บทความวิเคราะห์วิธีการยุติความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างอิหร่านและอเมริกาในตะวันออกกลาง
บรรดานักวิเคราะห์การเมืองระหว่างประเทศ ให้ข้อเสนอแนะว่า ด้วยวิธีการต่อไปนี้ จะทำให้เกิดสันติภาพในภูมิภาคตะวันออกกลาง และยุติความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างอิหร่าน และอเมริกา ในภูมิภาคนี้
หากเราจะกล่าวถึงทัศนะที่ตรงกันข้ามกันของอิหร่านและสหรัฐฯในกรณีภัยคุกคามและผลสะท้อนต่างๆที่เกี่ยวข้องกัน จะเห็นได้ว่า ในทัศนะของชาวอิหร่านคนหนึ่งที่คุณอาจจะไม่ยอมรับก็ได้ และยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ จะเป็นการช่วยเหลือทางด้านยุทธศาสตร์ของอเมริกาในภูมิภาคตะวันออกกลางได้อย่างดีทีเดียว
อันดับแรก เราจะต้องทำความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านและอเมริกาเสียก่อน อิหร่านและอเมริกานั้น มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดทางมิตรภาพและเชิงยุทธศาสตร์ นับตั้งแต่ ปี 1856 จนถึง 1953 ขณะที่เหล่าเยาวชนนักปฏิรูปชาวอิหร่านต่างได้รับอิทธิพลจากค่านิยมของอเมริกาในกรณีประชาธิปไตยและอำนาจอธิปไตย ชาวอเมริกันผู้หนึ่งชื่อว่า William Morgan Shuster เป็นผู้ปฏิรูประบบการเงินของอิหร่าน ในปี 1919 ในช่วงเวลานั้น อเมริกายืนหยัดในการเผชิญหน้ากับความพยายามของอังกฤษและรัสเซียในการยึดครองอิหร่านและปกป้องเสรีภาพและอำนาจอธิปไตยของอิหร่าน ชาวอเมริกันอีกคนหนึ่งชื่อว่า Howard Baskerville ชาวเมือง Nebraska สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Princeton เขาเดินทางมายังอิหร่านเพื่อทำการสอนและเขาเข้าร่วมในขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญและต่อสู้กับเผด็จการร่วมกับประชาชน จนกระทั่งเขาเสียชีวิต
แต่ในปี 1953 สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรได้ก่อรัฐประหารต่อต้านรัฐบาลของด็อกเตอร์มูฮัมหมัด มุซ็อดดิก เพื่อต้องการให้อังกฤษมีอำนาจเหนือน้ำมันของอิหร่านอย่างต่อเนื่อง ด้วยการปลดกษัตริย์ชาห์ที่เผด็จการออกจากอำนาจและสหรัฐฯเข้าครอบงำอิหร่านทางอ้อมเป็นระยะเวลาถึง 25 ปี ในการเผชิญหน้ากับสหภาพโซเวียต เพื่อบรรลุเป้าหมายของพวกเขา
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง อเมริกาได้สถาปนาระเบียบโลกใหม่ และก่อตั้งองค์กรระหว่างประเทศส่วนใหญ่และมีอำนาจครอบงำต่อพวกเขา หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง อเมริกามีส่วนเกี่ยวข้องกับวิกฤตการณ์โลกถึง 80% และตั้งแต่ปี 1946 ถึง 2000 อเมริกาได้แทรกแซงการเลือกตั้งอย่างน้อย 81 ครั้งในประเทศต่างๆ และในช่วงสงครามเย็น อเมริกาได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใน 70 ประเทศด้วยกัน
หากสหรัฐฯ ไม่นำนโยบายอันทะเยอทะยานเหล่านี้มาใช้ และไม่ได้แทรกแซงปฏิบัติการรัฐประหารในอิหร่าน และดำเนินตามนโยบายเดียวกันนี้เมื่อร้อยปีก่อน เพื่อปกป้องอธิปไตยและเอกราชของอิหร่าน ปัจจุบันทั้งสองประเทศก็มีความสัมพันธ์ที่ดีและเชิงยุทธศาสตร์ ชาวอเมริกันส่วนใหญ่นั้นจำไม่ได้ถึงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์จากรัฐประหารในอิหร่าน แต่พวกเขายังจำได้ดีถึงการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 และการจับตัวประกันของนักการทูตชาวอเมริกันในอิหร่าน จนในที่สุด พวกเขาลืมไปว่า การปฏิวัติในอิหร่านนั้นเกิดขึ้นเพราะเผด็จการของกษัตริย์ชาห์และการครอบงำของอเมริกาที่มีต่ออิหร่าน สิบสามวันหลังจากการเดินทางถึงสหรัฐอเมริกาของกษัตริย์ชาห์ เหล่าผู้ประท้วงในกรุงเตหะรานได้บุกโจมตีสถานทูตสหรัฐฯและจับนักการทูตชาวอเมริกัน 52 คนมาเป็นตัวประกัน
ในเวลาเดียวกัน เมื่อวันที่ 19 มกราคม 1981 อิหร่านและสหรัฐอเมริกาได้ลงนามในข้อตกลงแอลจีเรีย ตามที่มีการตกลงกันไว้ว่าอิหร่านจะปล่อยตัวประกันชาวอเมริกัน และสหรัฐฯ จะไม่เข้ามาแทรกแซงทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือพลเรือน เข้ามาแทรกแซงในอิหร่าน การปล่อยทรัพย์สินของอิหร่าน และการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน ในความเป็นจริงแล้ว ข้อตกลงระหว่างอิหร่านและแอลจีเรียในปี 1981 อาจเป็นรากฐานของความสัมพันธ์ครั้งใหม่ระหว่างอิหร่านและสหรัฐอเมริกา เพื่อให้ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ครั้งใหม่บนพื้นฐานของความเคารพซึ่งกันและกัน การไม่แทรกแซง และการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ทันทีที่ตัวประกันชาวอเมริกันได้รับการปล่อยตัว รัฐบาลวอชิงตันก็ละเมิดข้อตกลงแอลจีเรียและก็ทำให้ชาวอิหร่านทราบว่า การลงนามของสหรัฐ นั้นไม่สามารถไว้วางใจได้เป็นอันขาด
แต่เหตุการณ์ที่เจ็บปวดครั้งต่อไป คือ อเมริกาสนับสนุนการรุกรานอิหร่านของซัดดัม อเมริกาและยุโรปจัดหาเทคโนโลยีและวัสดุระเบิดเคมีให้กับซัดดัม ซึ่งส่งผลให้ชาวอิหร่านประมาณ 100,000 คนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ สหภาพโซเวียตและยุโรปยังจัดหาอาวุธธรรมดาที่ทันสมัยที่สุดให้กับซัดดัมอีกด้วย หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ เปิดเผยในรายงานว่า ระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่าน รัฐบาลของเรแกนและบุชได้มอบสารพิษทางเคมีและชีวภาพให้แก่ซัดดัม เดอะนิวยอร์กไทมส์ ยังเปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่อเมริกัน 60 นายแอบให้ข้อมูลแก่ซัดดัมเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการและความเคลื่อนไหวของกองกำลังอิหร่าน
จากการรุกรานของอิรักต่ออิหร่านและการสนับสนุนของมหาอำนาจโลกต่อผู้รุกรานทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งสามประการในกระบวนการปฏิวัติอิสลาม ดังนี้
1- กระบวนการเสริมกำลังทางทหารเกิดขึ้นในการปฏิวัติสังคมและการเมืองของอิหร่าน
2- กลยุทธ์ของอิหร่าน มุ่งไปสู่การได้รับอำนาจในการยับยั้งและการเสริมสร้างศักยภาพทางทหาร ซึ่งขณะนี้ เรากำลังเห็นถึงความสามารถด้านขีปนาวุธ โดรน และนิวเคลียร์ของอิหร่าน
3- เพื่อการจัดระเบียบและการจัดการกองกำลังอาสาสมัครในสงคราม กองทัพใหม่ ที่เรียกว่า กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม IRGCได้ถูกสร้างขึ้นในอิหร่าน
ปัจจุบันนี้ อเมริกา ถือว่า อำนาจและอิทธิพลของ IRGC ในอิหร่านและภูมิภาค ตลอดจนขีดความสามารถด้านการทหาร ขีปนาวุธ นิวเคลียร์ และโดรนของอิหร่าน อยู่ท่ามกลางความท้าทายและข้อกังวลต่างๆ
สองบทเรียนที่สำคัญก็คือ
1.หากอเมริกาไม่ยอมเป็นเหยื่อประชาธิปไตยในอิหร่านด้วยการก่อรัฐประหารในปี 1953 การปฏิวัติอิสลามในปี 1979 ก็คงไม่เกิดขึ้นในอิหร่าน และทั้งสองประเทศก็จะสามารถสานต่อความสัมพันธ์ที่ดีและเชิงยุทธศาสตร์เมื่อร้อยปีที่ผ่านมาได้
2- หากสหรัฐฯ ปฏิบัติตามพันธกรณีของตนในรูปแบบของข้อตกลงแอลจีเรียแล้ว ก็จะไม่สนับสนุนการรุกรานดินแดนอิหร่านของซัดดัมและการใช้อาวุธเคมี ทั้งสองประเทศก็สามารถฟื้นความสัมพันธ์ฉันมิตรในอดีตและเราได้เห็นตะวันออกกลางที่มีความแตกต่างออกไปในปัจจุบัน
ขณะนี้ เราจะชี้ให้เห็นถึงประเด็นนิวเคลียร์ของอิหร่านในปี 1957 สหรัฐอเมริกาได้วางรากฐานของนิวเคลียร์อิหร่านในกรอบของโครงการ “นิวเคลียร์เพื่อสันติภาพ” ในการเผชิญหน้ากับสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น โดยมีการสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เครื่องแรกในปี 1967 ในกรุงเตหะราน และแนะนำให้อิหร่านซื้อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวน 20 โรงจากอเมริกาภายในปี 1994 ขณะที่ CIA เตือนประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาว่า อิหร่านจะประสบความสำเร็จในการวางระเบิดนิวเคลียร์ภายในปี 1984 อย่างไรก็ตาม ในปี 1975 เจอรัลด์ ฟอร์ด ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ออกคำสั่งให้สนับสนุนศักยภาพทางนิวเคลียร์เต็มรูปแบบของอิหร่าน เพราะเขาถือว่า อิหร่านนั้นเป็นพันธมิตรของเขา
หลังจากการปฏิวัติอิสลาม อิหร่านตัดสินใจละทิ้งโครงการนิวเคลียร์ของชาห์ แต่สหรัฐฯ ยอมรับนโยบาย “เทคโนโลยีนิวเคลียร์เป็นศูนย์” เกี่ยวกับอิหร่านและเข้าร่วมกับยุโรปยกเลิกความร่วมมือทางนิวเคลียร์ทั้งหมดกับอิหร่าน และประเทศอื่นๆ ยังตัดความร่วมมือด้านนิวเคลียร์กับอิหร่านภายใต้แรงกดดันของอเมริกา สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุทำให้อิหร่านก้าวไปสู่การพึ่งพาตนเองทางนิวเคลียร์ ในปี 2002 อิหร่านประสบความสำเร็จในการเสริมสมรรถนะเพื่อผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และอเมริกาต้องเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับอิหร่านจากการเสริมสมรรถนะนิวเคลียร์เป็นศูนย์ เป็น “การไม่เสริมสมรรถนะ”
ประเทศในยุโรปทั้งสามประเทศ เริ่มการเจรจานิวเคลียร์กับอิหร่านในเดือนตุลาคม 2003 แต่การเจรจาเหล่านี้ได้รับความล้มเหลว เนื่องจากสหรัฐฯ ต่อต้านสิทธิของอิหร่านในการเพิ่มสมรรถนะ ในช่วงเวลานี้ ในปี 2005 อิหร่านได้ยื่นข้อเสนอเชิงสร้างสรรค์ซึ่งอเมริกาออกมาปฏิเสธ แต่ข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2015 นั้นมีพื้นฐานอยู่บนหลักการของข้อเสนอเดียวกัน อเมริกาและมหาอำนาจโลกได้เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรหลังปี 2005 อิหร่านก็ได้เพิ่มขีดความสามารถทางด้านนิวเคลียร์ของตนจนถึงระดับที่ เวลาหลบหนีด้วยนิวเคลียร์ของอิหร่านถึง 2-3 เดือนด้วยกัน เพื่อเป็นการตอบสนองต่อมาตรการคว่ำบาตรดังกล่าว
ในขณะเดียวกัน ขีดความสามารถนี้ก็ไม่ได้มาง่ายๆ ซึ่งในปี 2010 สหรัฐอเมริกาได้ร่วมมือกับอิสราเอลในการโจมตีทางไซเบอร์ต่อโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน และหลังจากนั้น ก็มีการก่อวินาศกรรมหลายครั้งในโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน และนักวิทยาศาสตร์ด้านนิวเคลียร์หลายคนถูกลอบสังหารในอิหร่าน และในทางกลับกัน อิหร่านพยายามที่จะดำเนินการตามขีดความสามารถทางไซเบอร์ จนถึงทุกวันนี้ อิหร่านกลายเป็นหนึ่งใน 10 ของมหาอำนาจทางไซเบอร์ของโลก ในรายงานปี 2023 สำนักงานข่าวกรองแห่งชาติของสหรัฐฯ ระบุว่า ขีดความสามารถทางไซเบอร์ของอิหร่าน เป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดต่อสหรัฐฯ และเหล่าพันธมิตร นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการกระทำและปฏิกิริยาในการโต้ตอบ
จนท้ายที่สุดแล้ว อเมริกาใช้เวลานานมาก กว่าที่จะเข้าใจถึงข้อเท็จจริง โอบามา ได้เปลี่ยนนโยบายนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ที่เกี่ยวกับอิหร่านจาก “การเสริมสมรรถนะเป็นศูนย์” เป็น “การระเบิดเป็นศูนย์” ซึ่งเป็นเป้าหมายของสนธิสัญญา NPT ดังนั้น ข้อตกลงนิวเคลียร์ JCPOA จึงได้ตกลงกันในเดือนกรกฎาคม2015 ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1- มีกลไกจากการตรวจสอบที่ครอบคลุมมากที่สุด
2- รวมถึงข้อจำกัดที่เกี่ยวกับความสามารถและระดับของการเสริมสมรรถนะและการผลิตน้ำมวลหนัก
3- ระยะเวลาหลบหนีนิวเคลียร์ของอิหร่าน เพิ่มขึ้นจากสอง สามเดือนถึงหนึ่งปี
แต่อเมริกายังคงฝ่าฝืนข้อตกลงนี้ ในขณะที่อิหร่านนั้นดำเนินการอย่างสมบูรณ์ ทรัมป์ประกาศถอนตัวจากข้อตกลง JCPOA ในเดือนพฤษภาคม 2018 และบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่านอีกครั้ง ดังนั้น อิหร่านจึงค่อยๆ ลดภาระผูกพันของตนในรูปแบบของข้อตกลง JCPOA เพิ่มการเสริมสมรรถนะถึง 60% และเพิ่มคลังวัสดุเสริมสมรรถนะระดับต่ำจาก 300 เป็น 4,000 กิโลกรัม ทรัมป์ได้วางแผนลอบสังหารนายพลผู้โด่งดังของอิหร่าน นายพลกอเซ็ม สุไลมานี และอิหร่านตอบโต้ด้วยการโจมตีฐานทัพสหรัฐฯ ในอิรักด้วยขีปนาวุธ ซึ่งเหตุการณ์นี้ ถือเป็นการโจมตีฐานทัพทหารอเมริกันในตะวันออกกลางเป็นครั้งแรก
การถอนตัวของทรัมป์ออกจากข้อตกลง JCPOA ถือเป็นการสูญเสียของอเมริกา เพราะว่า
1- หลังจากการถอนตัวของทรัมป์ ระยะเวลาหลบหนีนิวเคลียร์ของอิหร่านลดลงจากหนึ่งปี เหลือประมาณ 10 วัน
2- การคว่ำบาตรและการลอบสังหารของอิสราเอล ไม่สามารถป้องกันความก้าวหน้าทางนิวเคลียร์ของอิหร่านได้
3- ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอิหร่าน หันไปทางกลุ่มชาติตะวันออก โดยเฉพาะรัสเซียและจีน
4- อิหร่านได้สรุปกระบวนการในการเข้าเป็นสมาชิกของสนธิสัญญาเซี่ยงไฮ้ และกำลังดำเนินการเข้าร่วมกลุ่มประเทศ BRICS
5- อิหร่านส่งออกโดรนไปยังรัสเซีย และอเมริกาและยุโรป ด้วยข้ออ้างที่ว่ารัสเซียใช้โดรนเหล่านี้กับยูเครน
หากสหรัฐฯ ยังคงยึดมั่นต่อข้อตกลง JCPOA อย่างน้อยอิหร่านก็สามารถรักษาสมดุลในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับกลุ่มประเทศชาติตะวันออกและตะวันตกได้ ในขณะที่อิหร่านและสหรัฐฯ ก็สามารถหารือกันเกี่ยวกับประเด็นระดับภูมิภาคได้อีกด้วยเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีคำแนะนำหลักสามประการสำหรับผู้มีอำนาจตัดสินใจชาวอเมริกัน ดังนี้
1.การฟื้นตัวข้อตกลง JCPOA จากการประเมินของผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติของสหรัฐฯ ในปี 2013 อิหร่านนั้นไม่มีระเบิดนิวเคลียร์ และไม่ได้ตัดสินใจที่จะผลิตระเบิดนิวเคลียร์ ข้อเท็จจริงนี้ เกิดจากการที่อิหร่านต้องพึ่งพาข้อตกลงกับอเมริกา เพื่อยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรและการที่อเมริกาปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว แม้ในขณะนี้อิหร่านก็พร้อมที่จะรื้อฟื้นข้อตกลง JCPOA แต่ก็ไม่ชัดเจนว่า สถานการณ์นี้จะดำเนินตลอดไป การฟื้นตัวของข้อ JCPOA ถือเป็นหลักประกันที่เชื่อถือได้มากที่สุดถึงความอยู่รอดอย่างสันติของโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน
2.การดำเนินการในประเด็นของการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์และการสังหารหมู่ด้วยการมีเจตนาดี การมีอาวุธทำลายล้างสูง ถือเป็นภัยคุกคามต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของโลก ขณะที่เราได้เข้าสู่ยุคที่การครอบครอง การใช้ประโยชน์ และการข่มขู่ว่าจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ ถือเป็นปัญหาด้านความปลอดภัยที่สำคัญระดับโลก การได้รับความเสี่ยงในการเพิ่มความตึงเครียดทางนิวเคลียร์เพิ่มมากขึ้น และการลงโทษสำหรับผู้ใช้ประโยชน์ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อเมริกาและมหาอำนาจโลกควรเสริมสร้างระบอบการปลอดอาวุธโดยการละทิ้งสองมาตรฐาน ทั้งนี้ทุกคนต่างทราบดีว่า อิสราเอลเป็นประเทศเดียวในตะวันออกกลางที่มีระเบิดนิวเคลียร์ครอบครอง แต่อเมริกาก็ไม่ได้พูดอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้เลยสักคำ
3.การเข้ามาแก้ไขนโยบายตะวันออกกลางของชาติตะวันตก พื้นฐานของปัญหาระหว่างอิหร่านและอเมริกา ถือเป็นเรื่องเกี่ยวกับภูมิภาค ไม่ใช่ปัญหาทางนิวเคลียร์ ด้วยมาตรการทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร อเมริกาได้พยายามอย่างสุดความสามารถที่จะแยกอิหร่านให้่ออกจากภูมิภาคนี้ และในทางกลับกัน อิหร่านก็ยืนหยัดต่อต้านบทบาทและผลประโยชน์ของอเมริกาในภูมิภาคนี้มาโดยตลอด
ทั้งนี้ การเผชิญหน้ากันครั้งนี้ ถือเป็นเกมสำหรับอเมริกาและอิหร่าน ต่างได้รับความปราชัยด้วยกันทั้งคู่ในช่วงสี่สิบปีที่ผ่านมา ซึ่งในปีนี้ ตัวแทนของรัฐสภาอิหร่านได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า ประชากรอิหร่านที่อยู่ใต้เส้นขีดความยากจนมีจำนวนถึง 28 ล้านคน ซึ่งหมายความว่า ชาวอิหร่านมากกว่า 30% คน อยู่ต่ำกว่าเส้นขีดความยากจน ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการคว่ำบาตรของอเมริกาที่มีต่ออิหร่าน