วิกฤตยูเครน เปิดเผยถึงความย้อนแย้งของชาติตะวันตก
Burapanews สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า Ukraine conflict exposes West’s hypocrisy วิกฤตยูเครน เปิดเผยความย้อนแย้งของชาติตะวันตก ทั้งโลกต่างร่วมประณามรัสเซียอย่างเมินเฉยต่อการก่ออาชญากรรมของสหรัฐฯและยุโรปในตะวันออกกลางและอัฟกานิสถาน
ตั้งแต่ในต้นปี 2003 สหรัฐฯได้ทำการรุกรานอิรักจากคำกล่าวหาเท็จที่ระบุว่ารัฐบาลของซัดดัม ฮุซเซนมีอาวุธทำลายล้าง
ต่อมาในปี 2007 ถึงปี 2011 มีการสั่งถอนทัพ แต่ได้สั่งส่งทหารเข้ามาประจำการเพิ่มในปี 2014 ร่วมกับพันธมิตรโดยชี้ว่าต้องการปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายอิสลามดาอิช แต่อิรักสามารถปราบกลุ่มก่อการร้ายตักฟีรีได้สำเร็จจากการช่วยเหลือของกองกำลังติดอาวุธ PMU ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน
อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯยังคงมีอิทธิพลในอิรักต่อมาแม้ว่าจะมีการสั่งถอนทัพจากสภารัฐอาหรับเมื่อวันที่ 5 มกราคมปี 2020 ซึ่งเป็นสองวันหลังจากที่สหรัฐฯได้สั่งสังหารนายพลหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายอิหร่าน กัสเซ็ม โซไลมานีและรองผู้บัญชาการ PMU ของอิรัก อาบู มาห์ดี อัล-มูฮันดีส
ต่อมาสหรัฐฯได้สั่งยุติภารกิจสู้รบในอิรักอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนธันวาคมปี 2021 แต่ยังคงมีทหารประจำการอยู่บ้างเพื่ออบรมฝึกสอนกองทัพอิรักและทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากองทัพ
อย่างไรก็ตาม MEE สื่อตะวันออกกลางได้ชี้ว่า กองทัพสหรัฐฯได้สร้างความตายอย่างมหาศาลในกรุงแบกแดด แม้ว่าข่าวจากตะวันตกจะไม่มีการเผยแพร่ก็ตาม
ต่างกับปฏิบัติการของกองทัพรัสเซียในยูเครน ซึ่งการรุกรานอิรักของสหรัฐฯนั้นไม่มีการคว่ำบาตรเกิดขึ้นเช่นเดียวกับการกล่าวประณามจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งนับตั้งแต่ในปี 2003 ชาวอิรักหลายรุ่นต้องตกทุกข์ยากจากสงคราม และการถูกคว่ำบาตรโดยยูเอ็น
การรุกรานอิรักของสหรัฐฯนั้น ไม่ได้นำพาประชาธิปไตยมายังอิรัก แต่กลับนำโรคภัยไข้เจ็บมาสู่เยาวชนของอิรัก ซึ่งหลายรายได้เกิดมาพร้อมกับข้อบกพร่องทางร่างกายและโรคภัยไข้เจ็บจากระเบิดที่มีแร่ยูเรเนียมและฟอสฟอร์รัสของสหรัฐฯ
ข้อมูลผู้เสียชีวิตของอิรักระบุว่า มีพลเมืองเสียชีวิต 315 รายต่อวันจากการรุกรานของสหรัฐฯตั้งแต่วันแรก และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 22,000 ราย
ที่มา