สถานทูตอิหร่านประจำประเทศไทย โต้ธนาธร กรณีโพสต์สนับสนุนผู้ก่อจลาจลในอิหร่าน
Burapanews สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า กรณี ธนาธร โพสต์ทวิต สนับสนุนกลุ่มผู้ก่อจลาจลในอิหร่าน สถานทูตอิหร่านประจำประเทศไทยได้ตอบโต้ว่า จุดยืนดังกล่าวไม่ได้ทำให้ความสัมพันธ์ 400 ปีระหว่างอิหร่านกับประเทศไทยเสียหายอย่างแน่นอน
ประเทศไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศอิหร่านมาอย่างยาวนาน และปวงชนชาวไทยทั้งประเทศก็มีความเคารพกิจการภายในของประเทศอิหร่าน ตลอดจนมีความห่วงใยและกำลังใจ ขอพรจากพระผู้เป็นเจ้าให้ปัญหาต่างๆ คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีเท่านั้น จะมีก็แต่นายคนนี้ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นส่วนตัวแบบกลวงๆ
เพจเฟซบุ๊ก Suphanat Aphinyan ของ ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ “ดร.นิว” โพสต์ข้อความระบุว่า ในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่มีมารยาทในทางสากลและไม่ได้มีอคติใดๆ กับประเทศอิหร่าน อยากบอกประเทศอิหร่านว่า อย่าให้ราคากับคนแบบนี้เลย เขาบอกจะเคียงข้างเด็กผู้หญิงที่อดอาหารประท้วง แต่เขาก็ไม่เคยอดอาหารประท้วงให้เห็นถึงคุณค่าของคนเท่ากันตามที่เขาชอบพล่าม คำพูดของเขามีค่าน้อยกว่าลมตดเสียอีก
สิ่งที่ออกมาจากปากของเขา มันก็คงเป็นได้แค่เพียง #ลมตดแห่งประชาธิปไตยจอมปลอม เท่านั้น
ทวิตเตอร์ @Thanathorn_FWP ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความเป็นภาษาอังกฤษผ่านทวิตเตอร์ มีใจความว่า ตนขอยืนหยัดเคียงข้างชาวอิหร่านที่กำลังต่อสู้กับเผด็จการในบ้านเกิด เรากำลังต่อสู้ในสมรภูมิเดียวกันที่ประเทศไทย พร้อมกับเชิญชวนเข้าร่วมเคลื่อนไหวกับผู้ชุมนุมเพื่อเรียกร้องเสรีภาพ โดยการเมนชันไปที่ทวิตเตอร์ @freedomhouse และลงชื่อได้ที่เว็บไซต์ http://change.org/IranSolidarity
ปรากฏว่า ทวิตเตอร์ @IranInThailand ของสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านในประเทศไทยตอบกลับข้อความของนายธนาธรว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับประเทศไทยที่ยาวนานกว่า 400 ปี แข็งแกร่งมากเมื่อเทียบกับผลกระทบจากเกมการเมืองและการเลือกตั้ง ด้วยความเคารพอย่างยิ่งต่อประชาชนในประเทศไทย เรามั่นใจว่าท่าทีทางการเมืองดังกล่าวไม่อาจมีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ทวิภาคีได้
ทั้งนี้ สำหรับเหตุการณ์ประท้วงในประเทศอิหร่านเกิดขึ้น สืบเนื่องจากการเสียชีวิตของ น.ส.มาห์ซา อมินี วัย 22 ปี เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2565 ที่ผ่านมา หลังถูกตำรวจศีลธรรมควบคุมตัวไว้ในกรุงเตหะราน ด้วยข้อกล่าวหาละเมิดกฎ ที่กำหนดให้ผู้หญิงต้องสวมฮิญาบ หรือผ้าคลุมศีรษะปกคลุมผม ส่งผลทำให้มีผู้ชุมนุมเกิดขึ้นอย่างยืดเยื้อยาวนาน และมีการสลายการชุมนุม ขณะที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปแสดงความไม่เห็นด้วย และออกมาตรการคว่ำบาตร