เจาะไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์อิสราเอล ภาคที่สอง ตอนกำเนิดรัฐอิสราเอล
ปี 1897
ชาวออสเตรียเชื้อสายยิวนามว่า ธีโอดอร์ เฮิร์ตเซิล (Theodor Herzl) ได้ก่อตั้งขบวนการไซออนิสต์ (Zionist) องค์กรที่มีเป้าหมายสำคัญในการก่อตั้งรัฐของชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์
1917
ปฏิญญาบัลฟอร์ (Balfour Declaration) อังกฤษสนับสนุนขบวนการไซออนิสต์ในการก่อตั้งรัฐชาวยิวในปาเลสไตน์
1918
ดินแดนของจักรวรรดิออตโตมันในภูมิภาคตะวันออกกลางตกอยู่ภายใต้การยึดครองของอังกฤษและฝรั่งเศส โดยดินแดนปาเลสไตน์อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษในสถานะรัฐอารักขา
ทศวรรษที่ 1920
ชาวยิวเริ่มอพยพเข้าไปในดินแดนปาเลสไตน์ ก่อให้เกิดปัญหากระทบกระทั่งกับชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ก่อนหน้านั้น
ทศวรรษที่ 1930
ปัญหาระหว่างชาวยิวกับชาวปาเลสไตน์เริ่มลุกลามบานปลายมากยิ่งขึ้น ทางการอังกฤษพยายามเข้ามาไกล่เกลี่ย และออกนโยบายจำกัดจำนวนของชาวยิวที่จะอพยพเข้ามาในปาเลสไตน์
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (1939-1945)
ชาวยิวที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปถูกนาซีเยอรมันจับเข้าค่ายกักกันและถูกสังหาร เกิดเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว (Holocaust) ที่ทำให้มีชาวยิวล้มตายมากกว่า 6 ล้านคน
1945
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ชาวยิวนับล้านคนที่รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้เดินทางเข้าไปในปาเลสไตน์ ปัญหาระหว่างชาวยิวกับชาวปาเลสไตน์เกิดขึ้นอีกครั้ง
1947
ทางการอังกฤษไม่สามารถยุติความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายได้ อังกฤษจึงถอนตัวออกจากปาเลสไตน์ และนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อทางสหประชาชาติเพื่อให้เป็นผู้แก้ไขปัญหา
สุดท้าย สหประชาชาติก็มีมติให้แบ่งดินแดนของปาเลสไตน์ออกเป็น 2 ส่วนคือ ดินแดนของชาวยิวกับดินแดนของชาวปาเลสไตน์ โดยกรุงเยรูซาเล็มจะอยู่ภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ
1948
วันที่ 14 พฤษภาคม ดินแดนของชาวยิวในปาเลสไตน์ประกาศก่อตั้งรัฐอิสราเอล (State of Israel) โดยมี เดวิด เบนกูเรียน (David Ben Gurian) เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอล
การก่อตั้งประเทศอิสราเอล สร้างความไม่พอใจเป็นอย่างมากให้กับกลุ่มประเทศอาหรับ ดังนั้นกลุ่มประเทศอาหรับซึ่งประกอบไปด้วย อียิปต์, ซีเรีย, จอร์แดน, เลบานอน และอิรัก จึงได้ก่อตั้งสันนิบาตอาหรับ (League of Arab) เพื่อต่อต้านอิสราเอล
1948-1949
สันนิบาตอาหรับส่งกองทัพบุกโจมตีอิสราเอล เกิดเป็นสงครามอาหรับ-อิสราเอลครั้งที่ 1 ปรากฏว่าอิสราเอล (ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ) สามารถเอาชนะกองทัพของสันนิบาตอาหรับได้
แม้ว่าสันนิบาตอาหรับจะเป็นฝ่ายแพ้สงคราม แต่สันนิบาตอาหรับก็สามารถยึดครองดินแดนบางส่วนของอิสราเอลได้
โดยอียิปต์เข้ายึดครองดินแดนที่เรียกว่า ‘ฉนวนกาซ่า’ (Gaza Strip) ส่วนจอร์แดนก็เข้ายึดครองดินแดน ‘เวสต์แบงก์’ (West Bank)
นอกจากนี้กรุงเยรูซาเล็มยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ เยรูซาเล็มตะวันตกเป็นของอิสราเอล และเยรูซาเล็มตะวันออกเป็นของจอร์แดน
ผลของสงครามในครั้งนี้ทำให้ชาวปาเลสไตน์นับแสนคนต้องอพยพออกจากดินแดนปาเลสไตน์ที่บัดนี้กลายเป็นของอิสราเอล ไปยังดินแดนประเทศอาหรับรอบ ๆ ข้างแทน 1956
เกิดวิกฤตการณ์คลองสุเอซ (Suez Crisis) หรือสงครามอาหรับ-อิสราเอลครั้งที่ 2 อังกฤษและฝรั่งเศสสนับสนุนอิสราเอลในการทำสงครามกับอียิปต์ แต่ชัยชนะในสงครามตกเป็นของอียิปต์
1964
ยัสเซอร์ อัล-อาราฟัต (Yasser al-Arafat) ผู้นำของชาวปาเลสไตน์ก่อตั้งองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์หรือขบวนการ PLO เพื่อต่อสู้กับอิสราเอล และทวงคืนดินแดนปาเลสไตน์จากชาวยิว
No Result
View All Result