทัพอินเดียมีบุคลากรราว 1.38 ล้านคน โดยส่วนมาก มีการประจำการทหารตามแนวชายแดนติดปากีสถานและจีน ซึ่งเป็นสองชาติเพื่อนบ้านที่แข่งขันกัน และต่างมีอาวุธนิวเคลียร์กันทั้งหมด
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนได้ขยายแสนยานุภาพมาทางมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิกตะวันตกมากขึ้น โดยในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เรือกองทำเรือจีน ได้จอดเทียบท่าที่ศรีลังกา และทำให้อินเดียไม่พอใจ โดยอ้างความกังวลด้านความมั่นคง เพราะเป็นการมาแวะจอดใกล้ชายฝั่งของอินเดีย
ความกังวลของอินเดียเกี่ยวกับอิทธิพลของจีนในภูมิภาค ทำให้เมื่อปีที่แล้ว กองทัพเรืออินเดีย ส่งเรือรบ 4 ลำไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทะเลจีนใต้ และอินโดแปซิก เพื่อร่วมซ้อมรบกับกลุ่มจตุภาคีที่เรียกว่า Quad ซึ่งมีสมาชิกคือ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และอินเดีย
ขณะที่ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โมดีกล่าวว่า อินเดียเพิกเฉยความกังวลในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย มานานเกินไปแล้ว วันนี้ พื้นที่เหล่านี้ คือ ความสำคัญด้านกลาโหมอันใหญ่หลวงของประเทศ อินเดียกำลังทำงานในทุกทิศทางเพื่อเพิ่มงบประมาณสำหรับการเพิ่มแสนยานุภาพในกองทัพเรือ
กองทัพเรือ ภายใต้กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน หรือ มีชื่อย่อว่า PLAN มีการยกระดับให้ทันสมัยมากกว่า 10 ปีแล้ว ภายใต้ยุทธศาสตร์ “blue water force” หรือ ยุทธศาสตร์น่านน้ำทะเลลึก โดยตั้งเป้าสามารถปฏิบัติการได้ทั่วโลก ไม่จำกัดเฉพาะบริเวณใกล้จีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น ดังนั้น เรือบรรทุกเครื่องบิน จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับภารกิจนี้
ปัจจุบัน PLAN มีเรือทั้งหมด 355 ลำ ซึ่งรวมถึงเรือดำน้ำ และกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ คาดว่า กองเรือรบของจีนจะขยายไปถึง 420 ลำภายในปี 2025 และ 460 ลำ ภายในปี 2030
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จีนเพิ่งประจำการเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สาม ซึ่งคาดว่ามีการติดตั้งระบบปล่อยอากาศยานด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เหมือนกับระบบที่สหรัฐฯ ใช้ ในขณะที่เรือบรรทุกเครื่องบินขออินเดีย ยังใช้ระบบดั้งเดิมในการกล่อยอากาศยาน
สำหรับตอนนี้ กองเรือของอินเดียมีเรือบรรทุกเครื่องบินสองลำ เรือพิฆาต 10 ลำ เรือฟริเกต 12 ลำ และเรือคอร์เวตต์ 20 ลำ
ส่วนเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกที่อินเดียมี คือ เรือ ไอเอ็นเอส วิกรมดิษฐ์ สร้างขึ้นในยุคสหภาพโซเวียตในปี 1987 และประจำการในกองทพเรือโซเวียตภายใต้ชื่อ Admiral Gorshkov แต่ต่อมาถูดปลดประจำการในปี 1996 และอินเดียได้ซื้อเรือลำนี้ต่อจากรัสเซียในปี 2004 ด้วยราคา 2.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 84,000 ล้านบาท