รายงานพิเศษ ยูเอ็นชี้จีนบังคับใช้แรงงานอุยกูร์ – ชนกลุ่มน้อย
ผู้เชี่ยวชาญด้านการบังคับใช้แรงงานทาสของสหประชาชาติ (ยูเอ็น)เปิดเผยว่า มีเหตุผลที่สามารถสรุปได้ว่า การบังคับใช้แรงงานของชนกลุ่มน้อยเกิดขึ้นในมณฑลซินเจียงภาคตะวันตกของจีน แต่จีนปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด
การค้นพบนี้อยู่บนพื้นฐานการประเมินข้อมูลอิสระของ”โทโมยะ โอโบกาตะ “ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยแรงงานทาสร่วมสมัย โดยเห็นว่า มีเหตุผลเพียงพอที่จะสรุปว่ามีการบังคับใช้แรงงานในกลุ่มชาวอุยกูร์ คาซัคสถาน และชนกลุ่มน้อยอื่นในภาคส่วนต่างๆ เช่น ภาคการเกษตร และภาคการผลิต เกิดขึ้นในเขตปกครองตนเองของชาวอุยกูร์ มณฑลซินเจียง ประเทศจีน
ในรายงานของโอโบกาตะที่เผยแพร่เมื่อวันพุธ (17 ส.ค.) ระบุว่า ในภูมิภาคซินเจียงมีการเรียนทักษะอาชีพ มีศูนย์ฝึกอบรม และมีโครงการบรรเทาความยากจน รวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานส่วนเกินไปทำงานอื่นๆ มีการจ้างงาน และให้เงินเดือนแก่ชนกลุ่มน้อยตามที่รัฐบาลอ้าง แต่มีหลักฐานว่าการทำงานหลายๆ อย่างนั้น เป็นการทำงานโดยไม่สมัครใจ
นอกจากนี้ ยังมีการฝึกนอกเหนือขอบเขตการทำงาน เช่น การเฝ้าระวังมากเกินไป ข่มเหงรังแกการใช้ชีวิตและการทำงาน จำกัดการเคลื่อนย้ายด้วยการกักขังหน่วงเหนี่ยว ข่มขู่ ทำร้ายร่างกายและละเมิดทางเพศ ย่ำยีศักดิ์ศรีและการกระทำอื่นๆ ที่ไร้มนุษยธรรม
โอโบกาตะ กล่าวเพิ่มว่า การทารุณทาสบางกรณีที่เป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติควรได้รับการศึกษาวิจัยอย่างอิสระ
ด้านจีนปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดที่เกี่ยวกับการละเมิดชาวอุยกูร์ และชนกลุ่มน้อยมุสลิมอื่นๆ ในซินเจียง โดยระบุว่า โครงการศึกษาและฝึกอบรมดังกล่าวลดความรุนแรง และความยากจน
‘หวัง เหวินปิน’ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนโต้ว่า รัฐบาลทำงานตามปรัชญาศูนย์กลางการพัฒนามนุษย์ และปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียม