สหรัฐ-กองทัพไทยปัดข่าว ทหารสหรัฐฯจะใช้ช่วงการฝึก Cobra Gold2022 แอบส่งอาวุธ ให้ ชนกลุ่มน้อย สู้กับทหารเมียนมา
Burapanews รายงานว่า วาสนา น่านวม ผู้สื่อข่าวสายทหาร เปิดเผยผ่านหน้าเฟซบุ๊กส่วนตัว
อุปทูตสหรัฐฯ ลั่น ไม่จริง
“เสธทหาร” เผย ได้ยินข่าวลือมาระยะหนึ่ง
แต่ยัน ข่าว ไม่มีมูลความจริงแม้แต่น้อย
และ ไม่มีการฝึกในพื้นที่ ชายแดนไทย-เมียนมา เลย
เดินหน้าฝึกCobra Gold2022
20กพ.-5 มีค.
เปิดฝึก 22 กพ.ผ่านระบบVTC
หั่น จำนวนทหาร ลงกว่าครึ่ง
จาก8,964 นาย เหลือ 3,460 นาย
ยกเลิกฝึกยกพลขึ้นบก- NEO-CALFEx
ไม่มีกำลังทางอากาศ ร่วม
ส่ง เรือUSS Green Bay , .Black Hawk 12 เครื่องและC-130J จรวด HIMARS
ยึดมาตรการโควิดฯ
RT-PCR 2 ครั้ง
กักตัว7 วัน ATK ทุกๆ5 วัน
ในแต่ละพื้นที่ มีทหารฝึก ไม่เกิน500 นาย
พลเอก ณตฐพล บุญงาม เสนาธิการทหาร และ อุปทูตสหรัฐฯ Mr. Michael Heath พร้อมด้วย พลโท ชิดชนก นุชฉายา เจ้ากรมยุทธการทหาร และ ผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึก และ Lt. Col Bill Grube ผู้อำนวยการแผนกฝึกร่วมผสม JUSMAGThaiร่วมแถลงข่าวที่ บก.ทัพไทย โดยจะมีการฝึก 20 กพ.-5 มีค 2022
ในตอนท้าย อุปทูตสหรัฐฯ Mr. Michael Heath ตอบคำถามสื่อที่มีข่าวลือว่า สหรัฐ จะใช้ช่วงการฝึกCobra Gold2022 แอบส่งอาวุธ ให้ ชนกลุ่มน้อย สู้กับทหารเมียนมา ว่า ไม่เป็นความจริงเลย อย่าเชื่อตามที่มีข่าวในโซเชี่ยล มีเดีย It’s not true.เราไม่ได้สนับสนุนหรือส่งอาวุธยุทธโทรปกรณ์ให้กับชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มใดๆ ในเมียนมา เลย
สิ่งที่ไทยและสหรัฐฯ ร่วมมือกันคือการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และวัคซีน เท่านั้น
พลเอก ณตฐพล บุญงาม เสนาธิการทหาร
กล่าวว่ากระแสข่าวดังกล่าวได้ยินมาระยะหนึ่งแล้ว ยืนยันว่า เป็นข่าวลือที่ไม่มีมูลความจริงแม้แต่น้อย และ ไม่มีการฝึกในพื้นที่ ชายแดนไทย-เมียนมา แต่อย่างใด เราฝึกในพื้นที่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี และอ่าวไทยตอนบน ไม่ใกล้ชายแดน
สำหรับการฝึก Cobra Gold ครั้งนี้ ครั้งที่41 และเป็นการฝึกร่วมผสมทางทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งกองทัพไทย และกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโดแปซิฟิก ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทย โดยมีประเทศเข้าร่วมการฝึกทุกด้าน รวม20ประเทศ
เป็นการฝึกหลักภาคสนาม 7 ประเทศ คือ ไทย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สาธารณรัฐเกาหลี และมาเลเซีย
ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกเพิ่มเติมในโครงการช่วยเหลือประชาชน จำนวน 3 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย และออสเตรเลีย
ประเทศในโครงการเสนาธิการผสมส่วนเพิ่มนานาชาติ หรือ MPAT (Multinational Planning Augmentation Team)
10 ประเทศ คือ บังกลาเทศ แคนาดา ฝรั่งเศส อังกฤษ มองโกเลีย เนปาล นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ ฟิจิ และเวียดนาม
ยอดผู้เข้าร่วมการฝึกฯ 3,460 นาย เป็น ทหารไทย 1,953 นาย สหรัฐอเมริกา1,296นาย สิงคโปร์ 50นาย อินโดนีเซีย 16 นาย ญี่ปุ่น 35 นาย สาธารณรัฐเกาหลี 41 นาย มาเลเซีย 36 นาย จีน 10 นาย อินเดีย5 นาย และออสเตรเลีย 18 นาย
การฝึกนี้ เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ทางทหารที่ดีระหว่างมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึกฯ และเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการอำนวยการยุทธ์ร่วมและผสม โดยการประยุกต์ใช้กำลังรบในสถานการณ์วิกฤติต่าง ๆ อีกทั้งเพื่อฝึกการใช้ระเบียบปฏิบัติประจำกองกำลังผสมนานาชาติ
รูปแบบการฝึกฯ ในปีนี้ มีการฝึกหลัก คือ
1 การฝึกปัญหาที่บังคับการ (Command Post Exercise : CPX)
โดยกองบัญชาการกองทัพไทย จัดตั้ง กองบัญชาการกองกำลังผสมนานาชาติ (Multi National Forces Headquarters : MNF HQs.) ร่วมกับกองทัพสหรัฐอเมริกา และมิตรประเทศ ที่ อาคารม้าแดง กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
2.โครงการช่วยเหลือประชาชน (Humanitarian/Civic Assistance : HCA) ทำ5 โครงการก่อสร้าง ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย จังหวัดกระบี่ โรงเรียนบ้านหนองมะค่า จังหวัดสระบุรี โรงเรียนวัดคลองตะเคียน จังหวัดจันทบุรี โรงเรียนหนองบอนวิทยาคม จังหวัดตราด และ โรงเรียนบ้านเขาตาอิ๋น จังหวัดระยอง
3 การฝึกแก้ปัญหาบนโต๊ะในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ (Humanitarian Assistance and Disaster Relief Table Top Exercise : HADR-TTX) ที่โรงแรมสิรินพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
4.การฝึกภาคสนาม (Field Training Exercise : FTX) โดยเหล่าทัพรับผิดชอบการฝึก ในรูปแบบการฝึกแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ (Subject Master Expert Exchange : SMEE) พื้นที่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี และอ่าวไทยตอนบน
No Result
View All Result