เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศและเอกอัครราชทูตอิหร่าน เข้าพบท่านผู้นำสูงสุด
ควรหลีกเลี่ยงการทูตที่อ้อนวอนแต่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่ยืดหยุ่นตามระเบียบพิธีการทูต
Burapanews สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า
บรรดาเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศและเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน เข้าพบท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม อยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี โดยท่านผู้นำได้อธิบายถึงกฏเกณฑ์และตัวบ่งชี้ของนโยบายด้านต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ โดยท่านถือว่า การมีเกียรติและศักดิ์ศรี หมายถึง การปฏิเสธและการหลีกเลี่ยงออกจากการทูตที่อ้อนวอน การใช้ปัญญา หมายถึง การมีปฏิสัมพันธ์และการขับเคลื่อนอย่างชาญฉลาด พร้อมทั้งการคิดคำนวณ และความเหมาะสม หมายถึง การมีความยืดหยุ่นจากการก้าวข้ามอุปสรรคที่ยากลำบากและการดำเนินการต่อไปบนเส้นทาง ทั้งหมดนี้คือ สามคำที่สำคัญทางการทูตของประเทศ และท่านยังได้เรียกร้องให้บรรดาเจ้าหน้าที่ทางการทูตของประเทศ มีการติดตามการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่างๆที่ค่อยเป็นค่อยไปและเหตุการณ์ต่างๆที่มีอิทธิพลในระเบียบระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะทำให้อิหร่านเข้าไปถึงยังฐานภาพที่เหมาะสมกับระเบียบของอนาคตของโลก
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ถือว่า นโยบายด้านต่างประเทศที่ดีและหน่วยงานทางการทูตที่มีประสิทธิภาพ เป็นเสาหลักพื้นฐานสำหรับการบริหารประเทศที่ประสบความสำเร็จ และท่านผู้นำได้อธิบายถึงกฎระเบียบ 6 ประการในนโยบายด้านต่างประเทศ โดยท่านกล่าวว่า “การรักษาตัวชี้วัดเหล่านี้ ถือเป็นสัญญาณของนโยบายด้านต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ และหากว่าไม่มีการปฏิบัติตามกฎเหล่านี้หรือในทฤษฎีทางด้านนโยบายต่างประเทศหรือว่าเรานั้นมีปัญหาในการทำงานและการปฏิบัติการทางการทูต”
การมีความสามารถในการอธิบายถึงตรรกะของวิสัยทัศน์ของประเทศในประเด็นต่างๆได้อย่างแน่วแน่ เป็นกฎระเบียบประการแรกของนโยบายด้านต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลามได้ชี้ถึง
การเข้าร่วมอย่างมีประสิทธิผลและการกำหนดทิศทางในปรากฏการณ์ เหตุการณ์ต่างๆ และกระแสทางการเมือง-เศรษฐกิจต่างๆ ของโลก การขจัดและการลดนโยบายต่างๆและการตัดสินใจที่เป็นภัยคุกคามต่ออิหร่าน การทำให้ศูนย์กลางที่เป็นอันตรายมีความอ่อนแอลง การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับรัฐบาลและกลุ่มพันธมิตรกับอิหร่านและการพัฒนาประเทศในเชิงลึกทางยุทธศาสตร์ และมีความสามารถในการกำหนดระดับชั้นที่ซ่อนเร้นอยู่ในการตัดสินใจและการดำเนินการในระดับภูมิภาคและระดับโลก เป็นกฏระเบียบทั้งห้าประการ ซึ่งท่านผู้นำได้กล่าวอธิบายถึงนโยบายด้านต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จและการสร้างความภาคภูมิใจ
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี นอกจากนี้ ยังได้กล่าวอธิบายถึงความหมายของคำสำคัญทั้งสามคำ กล่าวคือ การมีเกียรติและศักดิ์ศรี การใช้ปัญญาและความเหมาะสม ในหมวดนโยบายด้านต่างประเทศ โดยท่านผู้นำ กล่าวว่า “การมีเกียรติและศักดิ์ศรี หมายถึง การปฏิเสธการทางทูตที่อ่อนข้อ ทั้งจากคำพูดและในเนื้อหา การหลีกเลี่ยงออกจากการให้ความสนใจต่อถ้อยคำและคำตัดสินของเจ้าหน้าที่ทั้งหลายของประเทศต่างๆ”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า การไม่พึ่งพายังหลักการในนโยบายด้านต่างประเทศนั้นขัดแย้งกับการมีเกียรติและศักดิ์ศรี และยังทำให้เกิดความลังเลใจอีกด้วย โดยท่านกล่าวเสริมว่า “เราจะต้องมีการขับเคลื่อนในประเด็นทั้งหมดในระดับโลก ทั้งจากคำพูด การดำเนินการ และการเผชิญหน้ากับการกระทำของผู้อื่นอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี อีกทั้งยังมีการพึ่งพาต่อหลักการ”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า ความหมายที่แท้จริงของปัญญา คือ พฤติกรรมและคำพูดที่ชาญฉลาด การใช้ความคิดและการคิดคำนวณ โดยท่านกล่าวว่า “ทุกการขับเคลื่อนในนโยบายด้านต่างประเทศ จะต้องมีเหตุผลและการไตร่ตรอง ขณะที่การตัดสินใจและการดำเนินการอย่างทันทีทันใด โดยปราศจากการคิดคำนวณ รังแต่จะก่อความเสียหายให้กับประเทศได้ในระดับหนึ่ง”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า การขาดความไว้วางใจต่อฝ่ายตรงกันข้าม เป็นอีกแนวคิดหนึ่งของคำว่า การใช้ปัญญา โดยท่านกล่าวว่า “แน่นอนว่า ทุกคำพูดในโลกทางการเมือง ไม่ควรถือเป็นเรื่องโกหก เพราะว่ายังมีคำพูดที่สัตย์จริงและเป็นที่ยอมรับได้ แต่ทว่า อย่าได้เชื่อในทุกคำพูดทั้งหมด”
ความเหมาะสม หมายถึง การมีความยืดหยุ่นในกรณีที่จำเป็นเพื่อที่จะก้าวข้ามอุปสรรคที่ยากลำบากและความหนักอึ้งและการดำเนินตามบนเส้นทางอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกคำสำคัญคำหนึ่งที่ท่านผู้นำได้กล่าวอธิบายถึง
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม กล่าวว่า “การรักษาหลักการไม่ได้ขัดแย้งกับความเหมาะสมที่ได้กล่าวไปแล้ว แน่นอนว่า เมื่อหลายปีที่ผ่านมา ก็มีการเสนอแนวคิดเรื่อง “ความอ่อนโยนอย่างกล้าหาญ” ซึ่งมีการเข้าใจผิดทั้งภายในและนอกประเทศ เพราะว่าความเหมาะสม หมายถึง การแสวงหาแนวทางเพื่อที่จะเอาชนะเหนืออุปสรรคที่ยากลำบากและการดำเนินการต่อไปบนเส้นทางเพื่อบรรลุสู่เป้าหมาย”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี กล่าวอย่างต่อเนื่องในคำปราศรัยของท่านที่มีต่อบรรดาเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศและเอกอัครราชทูตของอิหร่าน ถือว่า การมีนวัตกรรมด้านปัจเจก เป็นสิ่งที่ดีและตรงเวลา ทั้งยังมีการไตร่ตรองอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการมีปฏิสัมพันธ์ของบรรดาเอกอัครราชทูตนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็น
ประเด็นการมีคุณภาพและปริมาณของทรัพยากรมนุษย์ในกระทรวงการต่างประเทศและการสรรหาองค์ประกอบที่มีประสิทธิภาพและสามารถเชื่อถือได้ เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ได้ชี้ให้เห็น พร้อมทั้งท่านกล่าวว่า “กระทรวงการต่างประเทศ จะต้องมีการจัดหาทรัพยากรที่มีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งและมีความเชื่อมั่นอย่างแท้จริงในพื้นฐานทางความคิด นโยบายของการปฏิวัติอิสลามและสาธารณรัฐอิสลาม และด้วยแรงจูงใจที่เพียงพอและการมีเจตจำนงที่แข็งแกร่ง ทั้งการขับเคลื่อนและการดำเนินการที่ตรงกันข้ามกับพายุทางความคิดและการโฆษณาชวนเชื่อของพวกต่างชาติและอย่าได้อ่อนข้อเป็นอันขาด”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ยังกล่าวแสดงความพึงพอใจกับแบบแผนของกระทรวงการต่างประเทศในการดึงดูดทรัพยากรที่เป็นเยาวชนคนหนุ่มสาว โดยท่านผู้นำได้เน้นย้ำว่า “การระมัดระวังต่อแรงจูงใจ ความศรัทธา และเจตจำนงของทรัพยากรต่างๆ ถือเป็นภารกิจที่สำคัญของกระทรวงการต่างประเทศ
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ได้กล่าวสรุปในภาคส่วนหนึ่งของการปราศรัยของท่าน โดยถือว่า บรรดาตัวแทนของอิหร่านในต่างประเทศ ก็คือ ตัวแทนของประชาชนและพฤติกรรมของพวกเขายังสะท้อนถึงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของประชาชาติอิหร่าน โดยท่านกล่าวว่า “นักการทูตอิหร่าน จะต้องเป็นสัญลักษณ์ของความศรัทธา ความรัก สำหรับอิหร่านที่มีเกียรติและศักดิ์ศรี การมีความกระดากอาย ความมุ่งมั่นและเจตจำนง มีการขับเคลื่อนและการไม่ว่างงาน อีกทั้งคำพูดและพฤติกรรมของพวกเขา จะต้องเป็นที่เคารพต่อประชาชาติอิหร่าน”
อีกส่วนหนึ่งของคำปราศรัยของท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ท่านได้ชี้ให้เห็นถึงเขตพรมแดนอันยาวไกลของอิหร่านกับประเทศต่างๆ มากมาย และบางครั้งก็มีความสำคัญและมีอิทธิพล โดยท่านผู้นำ ถือว่า นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน สำหรับการมีความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและมีความถูกต้องอย่างมาก พร้อมทั้งท่านกล่าวเสริมว่า “มือของพวกต่างชาตินั้นมีความเกี่ยวข้องกับการสร้างปัญหาระหว่างอิหร่านกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเราจะต้องมีความกระตือรือร้นที่ไม่ควรปล่อยให้นโยบายนี้ของพวกเขาเกิดขึ้นจริง”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า นโยบายของการมีความสัมพันธ์กับประเทศชาติอิสลาม แม้จะอยู่ห่างไกลกันก็ตาม รวมทั้งนโยบายความสัมพันธ์กับประเทศที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นประเด็นที่สำคัญยิ่ง โดยท่านกล่าวเสริมว่า “ปัจจุบันนี้ ความร่วมมือและการมีทิศทางเดียวกันของบางประเทศที่ใหญ่และสำคัญของโลกที่มีต่อสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านในบางกระแสและการขีดเส้นพื้นฐานทางการเมืองระหว่างประเทศ ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งเราจะต้องขอบคุณโอกาสนี้และการกระชับความสัมพันธ์ของเรากับประเทศเหล่านั้น”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ยังได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นของการประชุมของเอกอัครราชทูตเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระเบียบโลกในปัจจุบันและประเด็นนี้ได้ถูกกล่าวย้ำมาหลายครั้งในวรรณกรรมของโลก โดยท่านกล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงของระเบียบโลก เป็นกระบวนการที่มีระยะยาว ทั้งมีขึ้นและมีลง และการได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเป็นไปได้ และประเทศต่างๆ ที่มีความคิดเห็นและแนวทางที่แตกต่างกัน อีกทั้งมีความขัดแย้งกัน”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า มีความจำเป็นที่จะต้องจัดให้อิหร่านอยู่ในฐานภาพที่เหมาะสมกับระเบียบใหม่ ด้วยการติดตามและการประเมินผลของการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ต่างๆของโลก และการรู้จักถึงฐานภาพและเบื้องหลังของเหตุการณ์ต่างๆอย่างชัดเจน โดยท่านกล่าวว่า “จากการติดตามและการประเมินผลนี้ มีข้อเสนอแนะในเชิงการปฏิบัติที่ถูกแยกออกจากกันในประเด็นนี้ ซึ่งบรรดาเอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทน จะต้องแสดงบทบาทที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศต่างๆที่มีอิทธิพลอย่างมาก”
ในช่วงท้ายของการปราศรัย ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ได้เน้นย้ำอีกครั้งถึงความสำคัญของนโยบายด้านต่างประเทศและบทบาทที่สำคัญในการบริหารและการปรับปรุงประเทศ โดยท่านผู้นำกล่าวเสริมว่า “ถึงแม้ว่า จะให้ความสนใจยังปัจจัยทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมจากการวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศ ประเด็นที่เกี่ยวกับปัจจัยด้านนโยบายต่างประเทศ มักจะถูกเพิกเฉย ในขณะที่นโยบายด้านต่างประเทศที่ดีและประสบความสำเร็จ จะทำให้สถานการณ์ของประเทศดีขึ้นอย่างแน่นอน และในทางตรงกันข้าม การก่อความวุ่นวายและปัญหาต่างๆในนโยบายด้านต่างประเทศ จะทำให้เกิดปัญหาในสถานการณ์ทั่วไปของประเทศ ซึ่งมีตัวอย่างมาแล้วอย่างมากมาย”
ในช่วงเริ่มต้นของการพบปะกันครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการ โครงการ และการจัดลำดับความสำคัญขององค์กรที่เกี่ยวกับนโยบายด้านต่างประเทศในรัฐบาลชุดที่ 13 เพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
พณฯ อะมีร อับดุลลอฮิยอน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถือว่า การถอนตัวออกจากนโยบายเพียงด้านเดียวของข้อตกลงนิวเคลียร์( JCPOA) โดยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสมดุลในนโยบายด้านต่างประเทศ การให้ความสำคัญกับการทูตทางเศรษฐกิจ โดยเน้นย้ำถึงการพัฒนาในการส่งออกที่ไม่ใช่น้ำมันและการมีศักยภาพทางการคมนาคมในประเทศ การมีมุมมองที่เฉพาะต่อเอเชียโดยการให้ความสำคัญกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและประเทศชาติอิสลาม การสนับสนุนกลุ่มของการยืนหยัดต่อสู้ (กลุ่มมุกอวิมัต) การเคลื่อนไหวอย่างแข็งขันโดยเข้าร่วมเป็นพันธมิตรในภูมิภาคที่เป็นประโยชน์ เช่น สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย กลุ่มเซี่ยงไฮ้ และกลุ่มบริกส์ (BRICS) ซึ่งตรงกันข้ามกับการไร้ประสิทธิภาพของการคว่ำบาตร และการเจรจาเพื่อยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลชุดที่ 13
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังได้ชี้ให้เห็นถึงการเดินทางเยือนต่างประเทศ 11 ครั้งของประธานาธิบดีและ 14 ครั้งของการเดินทางเยือนอิหร่านของเหล่าผู้นำประเทศต่างๆ ในช่วง 20 เดือนที่ผ่านมา ทั้งยังมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจที่ครอบคลุมและระยะยาวกับประเทศต่างๆ เช่น จีน รัสเซียและตุรกี ถือเป็นมาตรการต่างๆที่เกิดขึ้นในการกำหนดทิศทางเพื่อเพิ่มปฏิสัมพันธ์ของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านและการเพิ่มมูลค่าการแลกเปลี่ยนทางการค้าของประเทศ
พณฯ อะมีร อับดุลลอฮิยอน ยังได้ชี้ให้เห็นว่า มีชาวอิหร่านมากกว่า 5 ล้านคนที่พำนักในต่างประเทศ โดยรัฐบาลชุดที่ 13 มีความสนใจเป็นพิเศษจากการให้บริการแก่บรรดาเพื่อนร่วมชาติ ถือเป็นอีกหนึ่งมาตรการของกระทรวงการต่างประเทศด้วยเช่นกัน