จีนเตรียมส่งมอบ ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์ ขนาดยักษ์ สู่มือชาวไทย
Burapanews สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า จีนเตรียมมอบ เตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมค (Tokamak) หรือ “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์” ขนาดยักษ์ สู่มือชาวไทยเพื่อผลิตพลังงานสะอาดอย่างมีเสถียรภาพ
สำนักงานซินหัวรายงาน จีนเตรียมมอบ เตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมค (Tokamak) หรือ “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์” ขนาดยักษ์ ซึ่งเป็นเครื่องจักรทดลองที่สามารถสร้างและปล่อยพลาสมาอุณหภูมิสูงพิเศษเพื่อจำลองสภาวะสำหรับปฏิกิริยาฟิวชัน ได้ถูกแยกชิ้นส่วนและบรรจุหีบห่อในนครเหอเฝย มณฑลอันฮุยทางตะวันออกของจีน เพื่อเตรียมจัดส่งออกสู่ไทยในช่วงกลางเดือนธันวาคมนี้
เตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมคดังกล่าว ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อจากเอชที-6เอ็ม (HT-6M) เป็นไทยแลนด์ โทคาแมค-1 หรือทีที-1 (TT-1) ได้รับการพัฒนาโดยสถาบันฟิสิกส์พลาสมา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน
สถาบันฯ จะบริจาคเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมคแก่สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ของไทยตามข้อตกลงความร่วมมือที่ลงนามเมื่อเดือนสิงหาคม 2017 พร้อมจัดสรรความช่วยเหลือในการติดตั้งและเปิดใช้งาน รวมถึงบ่มเพาะผู้มีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและการพัฒนาพลังงานฟิวชัน
หวงอี้อวิน สมาชิกหลักของโครงการจากสถาบันฟิสิกส์พลาสมา กล่าวว่าเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมคประกอบด้วยชิ้นส่วนหลัก 462 ชิ้น ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า 84 ตัน และจะถูกขนส่งไปยังไทยด้วยตู้คอนเทนเนอร์ 6 ตู้ โดยงานแยกชิ้นส่วนและบรรจุหีบห่อกินเวลานานกว่า 1 เดือน และจำเป็นต้องใช้แรงงาน 40 คน
เตาปฏิกรณ์ดังกล่าวจะถูกขนส่งถึงไทยช่วงต้นเดือนมกราคมปีหน้า ขณะทีมงานชาวจีน 3 กลุ่ม จำนวนราว 60 คน จะเดินทางมายังไทยเพื่อช่วยประกอบ ปรับแต่ง และทดสอบการทำงาน ก่อนจะเริ่มการทำงานปกติในช่วงปลายเดือนมีนาคมปีเดียวกัน
อนึ่ง เป้าหมายสูงสุดของโครงการคือการสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเหมือนดวงอาทิตย์ โดยใช้ดิวเทอเรียม (deuterium) ที่มีอยู่มากมายในทะเลมาผลิตพลังงานสะอาดที่มีเสถียรภาพ โดยคาดว่าพลังงานที่ผลิตจากดิวเทอเรียมในน้ำทะเล 1 ลิตร ผ่านปฏิกิริยาฟิวชัน จะเทียบเท่ากับน้ำมันเบนซิน 300 ลิตร
ก่อนหน้านี้เมื่อปลายเดือนมิถุนายน คณะนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชาวไทย จำนวน 9 คน ได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเข้มข้นในเหอเฝยเป็นระยะเวลากว่า 3 เดือน เพื่อเรียนรู้ความรู้ทางทฤษฎีและวิธีการใช้งานเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมค
ด้าน ดร. นพพร พูลยรัตน์ หัวหน้าฝ่ายนิวเคลียร์ฟิวชันและพลาสมา สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ กล่าวกับสำนักข่าวซินหัวว่าทุกคนรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้รับไทยแลนด์ โทคาแมค-1 ทั้งยังมีการสร้างอาคารหลังใหม่เพื่อรองรับเตาปฏิกรณ์นี้โดยเฉพาะ
ดร.นพพร พูลยรัตน์ หัวหน้าฝ่ายนิวเคลียร์ฟิวชันและพลาสมา สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ระบุว่า ทีมเจ้าหน้าที่ไทยเดินทางมายังจีนเพื่อศึกษาวิธีการใช้เตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมค ซึ่งไทยได้รับบริจาคโดยมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานในการรับมอบเมื่อปี 2018 โดยเครื่องโทคาแมคนี้จะถูกแยกชิ้นส่วนและขนส่งสู่ไทยต่อไป
มตินนท์ ไมตรีบริรักษ์ วิศวกรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการทีที-1 และวิศวกรไฟฟ้าผู้ดูแลระบบควบคุมพลาสมาของโครงการ กล่าวว่า การไฟฟ้าฯ ได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีฯ พัฒนาเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมคเครื่องแรกของไทย และยังสนับสนุนทีมวิศวกรและนักวิจัยในโครงการนอกเหนือจากการจัดหาเงินทุนด้วย โดยเป้าหมายปัจจุบันของการไฟฟ้าฯ คือการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้เข้าใจพื้นฐานและวิธีการประกอบ ใช้งาน และบำรุงรักษาเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมค
เฉินเย่ว์ วิศวกรอาวุโสด้านเทคโนโลยีสุญญากาศของสถาบันฟิสิกส์พลาสมา ได้ทำงานร่วมกับทีมเจ้าหน้าที่ไทยตั้งแต่พวกเขามาถึงช่วงปลายเดือนมิถุนายน โดยเฉินจำเป็นต้องตรวจสอบเครื่องมือและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างถี่ถ้วน ก่อนส่งมอบเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมคให้ฝ่ายไทย
เฉินซึ่งเป็นสมาชิกทีมสนับสนุนของจีนที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่โครงการกว่า 100 คน กล่าวว่าเจ้าหน้าที่ไทยเรียนรู้รวดเร็วมาก ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะควบคุมเครื่องจักรซับซ้อนอย่างโทคาแมค รวมถึงระบบต่างๆ ภายในเวลาสั้นเช่นนี้
ทั้งนี้ เป้าหมายสูงสุดของโครงการคือการสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเหมือนดวงอาทิตย์ โดยใช้ดิวเทอเรียม (deuterium) ซึ่งเป็นธาตุไฮโดรเจนชนิดหนักและมีอยู่มากมายในทะเลมาผลิตพลังงานสะอาดที่มีเสถียรภาพ โดยคาดว่าพลังงานที่ผลิตจากดิวเทอเรียมในน้ำทะเล 1 ลิตร ผ่านปฏิกิริยาฟิวชัน จะเทียบเท่ากับน้ำมันเบนซิน 300 ลิตร
อ้างอิง
https://news.cgtn.com/news/2022-11-19/China-helps-Thailand-build-artificial-sun-tokamak-for-research-1f58isQBQJO/index.html