สมาชิกสภาผู้ชำนาญการ เข้าพบท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม
“รากฐานอันแข็งแกร่งของประชาธิปไตยในรัฐอิสลาม คือ ความมั่งคั่งของชาติ”
Burapanews สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า บรรดาสมาชิกสภาผู้ชำนาญการ เข้าพบท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม อยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี โดยท่านผู้นำ ถือว่า สภานี้มีความสูงส่งและมีความสำคัญอย่างมาก เป็นสัญลักษณ์ของการหลอมรวมของคำว่า สาธารณรัฐและอิสลาม เข้าด้วยกัน และท่านผู้นำยังได้ชี้ให้เห็นถึงการเข้าร่วมของประชาชนอย่างที่ไม่สามารถเปรียบเทียบได้ ทั้งมีความสำคัญและความต่อเนื่องในสนามต่างๆอย่างมากมาย โดยท่านกล่าวว่า “รากฐานอันแข็งแกร่งของประชาธิปไตยในรัฐอิสลาม คือ ความมั่งคั่งของชาติ ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้ทำให้เป็นข้อพิสูจน์อย่างสมบูรณ์กับบรรดานักวิชาการทางศาสนาและเจ้าหน้าที่ทั้งหมดของรัฐแล้ว และพวกเราทุกคน จะต้องเพียรพยายามอย่างที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพื่อการรักษาและการเพิ่มพูนของทุนทรัพย์อันยิ่งใหญ่นี้”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ได้กล่าวแสดงความยินดีเนื่องในการเข้ามาเยือนของเดือนชะอ์บานและวันอีดต่างๆที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นวันแห่งการสร้างความสุข โดยท่านถือว่า สภาผู้ชำนาญการ เป็นสัญลักษณ์ที่แท้จริงของระบอบประชาธิปไตยทางศาสนา และท่านได้กล่าวเสริมว่า “สภาแห่งนี้ได้รับการคัดเลือกมาจากประชาชนในรูปแบบของประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการทางศาสนาและยังได้แสดงให้เห็นถึงแกนหลักทางศาสนาของรัฐอิสลามอีกด้วย”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า สภาผู้ชำนาญการ ทั้งมีสถานภาพ ความสำคัญ และความละเอียดอ่อนที่สูงส่งกว่าศูนย์กลางหรือหน่วยงานใดๆก็ตามของรัฐอิสลาม โดยท่านกล่าวว่า “สภานี้มีหน้าที่ในการกำหนดสภาวะความเป็นผู้นำ และเช่นกัน ด้วยความระมัดระวังต่างๆ สภานี้ยังเป็นหลักประกันของการมีอยู่และความต่อเนื่องของเงื่อนไขต่างๆในความเป็นผู้นำ ซึ่งถือว่าเป็นสถานภาพที่ยิ่งใหญ่ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบที่หนักอึ้งสำหรับบรรดาสมาชิกของสภาแห่งนี้ และการเพิกเฉยต่อการปฏิบัติหน้าที่เหล่านี้ จะไม่เป็นที่ยอมรับ ณ พระผู้เป็นเจ้า”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ถือว่า การให้ความสำคัญของสภาผู้ชำนาญการในการจัดการกับปัญหาต่างๆของประเทศ เป็นข้อเรียกร้องของผู้นำสูงสุดและเป็นประเด็นที่ถูกต้อง ในขณะเดียวกัน ท่านผู้นำกล่าวว่า “ประเด็นที่สำคัญยิ่งกว่าประเด็นทั้งหมด คือ การให้ความสนใจอย่างจริงจังกับหน้าที่ความรับผิดชอบภายในและภายนอกของบรรดาสมาชิกสภาผู้ชำนาญการ”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า ความต่อเนื่องของการขับเคลื่อนของคณะสภาผู้ชำนาญการในการจัดการและการดูแลการรักษาเงื่อนไขของความเป็นผู้นำและการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและหน้าที่อันชัดเจนประการอื่นๆของความเป็นผู้นำ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากโดยท่านกล่าวเสริมว่า “หน้าที่อันสำคัญมากที่สุดของความเป็นผู้นำ คือ การสอดส่องดูแล และการรักษาจากการขับเคลื่อนโดยรวมและการขับเคลื่อนในภาคส่วนต่างๆที่สำคัญของการกำหนดทิศทางของรัฐอิสลาม เพื่อไม่ให้หันเหออกจากแนวทางหลักของการปฏิวัติอิสลาม และการปฏิวัติอิสลาม จะต้องไม่เบี่ยงเบน เหมือนกับการปฏิวัติอื่นๆ”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า คำอธิบายที่มีตรรกะและความต่อเนื่องของสถานภาพของสภาผู้ชำนาญการที่มีต่อความคิดเห็นของสาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเยาวชนคนรุ่นใหม่ เป็นอีกหน้าที่ประการหนึ่งของบรรดาสมาชิกของสภาแห่งนี้ โดยท่านกล่าวเสริมว่า “คำอธิบายที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานภาพที่ชัดเจนของสภาผู้ชำนาญการ จะนำประชาชนไปสู่การเลือกตั้งของสภานี้ด้วยความกระตือรือร้น การมีความรักและความห่วงใย ซึ่งแน่นอนว่า บรรดาสมาชิกของสภานี้ก็มีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นนักวิชาการด้วยเช่นกัน จะเป็นตัวกำหนดให้พวกเขาปฏิบัติในหน้าที่อันหนักอึ้งเหล่านี้ต่อไป”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า ความเป็นปฏิปักษ์กับสภาผู้ชำนาญการ คือ ความเป็นปฏิปักษ์กับหลักการของสาธารณรัฐอิสลาม โดยท่านกล่าวว่า “บางคนต่างคิดว่า ความเป็นปฏิปักษ์กับสาธารณรัฐอิสลามนั้นเกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมืองและการแสดงจุดยืนในประเด็นต่างๆ เช่น ประเด็นปาเลสไตน์ แต่ทว่าบางคนกลับคิดว่า ความเป็นปฏิปักษ์กับแก่นแท้ของรัฐอิสลามต่างหาก เพราะรัฐนี้นั้นได้ยืนหยัดในการเผชิญหน้ากับเหล่าผู้คนที่มีความเชื่อถือตามแบบฉบับของตะวันตก ซึ่งต่อต้านกับการแทรกแซงของศาสนาในประเด็นทางสังคมหรือการต่อต้านเหล่าแกนนำของพวกเสรีนิยมประชาธิปไตยที่อยู่เบื้องหลังธงปลอมแห่งเสรีภาพและประชาธิปไตย ด้วยการวางแผนที่จะครอบครองและการปล้นสะดมทรัพยากรของโลก และการกำหนดประชาธิปไตยและเสรีภาพที่เคียงข้างกับศาสนา ซึ่งได้ทำให้แผนการเหล่านี้ของพวกเขาพบกับความล้มเหลว”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า การอธิบายถึงสาเหตุหลักของความเป็นปฏิปักษ์ต่างๆให้กับประชาชน เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยท่านกล่าวเสริมว่า “การอธิบายถึงสาเหตุหลักนี้ จะไม่เป็นเหตุให้มีผู้หนึ่งผู้ใดพูดผ่านสื่อสังคมออนไลน์หรือนอกเหนือจากนี้ว่า สาธารณรัฐอิสลามนั้นได้สร้างศัตรูให้กับตัวเอง เพราะว่า นี่คือแก่นแท้ของประชาธิปไตยทางศาสนา ซึ่งจะลบล้างแผนการร้ายของผู้ประสงค์ร้ายและปัจจัยในการก่อความปฏิปักษ์เหล่านี้”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ถือว่า สถานภาพประการที่สองของบรรดาสมาชิกสภาผู้ชำนาญการ คือ ความเป็นผู้ที่มีเกียรติทางวิชาการ โดยท่านผู้นำกล่าวว่า “รากฐานอันแข็งแกร่งของประชาธิปไตยในสาธารณรัฐอิสลาม คือ ความมั่งคั่งของชาติ และการเชื่อมความสัมพันธ์และการพึ่งพาของประชาชนยังรัฐอิสลามและรัฐอิสลามต่อประชาชนซึ่งกันและกัน เป็นความจริงหนึ่งที่ไม่สามารถปิดบังและไม่เสมอเหมือนผู้ใด หรืออย่างน้อยที่สุด ก็หายากมากที่สุดในโลก ซึ่งปรากฏให้เห็นในกรณีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่าและการเข้าร่วมของประชาชน ความช่วยเหลือด้วยการมีศรัทธาและเช่นเดียวกัน การเข้าร่วมและความพยายามของประชาชนในการช่วยเหลือเหล่าผู้ประสบภัยธรรมชาติอย่างที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า การเดินขบวนของประชาชนในวันที่ 22 เดือนบะห์มัน ในปีนี้ เป็นการสำแดงอีกประการหนึ่งของความแข็งแกร่งของประชาธิปไตยในรัฐอิสลาม โดยท่านได้ตั้งข้อสังเกตว่า “จะมีสถานที่ใดในโลกหรือ? ที่มีการรวมตัวครั้งยิ่งใหญ่เพื่อประกอบกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งมีประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งมีรสนิยมที่หลากหลายในทุกภาคส่วนเข้าร่วมเช่นนี้ นับตั้งแต่คนชราภาพไปจนถึงยุวชนคนรุ่นใหม่ โดยที่พวกเขาเหล่านั้นต่างเข้าร่วมในภาคสนาม ท่ามกลางภูมิอากาศที่ยากลำบาก ซึ่งได้ผ่านมาแล้วสี่สิบกว่าปี และนี่คือ การสนับสนุนและรากฐานอันแข็งแกร่งของประชาธิปไตยในรัฐอิสลาม ซึ่งแน่นอนว่า เรามักจะคุ้นเคยและบางครั้งเราอาจจะไม่เข้าใจถึงความยิ่งใหญ่ของมันอย่างดีนัก”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม กล่าวเสริมว่า “การเข้าร่วมของประชาชน ได้ทำให้เป็นข้อพิสูจน์ที่สมบูรณ์สำหรับเจ้าหน้าที่ทั้งหลายและเหล่านักวิชาการทางศาสนาของเราและเรานั้นไม่เพียงพอที่จะภาคภูมิใจในความมั่งคั่งของชาตินี้ แต่ทว่า เราจะต้องรักษาและเพิ่มพูนความมั่งคั่งนี้อย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตามหน้าที่ของเราให้สำเร็จในด้านนี้”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า บทบาทของศาสนาและนักวิชาการทางศาสนา ในการจัดตั้งการขับเคลื่อนในระดับชาติและการปฏิวัติอิสลาม เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบได้ โดยท่านได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ท่านอิมามโคมัยนี (ร.ฮ.) ในฐานะเป็นนักวิชาการทางศาสนาผู้หนึ่ง และเป็นมัรญิอ์ตักลีด ท่านนั้นได้แสดงบทบาทอย่างมากในการปฏิวัติอิสลาม จนกระทั่งสามารถพึ่งพายังมรดกอันยาวนานนับพันปีของนักวิชาการทางศาสนาและสร้างความไว้วางใจและความเชื่อถือของประชาชน ทั้งนี้ ท่านอิมามยังได้ทำให้ประชาชาติมีการขับเคลื่อนด้วยสโลแกนอันเดียวกัน จากกรุงเตหะราน จนถึงหมู่บ้านต่างๆ และจนกระทั่งไปจนถึงเมืองที่ห่างไกล ซึ่งการกระทำนี้ของท่านอิมามนั้นไม่ได้กระทำโดยพรรคการเมืองและนักการเมืองคนใด”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ถือว่า ความมั่งคั่งอันยิ่งใหญ่และการเข้าร่วมของประชาชนโดยปราศจากการข่มขู่คุกคาม รวมทั้งรากฐานอันแข็งแกร่งของประชาธิปไตยในรัฐอิสลาม เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อรัฐอิสลามอย่างยิ่ง โดยท่านผู้นำกล่าวว่า “บรรดานักวิชาการทางศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะมีความรับผิดชอบต่อรัฐบาลหรือไม่มีก็ตาม แต่พวกเขาก็มีหน้าที่อันหนักหน่วงในการปกป้องความมั่งคั่งอันยิ่งใหญ่นี้ ซึ่งการญิฮาดตับยีน (การต่อสู้เชิงการอธิบายและการแสดงออก) เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากที่สุด ในขณะที่ การมีตักวา (ความยำเกรง) ความซื่อสัตย์ ความใสสะอาด การหลีกเลี่ยงออกจากข้อสงสัย การมีแรงจูงใจจากพระเจ้า และการเชิญชวนด้วยการกระทำที่ไม่ใช่เพียงคำพูด โดยทั้งหมดเหล่านี้ จะเป็นการกระตุ้นและการเตือนใจให้กับประชาชน”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ยังได้ให้คำแนะนำ ด้วยการชี้นำให้บรรดานักวิชาการทางศาสนามีการเชื่อมความสัมพันธ์กับเยาวชนและบรรดานักศึกษา และการเข้าร่วมในมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยท่านกล่าวว่า “การสนทนากับเยาวชนทั้งหลาย ด้วยคำพูดใหม่ การอธิบายใหม่ และตรรกะใหม่ โดยพวกท่านทั้งหลายจะต้องเปิดปมทางจิตใจให้กับพวกเขา ซึ่งแน่นอนว่า เราจะต้องพูดในข้อสงสัยที่เราไม่รู้คำตอบว่า เรานั้นไม่รู้ หรือเราจะต้องมีการตรวจสอบเสียก่อน”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า การจัดตั้งเวทีทางปัญญาของเยาวชนคนหนุ่มสาวและปัญญาชนจำนวนมากในเมืองต่างๆ โดยที่มีบรรดานักวิชาการทางศาสนาและสมาชิกสภาผู้ชำนาญการ เข้ามาเป็นแกนหลัก ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งสำหรับการสร้างความสัมพันธ์กับเยาวชนที่มีประสิทธิภาพ โดยท่านกล่าวเสริมว่า “เราจะต้องไม่ลำบากใจจากการเกิดข้อสงสัยและเหมือนดังที่มัรฮูม ชะฮีดมุเฏาะฮะรี ได้ตอบข้อสงสัยต่างๆด้วยตัวของเขาเอง และเราจะต้องเตรียมพร้อมในการเผชิญหน้ากับข้อสงสัยต่างๆ”
ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี กล่าวเสริมว่า “ข้อสงสัยต่างๆก็เหมือนกับมาตรการคว่ำบาตร ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เราต้องศึกษา ใช้ความคิด และการค้นคว้าเพื่อที่จะหาคำตอบ เช่นเดียวกับการคว่ำบาตรที่ทำให้เราบรรลุความสำเร็จใหม่ๆ ในประเด็นต่างๆ เช่น การป้องกันประเทศ การรักษาเยียวยาและสุขภาพ หากไม่มีการคว่ำบาตรต่างๆ แล้วไซร้ ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและด้านอุตสาหกรรมก็จะไม่เกิดขึ้น”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม ถือว่า คำถามและข้อสงสัยของบรรดาเยาวชนคนหนุ่มสาวนั้นต้องการการอธิบายด้วยตรรกะและการโน้มน้าวทางจิตใจ โดยท่านกล่าวว่า “เราจะต้องมีความระมัดระวังว่า อย่าได้พูดจาที่หละหลวมๆ และไร้ตรรกะ แต่แน่นอนว่า หน้าที่ความรับผิดชอบในการสนับสนุนทางปัญญาสำหรับกลุ่มเยาวชนและเหล่าปัญญาชน ควรเป็นหน้าที่ของสถาบันศาสนาเฮาซะฮ์เมืองกุมและสถาบันศาสนาทั่วประเทศ”
ในช่วงสุดท้ายของการปราศรัย ท่านอยาตุลลอฮ์ คาเมเนอี ได้เน้นย้ำให้เห็นว่า มีความจำเป็นที่จะต้องเกิดความหวัง ขณะที่ความต่อเนื่องของนโยบายต่างๆของศัตรูนั้น ถือเป็นการทำให้เกิดความสิ้นหวัง โดยท่านผู้นำยังได้ชี้ไปยังจดหมายเปิดผนึกฉบับหนึ่งของกลุ่มนักการเมืองในช่วงปี 1369 (ปฏิทินอิหร่าน) ที่ส่งถึงเจ้าหน้าที่รัฐบาลผู้หนึ่ง โดยท่านกล่าวว่า “หนึ่งปีผ่านไป หลังจากการอสัญกรรมของท่านอิมามผู้ยิ่งใหญ่ กลุ่มนักการเมืองนั้นได้เขียนในจดหมายเปิดผนึกโดยระบุว่า เกิดความสิ้นหวังขึ้นในประเทศและประชาชาติได้เข้ามาถึงจุดแตกหักและการล่มสลาย”
ท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลาม กล่าวเสริมว่า “เหล่าผู้คนที่ตัวเขาเองและบุคลิกภาพของพวกเขาตกอยู่ภายใต้ความพินาศและการทำลายล้าง ได้มองเห็นทุกอย่างจากมุมนี้ แต่ในทางกลับกัน ผู้ที่มีหัวใจและความคิดที่เต็มไปด้วยความหวัง กลับมองเห็นถึงปัญหาและการเปลี่ยนแปลงอย่างมีความหวัง ซึ่งเรานั้นหวังเป็นอย่างยิ่งว่า พระผู้เป็นเจ้า จะทรงช่วยเหลือเราทุกคนให้ประสบความสำเร็จด้วยการมีมุมมองนี้และด้วยการสนับสนุนของพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์และการเข้าร่วมของประชาชน จะทำให้เรานั้นปฏิบัติหน้าที่ของเราอย่างจริงจัง โดยปราศจากความเหนื่อยล้าและความอ่อนแอ”
ในช่วงเริ่มต้นของการพบปะกันครั้งนี้ ฮุจญตุลอิสลาม วัลมุสลิมีน ราอีซี ในฐานะรองประธานสภาผู้ชำนาญการคนแรก ได้กล่าวรายงานเกี่ยวกับการดำเนินงานของสภานี้ในสามภาคส่วน จากการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งที่ 11 ของสภาแห่งนี้
การเลือกตั้งสมาชิกคณะผู้บริหาร คณะกรรมาธิการ และคณะนักคิด การจัดประชุมเฉพาะกิจร่วมกับผู้บัญชาการกองกำลังกุดส์ของกองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม เกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆในภูมิภาคและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ เกี่ยวกับประเด็นค่าครองชีพ รวมทั้ง การอภิปรายเกี่ยวกับข้อกังวลทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ และการวิเคราะห์การจลาจลเมื่อช่วงฤดูใบไม้ล่วงที่ผ่านมา ในถ้อยแถลงของสมาชิกสภานี้ทั้ง 14 คน ก่อนวาระสำคัญ ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นที่สำคัญที่ พณฯท่านราอีซี ประธานาธิบดีอิหร่านและในฐานะรองประธานคนแรกของสภาผู้ชำนาญการกล่าวรายงานในการพบปะกับท่านผู้นำสูงสุดการปฏิวัติอิสลามครั้งนี้
แหล่งข่าว