มองฉากทัศน์สงครามระหว่างมหาอำนาจโลกที่มีต่อยูเรเชีย
นักวิเคราะห์ทางภูมิรัฐศาสตร์โลกมองว่า สงครามยูเครนแท้จริงแล้ว ถือเป็นการสานต่อของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในอดีตระหว่างมหาอำนาจโลกที่มีต่อการครอบงำของทวีปยูเรเซีย(ยุโรปและเอเชีย) ฉะนั้น จึงคาดว่าสงครามที่อันตรายนี้ จะยังคงดำเนินต่อไปอีกหลายปีเลยทีเดียว
สงครามรัสเซีย-ยูเครน (ซึ่งถือเป็นรูปแบบใหม่ของการเผชิญหน้าแบบเก่าในยูเรเซีย) ได้มีการจัดตั้งแนวร่วมพันธมิตรของระบอบมหาอำนาจใหม่(มหาอำนาจลัทธิแก้ (Revisionist Power) ในภูมิภาคนี้ ประกอบด้วย (อิหร่าน จีน รัสเซีย และเกาหลีเหนือ) เพื่อต่อต้านระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกที่นำโดยสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันนี้ การเสริมสร้างขีดความสามารถทางทหารได้กลายเป็นรูปแบบทางสากลในหมู่ประเทศที่เป็นมหาอำนาจลัทธิแก้ ในยูเรเซีย และประเทศเหล่านี้กำลังพยายามที่จะโค่นล้มระบอบมหาอำนาจโลกในปัจจุบัน และถือว่า อเมริกาเป็นอุปสรรคที่สำคัญระหว่างทางของพวกเขา สหรัฐฯนั้น ไม่สามารถที่จะป้องกันการจัดตั้งแนวร่วมยูเรเชียนได้อย่างง่ายดาย เพราะว่า แนวร่วมที่ต่อต้านตะวันตกดังกล่าวนี้ ถูกสร้างขึ้นอันเป็นผลมาจากการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างเหล่าพันธมิตรและความตึงเครียดระดับโลกที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น (หลังสงครามยูเครน) บางครั้ง (ในทางทฤษฎี) สหรัฐอเมริกาอาจจะประสบความสำเร็จในการสร้างความแตกแยกในเหล่าพันธมิตรที่ต่อต้านตะวันตกดังกล่าว โดยผ่านการประนีประนอมและการปรองดองกับหนึ่งในสมาชิกของพันธมิตรยูเรเซีย (หรือมากกว่าหนึ่งในนั้น) แต่การเกิดขึ้นของการประนีประนอมนี้และการปรองดอง (ในทางปฏิบัติ) ) จำเป็นต้องมีฉันทามติในหมู่พันธมิตรของอเมริกา เพื่อที่จะทำให้อเมริกาถอนตัวออกจากยูเครนและบางส่วนของยุโรปตะวันออกและมอบพื้นที่เหล่านี้ให้กับรัฐบาลมอสโก วิธีการที่จะทำให้ปัญหาต่างๆของอเมริกาในระดับโลกแย่น้อยลงโดยธรรมชาติในขณะนี้ คือ การที่อเมริกาและเหล่าพันธมิตรมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ การทูต และการทหารมากกว่าคู่แข่งของพวกเขา ถือว่ามีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนสำหรับอเมริกา คือ การสร้างและการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของแนวร่วมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในพื้นที่ซึ่งมีการเผชิญหน้ากับภัยอันตรายโดยทันทีจากแนวรบยูเรเซียที่ต่อต้านตะวันตก ไม่ว่าการกระทำเชิงรุกใดๆก็ตาม จากแนวรบยูเรเซีย จะต้องพบกับการตอบสนองที่สอดคล้องกันและสำคัญจากฝ่ายพันธมิตรของอเมริกาในเวทีโลก ปัจจุบันนี้ อเมริกากำลังเผชิญกับปัญหาทางศีลธรรมและจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง หากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2024 ทำให้เกิดการฟื้นตัวของกระบวนการฝักใฝ่ฝ่ายเดียวในแวดวงทางการเมืองของอเมริกาและคณะผู้ปกครองที่ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เข้ามามีอำนาจ ดังนั้น สถานการณ์ก็จะซับซ้อนมากยิ่งกว่าสถานการณ์ปัจจุบันเสียอีก
แนวร่วมพันธมิตรของระบอบมหาอำนาจในยูเรเซีย ต่างเชื่อมโยงกันด้วยความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ และการรวมตัวกันของระบอบมหาอำนาจลัทธิแก้ ในดินแดนและทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยผ่านการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และการเสริมสร้างเครือข่ายทางการค้าและการขนส่งระหว่างกัน รวมถึงการยกเลิกสกุลเงินดอลลาร์ในการแลกเปลี่ยนทางการค้าระหว่างกัน และการออกห่างจากการกำกับดูแลทางทะเลของอเมริกา ถือเป็นการสร้างการเชื่อมโยงเชิงกลยุทธ์ในรูปแบบใหม่! แนวร่วมพันธมิตรที่จัดตั้งขึ้นนี้ ไม่ได้เป็นเพียงแนวร่วมที่เต็มเปี่ยมของระบอบมหาอำนาจเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นพันธมิตรที่เป็นเอกภาพกันและมีอันตรายมากกว่าคู่แข่งและศัตรูใดของอเมริกาในทศวรรษที่ผ่านมา! ….
ก่อนหน้านี้ เมื่อทั้งสองประเทศ กล่าวคือ ญี่ปุ่นและเยอรมนี (ในฐานะที่เป็นมหาอำนาจลัทธิแก้) ได้ต่อสู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองระหว่างประเทศในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งก่อให้เกิดปัจจัยแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์ จนกลายเป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือระหว่างพวกเขา ในขณะที่ปัจจุบันนี้ ประเทศต่างๆที่เป็นมหาอำนาจลัทธิแก้ ในยูเรเซีย พวกเขาก็ไม่มีปัญหาเช่นนี้ การรวมตัวกันที่เกิดขึ้นในยูเรเซีย จะทำให้เหล่าศัตรูของอเมริกาต้องเสริมสร้างความแข็งแกร่งของฐานทัพของตนและการลดความเสี่ยงต่อการคว่ำบาตรของอเมริกาในอนาคต ปราการและฐานที่มั่นยูเรเซียน จะจำกัดเวทีของอเมริกาและเหล่าพันธมิตรของพวกเขา เพราะว่า ฐานที่มั่นยูเรเซียน จะจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นในภูมิภาคนี้สำหรับการเหิมเกริมของมหาอำนาจลัทธิแก้ และพวกเขาจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ดีขึ้นในฐานที่มั่นนี้ พวกเขาจะปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญมากยิ่งขึ้น ในการกำหนดเจตจำนงและการกระจายอำนาจไปยังสภาพแวดล้อม (รวมถึงมหาสมุทรแปซิฟิก ยุโรป ตะวันออกกลาง และอื่นๆ) การยกระดับและการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและรัสเซีย จะทำให้เหล่าพันธมิตรตะวันตกเกิดการพ่ายแพ้ตัวเองและการลดขวัญกำลังใจของพวกเขา! ขณะที่สงครามยูเครนได้เร่งให้เกิดแนวร่วมพันธมิตรยูเรเซียใหม่ในการต่อต้านตะวันตก! การรุกรานยูเครนของปูติน เป็นอีกวิธีการหนึ่งของการแก้ปัญหาโดยรัสเซียเพื่อการสถาปนายูเรเซียขึ้นมาใหม่โดยใช้กองกำลังทหาร สงครามครั้งนี้ จึงก่อให้เกิดการแบ่งขั้วอย่างลึกซึ้งในระบอบการปกครองระหว่างประเทศ
จากมุมมองของอเมริกาและตะวันตก เห็นว่า หากรัสเซียได้รับชัยชนะในสงครามยูเครน ในเวลานั้นเอง พวกเขาก็จะสามารถยึดครองเหนือภูมิภาคต่างๆ ของยุโรป ซึ่งในยุคสมัยเป็นสหภาพโซเวียตเคยปกครองดินแดนเหล่านี้มาก่อน ! ด้วยวิธีการนี้ รัฐบาลมอสโกจะกลับมายึดครองดินแดนเหล่านี้อีกครั้ง ตั้งแต่เอเชียกลางไปจนถึงเขตพื้นที่ซึ่งถูกควบคุมโดยนาโต้ ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก!
ในขั้นตอนใหม่ของการเผชิญหน้ากันระหว่างเหล่ามหาอำนาจโลกในยูเรเซีย บางประเทศถือว่า มีข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์และแสดงบทบาทที่สำคัญในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์และการสื่อสารระดับภูมิภาค โดยมีสถานภาพที่สำคัญกับเหล่ามหาอำนาจโลกที่กำลังแข่งขันกัน ! ตุรกี อินเดีย และซาอุดีอาระเบีย อยู่ในกลุ่มประเทศเหล่านี้ เนื่องจากอเมริกานั้นจำเป็นที่จะต้องเสริมสร้างความร่วมมือและการสื่อสารภายในเครือข่ายพันธมิตรเพื่อให้ประสบความสำเร็จในสงครามยูเรเซียครั้งใหม่ ด้วยเหตุนี้เอง การแสดงบทบาทของเหล่าประเทศที่ฉวยโอกาสดังกล่าวในขั้นตอนใหม่ของการเผชิญหน้าเหล่านี้ จะมีผลกระทบอย่างเด็ดขาดต่อผลลัพธ์ของความขัดแย้งนี้ ใช่แล้ว! เหมือนดั่งในยุคสงครามเย็น เมื่อโลกเสรี แม้จะมีการกระจายตัวทางภูมิศาสตร์ ก็ต้องเผชิญหน้ากับแนวร่วมที่สามัคคีและมีเอกภาพกัน ในปัจจุบันนี้ก็เช่นเดียวกัน ประเทศกลุ่มที่สาม ก็สามารถที่จะใช้นโยบายและยุทธศาสตร์ใหม่กับตะวันตกและประเทศที่เป็นมหาอำนาจลัทธิแก้ ขณะที่ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของอเมริกา คือ การเพิ่มขึ้นของความร่วมมือทางยุทธศาสตร์กับประเทศที่ฉวยโอกาส มีความผันผวน และมีความประพฤติตามอำเภอใจ! โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อย่างน้อยที่สุดในการยึดโยงกับประเทศเหล่านี้ จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อยุทธศาสตร์ของพวกตะวันตก! ประเทศเหล่านี้ต่างมีแรงจูงใจอย่างมากมายให้เกิดการเล่นถึงสองเกมด้วยกัน และจำเป็นที่สหรัฐฯ จะต้องกระทำในสิ่งที่ยากลำบากและไม่พึงประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับพวกเขา เพื่อสกัดกั้นเหล่าคู่แข่งของพวกเขาในยูเรเซีย โดยที่อเมริกาจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการกระทำที่สำคัญและเป็นพื้นฐาน รวมถึงการป้องกันการตั้งฐานทัพจีนในอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งเป็นจุดที่อเมริกา ควรใช้เป็นกลไกในการป้องกันความสมดุลของอำนาจในยูเรเซีย ด้วยการสนับสนุนให้อินเดียขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศในอ่าวเปอร์เซีย เพื่อป้องกันไม่ให้เอเชียใต้และอ่าวเปอร์เซียต้องพึ่งพาจีนมากเกินไปในด้านเงินและการค้า ด้วยเหตุนี้เอง ในกรอบของการประนีประนอมและการปรองดอง อเมริกาจึงจำเป็นที่จะต้องทำธุรกรรมที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นกับประเทศที่ไม่แน่นอนและมีความผันผวน แทนที่จะร่วมมือกับประเทศที่เป็นประชาธิปไตยและมีความก้าวหน้า แม้ว่า อเมริกาจะรังเกลียดซาอุดีอาระเบียหรือวิพากษ์วิจารณ์อินเดียโดยตรงที่เกี่ยวกับนโยบายภายในประเทศ แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้ความร่วมมือของอเมริกากับประเทศเหล่านี้ตกอยู่ในอันตรายในประเด็นที่สำคัญและเชิงกลยุทธ์! อเมริกาไม่ควรปล่อยให้ประเทศที่ไม่แน่นอนมีความร่วมมือกับกลุ่มประเทศที่เป็นมหาอำนาจลัทธิแก้ ความท้าทายที่ยากที่สุดของอเมริกา คือ การเผชิญหน้ากับความร่วมมือของประเทศที่ไม่แน่นอนเหล่านี้ เพราะหากอเมริกาต้องการวิพากษ์วิจารณ์หรือมีการลงโทษประเทศเหล่านี้ ก็ไม่น่าเป็นไปได้ที่ประเทศเหล่านี้จะกลายเป็นศัตรูของอเมริกา ในทางกลับกัน หากอเมริกาไม่สร้างความกดดันต่อประเทศเหล่านี้ ก็อาจจะค่อยๆ สูญเสียแรงกดดันต่อประเทศเหล่านี้อย่างแน่นอน
บทความโดย หนุ่ม ปาทาน นิสิตนักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วทส.
ศูนย์อิหร่านศึกษา
มองฉากทัศน์สงครามระหว่างมหาอำนาจโลกที่มีต่อยูเรเชีย