ประวัติความเป็นมาของวันฮาโลวีน
Burapanews เมื่อพูดถึงวันฮาโลวีนแล้ว คุณรู้จักเทศกาล “ฮาโลวีน” กันดีแล้วหรือยัง รู้ประวัติศาสตร์ ต้นกำเนิด และประเพณีของฮาโลวีน กันมั้ย? เราจะมาทำความรู้จัก วันฮาโลวีนกัน
“วันฮาโลวีน” อีกเทศกาลหนึ่งของชาวตะวันตกที่แพร่หลายในประเทศไทย จนกลายเป็นวัฒนธรรมของชาวไทยไปแล้ว
ฮาโลวีน Halloweenหรือวันปล่อยผี ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี
ในคริสต์ศาสนา นิกายคาทอลิก Halloween เป็นคำภาษาอังกฤษ เพี้ยนมาจากคำ All Hallows Eves
Hallow ยังแปลว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ศักดิ์สิทธิ์ นักบุญ
All Hallowmas จึงแปลว่า วันสมโภชนักบุญทั้งหลาย
วันฮาโลวีนเป็นวัฒนธรรมของประเทศทางตะวันตก ซึ่งเป็นเทศกาลฉลองวันก่อนวันสมโภชนักบุญของศาสนาคริสต์
ที่มาของวันฮาโลวีน
เทศกาลผีตะวันตก มีประเพณีและวันที่ต่างกัน ชนพื้นเมืองอเมริกันมีการบูชายัญวิญญาณบรรพบุรุษ ซึ่งส่งผลกระทบทางอ้อมต่อการก่อตัวของวันแห่งความตายของชาวเม็กซิกัน ซึ่งใกล้เคียงกับวันออลเซนต์ของผู้อพยพชาวยุโรป ดังนั้น ประเพณีการฉลองผีและเทพเจ้าตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน
หลังจากประเพณีนี้กำหนดให้วันที่ 31 ตุลาคมเป็นวันฮัลโลวีน ซึ่งขยายไปสู่เทศกาลระดับโลกโดยได้รับอิทธิพลจากสหรัฐอเมริกา
วันฮาโลวีน จะตรงกับวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี เชื่อว่ามีที่มาจากวันฉลองปีใหม่ของชาวเซลท์ (Celt) ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่กัในเรียกว่า Samhain ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งความตาย โดยชาวเซลท์ (Celt) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในประเทศไอร์แลนด์เชื่อกันว่า เป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน และวันต่อมา คือ วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันขึ้นปีใหม่
จากความเชื่อที่ว่า วันที่ 31 ตุลาคม เป็นวันที่มิติคนตายและคนเป็นจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตในปีที่ผ่านมา จะเที่ยวหาร่างของคนเป็นเพื่อสิงสู่จะได้กลับมามีมีชีวิตอีกครั้ง จึงเดือดร้อนถึงคนเป็นต้องหาทุกวิถีทางที่จะไม่ให้วิญญาณมาสิงสู่ร่างตน ทำให้ชาวเซลท์ต้องปิดไฟทุกดวงในบ้านให้อากาศหนาวเย็น เพื่อให้ไม่เป็นที่พึงปรารถนาของบรรดาผีร้าย
นอกจากนี้ ยังพยายามแต่งกายให้แปลกประหลาด เช่น ปลอมตัวเป็นผีร้าย และส่งเสียงดัง เพื่อให้ผีตัวจริงตกใจหนีหายสาบสูญไป พร้อมกันนี้ คืนดังกล่าวยังเป็นคืนเฉลิมฉลองการสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยว และอาจมีการนำสัตว์ หรือพืชผลมาบูชายัญให้กับเหล่าภูติผี และวิญญาณด้วย หลังจากคืนนั้นไฟทุกดวงจะถูกดับ และจุดขึ้นใหม่ด้วยไฟศักดิ์สิทธิ์ของชาวเซลท์
บางตำนานยังเล่าถึงขนาดว่า มีการเผา “คนที่คิดว่าถูกผีร้ายสิง” เป็นการเชือดไก่ให้ผีกลัวอีกต่างหาก แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคริสตกาล ที่ความคิดเรื่องผีสางยังฝังรากลึกในจิตใจมนุษย์ ต่อมาในศตวรรษแรกแห่งคริสตกาล ชาวโรมันรับประเพณีฮาโลวีนมาจากชาวเซลท์ แต่ได้ตัดการเผาร่างคนที่ถูกผีสิงออก เปลี่ยนเป็นการเผาหุ่นแทน
ในสมัยต่อมาชาวโรมันคาทอลิกต้องการกำจัดพิธีเฉลิมฉลองของกลุ่มชนนอกศาสนาคริสต์เหล่านี้ สันตะปาปา Gregory ที่ 4 จึงได้กำหนดวันที่ 1 พฤศจิกายน ให้เป็นวันเฉลิมฉลอง All Saints’ Day หรือ All Hallows’ Day สำหรับชาวคริสต์เพื่อระลึกถึงนักบุญ และผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่การเฉลิมฉลองในคืนวันที่ 31 ตุลาคม หรือ Hallows’ Eve ก็ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน แต่ชื่อเรียกได้เพี้ยนไปเป็น Halloween
วันฮาโลวีนของทุกปี จะตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม มีหลายคนเชื่อว่าที่มาหรือต้นกำเนิดจากเทศกาลดั้งเดิมของชาวเคลต์ (Celts) ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่เรียกว่า Samhain ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งความตาย เทศกาล Samhain มีขึ้นเพื่อฉลองจุดสิ้นสุดของฤดูกาลเก็บเกี่ยว รวมทั้งการเตรียมพร้อมรับมือกับช่วงมืดของปี และยังถือว่าเป็นวันปีใหม่ของชาวเคลต์อีกด้วย
ขอขอบคุณ ข้อมูล เว็บไซต์กระปุกดอดคอม และ วีกีพีเดีย